เผยแพร่สื่อ และกระบวนการจัดการเรียนรู้โค้ดดิ้ง CODING X ChangThai (Metaverse by CoSpace Edu) เรียนรู้โค้ดดิ้ง ผ่านแบบจำลองศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย โดยนายนพรัตน์ สวยฉลาด โรงเรียนห้างฉัตรวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาลำปาง ลำพูน
เผยแพร่สื่อ และกระบวนการจัดการเรียนรู้โค้ดดิ้ง CODING X ChangThai (Metaverse by CoSpace Edu) เรียนรู้โค้ดดิ้ง ผ่านแบบจำลองศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย โดยนายนพรัตน์ สวยฉลาด โรงเรียนห้างฉัตรวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาลำปาง ลำพูน

เผยแพร่สื่อ และกระบวนการจัดการเรียนรู้โค้ดดิ้ง CODING X ChangThai (Metaverse by CoSpace Edu) เรียนรู้โค้ดดิ้ง ผ่านแบบจำลองศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย โดยนายนพรัตน์ สวยฉลาด โรงเรียนห้างฉัตรวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาลำปาง ลำพูน

กิจกรรมการเรียนรู้แบบโค้ดดิ้ง บูรณาการกับบริบทของท้องถิ่น วิชาวิทยาการคำนวณ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนห้างฉัตรวิทยา จังหวัดลำปาง

เผยแพร่สื่อ และกระบวนการจัดการเรียนรู้โค้ดดิ้ง CODING X ChangThai (Metaverse by CoSpace Edu) เรียนรู้โค้ดดิ้ง ผ่านแบบจำลองศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย โดยนายนพรัตน์ สวยฉลาด โรงเรียนห้างฉัตรวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาลำปาง ลำพูน
เผยแพร่สื่อ และกระบวนการจัดการเรียนรู้โค้ดดิ้ง CODING X ChangThai (Metaverse by CoSpace Edu) เรียนรู้โค้ดดิ้ง ผ่านแบบจำลองศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย โดยนายนพรัตน์ สวยฉลาด โรงเรียนห้างฉัตรวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาลำปาง ลำพูน

จุดประสงค์
เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตนเอง ให้มีคุณลักษณะขั้นต่ำตามมาตรฐานการศึกษาของชาติ มีทักษะที่เกิดจากการเรียนรู้แบบโค้ดดิ้ง ควบคู่กับเกิดความรัก และความผูกพันกับท้องถิ่นของตนเอง บนพื้นฐานของการเรียนรู้อย่างมีความสุข

เนื้อหา
การเขียนโปรแกรมที่มีการทำงานวนซ้ำ ทางเลือก และการกำหนดตัวแปร (ปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสม)

โปรแกรม/อุปกรณ์

  1. เว็บไซต์ CoSpace Edu
  2. แผนการจัดการเรียนรู้ของตนเอง
  3. คอมพิวเตอร์/ สมาร์ทโพนพร้อมติดตั้งแอปพลิเคชัน CoSpace Edu
    Android : CoSpace Edu
    iOS : CoSpace Edu
  4. VR BOX (หากไม่มีก็ไม่จำเป็นต้องใช้)

กิจกรรมการเรียนการสอน

  1. ผู้สอนกล่าวทักทายผู้เรียน
  2. ผู้สอนใช้คำถามกระตุ้นความสนใจ “ในฐานะที่เราทุกคนเป็นคนในพื้นที่อำเภอห้างฉัตร พวกเราคิดว่า
    สิ่งไหนหรือสถานที่ท่องเที่ยวไหน ที่อยากให้คนภายนอกเข้ามาเที่ยวหรือเรียนรู้”
  3. ผู้สอนใช้คำถามกระตุ้นความสนใจอีกครั้งหนึ่ง “ทำไมพวกเราถึงอยากให้คนภายนอกรู้จักและมาเที่ยว
    ที่ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย”
  4. ผู้สอนกล่าวถึงจุดประสงค์ของการเรียนในชั่วโมงนี้
  5. ผู้เรียนสมัครและเข้าใช้งานโปรแกรม CoSpace Edu และกดทดลองใช้แบบ Pro (หากต้องการโค้ดทดลองให้กดลงทะเบียนผ่านฟอร์ม โค้ดจะส่งให้ทางอีเมล์ครับ)
  6. ผู้เรียนเรียนรู้การสร้างวัตถุในแบบจำลองทั้งสัตว์ พื้นหลัง สภาพแวดล้อม รวมถึงการกำหนดพฤติกรรม
    6.1 เลือกสร้างโดยกดที่ Empty scene

6.2 กำหนดพื้นหลัง ไปที่ Environment > Environment

(กำหนดฟิลเตอร์ ไปที่ Environment > Environment Filters)
(กำหนดเอฟเฟค ไปที่ Environment > Effect)

6.3 เพิ่มวัตถุ เช่น ช้าง ให้ไปที่ Library > Animal > ช้าง ลากมาใส่

  1. ผู้เรียนเขียนโปรแกรมที่มีการทำงานวนซ้ำ ทางเลือก และการกำหนดตัวแปร
    ก่อนที่จะสามารถเขียนโปรแกรมได้จะต้องคลิกเลือกวัตถุก่อนจากนั้นคลิกขวาที่วัตถุ > Code > Use in CoBlocks จากนั้นกด Coding มุมขวาบน แล้วเลือก CoBlockS จึงจะสามารถเริ่มเขียนโปรแกรมได้
  2. ผู้สอนนำผู้เรียนไปใช้งาน Metaverse (AR และ VR) สนามหญ้าหรือพื้นที่กว้าง ไม่มีสิ่งกีดขวาง
  3. ผู้เรียนและผุ้สอนสรุปสิ่งที่ได้ร่วมกัน

ใบกิจกรรม
ตัวอย่างใบกิจกรรม : ให้ผู้เรียนใช้พื้นหลัง ฟิลเตอร์ เอฟเฟค และสร้างวัตถุ(ช้าง) 5 วัตถุ และตอบคำถามเกี่ยวกับโปรแกรมที่มีการทำงานวนซ้ำ ทางเลือก และการกำหนดตัวแปร (ผู้สอนสามารถออกแบบใบกิจกรรมด้วยตนเอง)

กรอกข้อมูลเพื่อรับใบกิจกรรมตัวอย่าง + วิดีโอการสอนแบบสรุป + โค้ดใช้งานแบบ Pro ทดลอง 1 เดือน
“หากไม่สะดวกกรอกข้อมูล โค้ดสามารถไปเอาได้ที่เว็บของ CoSpace Edu ได้”

ดาวน์โหลดผลงานและแบบตอบรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ
กรอกข้อมูลที่นี่ <<<<<
หรือ https://forms.gle/dxHiWUTGxU6t5Uao8

ผู้เขียน : นายนพรัตน์ สวยฉลาด ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โรงเรียนห้างฉัตรวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาลำปาง ลำพูน

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่