ทางเลือกปรับโครงสร้างหนี้ที่ลูกหนี้ทุกคนควรรู้ : 8 ทางเลือกการปรับโครงสร้างหนี้ ที่ลูกหนี้ควรรู้
ทางเลือกปรับโครงสร้างหนี้ที่ลูกหนี้ทุกคนควรรู้ : 8 ทางเลือกการปรับโครงสร้างหนี้ ที่ลูกหนี้ควรรู้

ทางเลือกปรับโครงสร้างหนี้ที่ลูกหนี้ทุกคนควรรู้ : 8 ทางเลือกการปรับโครงสร้างหนี้ ที่ลูกหนี้ควรรู้

“ปรับโครงสร้างหนี้ : เปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาส” ยืด · พัก · ลด · ยก · เพิ่ม · เปลี่ยน · ปิด · รี อย่ารอจนหนี้เสีย เมื่อคิดว่าเริ่มจะผ่อนไม่ไหว ให้รีบติดต่อสถาบันการเงิน จะได้ไม่เสียประวัติข้อมูลเครดิต หากเป็นหนี้เสียแล้ว ก็ยังสามารถติดต่อสถาบันการเงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ให้เหมาะสมและผ่อนไหวได้ เตรียมตัวก่อนเข้าไปเจรจา คิดไว้คร่าว ๆ ว่าแนวทางปรับโครงสร้างหนี้แบบไหนที่เหมาะกับเรา

ทางเลือกปรับโครงสร้างหนี้ที่ลูกหนี้ทุกคนควรรู้ "ปรับโครงสร้างหนี้ : เปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาส"
ทางเลือกปรับโครงสร้างหนี้ที่ลูกหนี้ทุกคนควรรู้ “ปรับโครงสร้างหนี้ : เปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาส”
ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย

การปรับปรุงโครงสร้างหนี้เป็นทางเลือกที่ช่วยให้ท่านดำเนินชีวิตหรือธุรกิจได้อย่างต่อเนื่องหลังสถานการณ์โควิด 19 แบงก์ชาติจึงสนับสนุนให้ลูกหนี้และสถาบันการเงินร่วมมือกันในการเจรจาปรับโครงสร้างหนี้และหาทางออกร่วมกัน ลดโอกาสที่ลูกหนี้ดีจะกลายเป็นลูกหนี้เสีย

เริ่มต้นอย่างไรดี

  1. ไม่ต้องรอให้เป็นหนี้เสีย เมื่อคิดว่าเริ่มจะผ่อนไม่ไหว ให้รีบติดต่อสถาบันการเงิน จะได้ไม่เสียประวัติข้อมูลเครดิต
  2. หากเป็นหนี้เสียแล้ว ก็สามารถติดต่อสถาบันการเงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ให้เหมาะสมและผ่อนไหวได้
  3. เตรียมตัวก่อนเข้าไปเจรจา คิดไว้คร่าว ๆ ว่าแนวทางปรับโครงสร้างหนี้แบบไหนที่เหมาะกับเรา

8 วิธีปรับโครงสร้างหนี้ แบบไหนดี

ยืด · พัก · ลด · ยก · เพิ่ม · เปลี่ยน · ปิด · รี

1.ยืดหนี้ การยืดหรือขยายระยะเวลาชำระหนี้ นิยมใช้กันมากที่สุดเพื่อช่วยให้ภาระการผ่อนสอดคล้องกับรายได้ที่ลดลง เช่น สินเชื่อระยะเวลาผ่อน 10 ปี ผ่อนมาแล้ว 6 ปี เหลือ 4 ปี เริ่มผ่อนไม่ไหว จะขอขยายให้ยาวออกไป เพื่อทำให้ยอดผ่อนชำระต่อเดือนปรับลดลง

– สถาบันการเงินอาจพิจารณาอายุตัวของผู้กู้ประกอบด้วย ซึ่งในอดีตค่าเฉลี่ยของระยะเวลาผ่อนชำระหลังจากที่ปรับโครงสร้างหนี้อยู่ที่ประมาณ 8 ปี

2.พักชำระเงินต้น ช่วยลดภาระการผ่อนชั่วคราว โดยปกติค่างวดที่ผ่อนชำระประกอบด้วย 2 ส่วน คือ เงินต้นกับดอกเบี้ย เช่น เดิมสัญญาเงินกู้กำหนดค่าผ่อนชำระเท่ากันทุกเดือน เดือนละ 20,000 บาท ประกอบด้วยเงินต้น 8,000 บาท และดอกเบี้ย 12,000 บาท การพักชำระเงินต้นจะทำให้ค่างวดเหลือเพียง 12,000 บาท แต่การผ่อนแบบนี้เงินต้นจะไม่ลดลงในช่วงพัก จะส่งผลให้ลูกหนี้ต้องจ่ายเงินก้อนใหญ่ขึ้นในช่วงท้ายสัญญา (balloon) หรือทำให้ต้องเป็นหนี้และแบกภาระดอกเบี้ยนานขึ้น

– สถาบันการเงินอาจพิจารณาพักชำระเงินต้น เป็นเวลา 3–6 เดือน แต่เมื่อสถานการณ์ดีขึ้น ลูกหนี้อาจนำเงินก้อนมา “โปะ” เพื่อลดหนี้ก่อนถึงกำหนดตามสัญญา ซึ่งจะทำให้ภาระดอกเบี้ยจ่ายมีจำนวนลดลง และหนี้หมดเร็วขึ้น ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาแบงก์ชาติก็ได้รณรงค์ปรับปรุงเรื่องการชำระหนี้ก่อนครบกำหนด (prepayment) ให้มีการปฏิบัติที่เป็นธรรมมากขึ้นด้วย

3. ลดอัตราดอกเบี้ย อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ลดลง ทำให้ค่างวดที่จ่ายแต่ละเดือนแบ่งไปตัดลดเงินต้นได้มากขึ้น และเมื่อเงินต้นลด ภาระดอกเบี้ยก็จะลดลง เช่น เรากู้ยืมโดยมีอัตราดอกเบี้ย MOR+2% ต่อปี ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจทำให้ผ่อนชำระที่อัตราดอกเบี้ยเดิมไม่ไหว สามารถยื่นเรื่องขอลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ให้ต่ำลง

– สถาบันการเงินพิจารณาลดให้หรือไม่ ดูจากหลายปัจจัย เช่น ต้นทุนของสถาบันการเงินประวัติการผ่อนชำระของลูกหนี้ ประเภทสินเชื่อ และหลักประกัน เป็นต้น

4.ยกหรือผ่อนปรนดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ เมื่อต้นปี 2563 แบงก์ชาติได้ประกาศให้สถาบันการเงินคิดดอกเบี้ยปรับบนฐานของงวดที่ผิดนัดชำระจริงเท่านั้น เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม และให้ความสำคัญกับความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้อย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้นด้วย

– สถาบันการเงินสามารถกำหนดอัตราดอกเบี้ยปรับได้ แต่ต้องไม่เป็นภาระแก่ลูกหนี้จนเกินสมควร หรือเป็นเหตุที่ทำให้ภาระหนี้สูงขึ้นมากจนชำระไม่ได้ กลายเป็นหนี้เสียในเวลาต่อมา

5. เพิ่มเงินทุนหมุนเวียน ในภาวะที่เหตุการณ์ในอนาคตมีความไม่แน่นอนสูง เงินทุนหมุนเวียน (working capital: WC) เป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยหล่อเลี้ยงธุรกิจในยามที่ลำบาก ให้มีโอกาสฟื้นกลับอย่างรวดเร็วได้ในภายหลัง แบงก์ชาติจึงสนับสนุนให้สถาบันการเงินให้สินเชื่อ WC ใหม่แก่กิจการที่มีศักยภาพ โดยแยกการจัดชั้นสินเชื่อ WC นี้ออกจากสินเชื่ออื่นซึ่งอาจจะเป็น NPL ไปแล้ว ช่วยให้กิจการยังมีบัญชีสินเชื่อสถานะปกติไว้ใช้งานได้

– ผู้กู้ควรเตรียมเหตุผลและประมาณการรายจ่ายที่จะเกิดขึ้นในระยะ 6–12 เดือนข้างหน้า อาทิ ค่าจ้างพนักงาน ค่าซื้อวัตถุดิบเพื่อผลิตสินค้า รวมทั้งค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ในการดำเนินงาน เช่น ค่าไฟ ค่าน้ำ ค่าเช่าสำนักงาน เป็นต้น เพื่อให้สถาบันการเงินใช้ประกอบการพิจารณาวงเงิน

– สถาบันการเงินจะพิจารณาจากประวัติการผ่อนชำระ เช่น 1 ปีที่ผ่านมาลูกหนี้ชำระหนี้ทั้งในส่วนของเงินต้นและดอกเบี้ยเป็นจำนวนเท่าใด วงเงิน WC ที่ขอเพิ่มเติมคิดเป็นสัดส่วนเท่าใดของภาระหนี้รวม เป็นต้น

6.เปลี่ยนประเภทหนี้ หนี้ที่อัตราดอกเบี้ยแพงควรถูกเปลี่ยนประเภทเป็นหนี้ที่อัตราดอกเบี้ยถูกลง เช่น ลูกหนี้ SMEs ใช้บัตรเครดิตและบัตรกดเงินสดเป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียนอัตราดอกเบี้ยสูง 18% และ 28% หรือลูกหนี้มีวงเงิน O/D ใช้วงเงินเต็ม

– สถาบันการเงินอาจพิจารณาเปลี่ยนจากสินเชื่อหมุนเวียนที่อัตราดอกเบี้ยแพงเหล่านี้ ไปเป็นสินเชื่อแบบมีกำหนดระยะเวลาชำระ (term loan) ที่ดอกเบี้ยถูกลง

7. ปิดจบด้วยเงินก้อน หากพอมีความสามารถหาเงินก้อนได้จำนวนหนึ่ง เช่น จากเงินออม จากการยืมญาติมิตร หรือจากการขายทรัพย์สิน ถึงแม้จะไม่มากเท่ายอดหนี้ที่มีอยู่ แต่ก็สามารถเจรจาขอส่วนลดให้เพียงพอต่อการปิดหนี้จบทั้งบัญชีได้ ซึ่งจะทำให้หมดภาระค่างวดรายเดือนไปอีกหนึ่งก้อน

– สถาบันการเงินอาจกำหนดให้ชำระเสร็จสิ้นภายในระยะเวลาสั้น ๆ 6 เดือน หรือเพียง 1–2 งวด อย่างไรก็ดี การเจรจาขอปิดจบโดยมีส่วนลดจะทำได้ค่อนข้างยากในกรณีที่มีหลักประกันมูลค่าสูงกว่ายอดหนี้

8.รีไฟแนนซ์ (refinance) คือการปิดสินเชื่อจากเจ้าหนี้เดิมและย้ายไปใช้สินเชื่อของเจ้าหนี้ใหม่ที่ให้เงื่อนไขดีกว่า เช่น อัตราดอกเบี้ยถูกลง โดยนำหนี้ใหม่ไปชำระหนี้เดิมที่คงค้างอยู่ก่อน ในประเทศไทยอาจคุ้นเคยกับการรีไฟแนนซ์สินเชื่อบ้านและสินเชื่อธุรกิจที่มีหลักประกันอยู่ระดับหนึ่งแล้ว อย่างไรก็ดี แบงก์ชาติได้เริ่มสนับสนุนให้เกิดตลาดรีไฟแนนซ์สำหรับหนี้บัตรเครดิต บัตรกดเงินสด สินเชื่อส่วนบุคคล (หนี้บัตร) โดยเมื่อต้นปี 2563 มีสถาบันการเงินเปิดตัวเข้ามานำเสนอผลิตภัณฑ์รีไฟแนนซ์หนี้บัตรเพิ่มขึ้น ได้แก่ ธนาคารออมสิน ซึ่งรับรีไฟแนนซ์หนี้บัตรสำหรับลูกหนี้ที่มีวินัยทางการเงินและประวัติการชำระดี

จากบทความ ปรับโครงสร้างหนี้ สู้ภัยเศรษฐกิจจากโควิด-19 โดย คมน์ ไทรงาม และ เว็บไซต์ ธนาคารแห่งประเทศไทย | Facebook ธนาคารแห่งประเทศไทย – Bank of Thailand

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่