ดาวน์โหลดคู่มือการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษแนวใหม่ ตามกรอบ CEFR โดยสถาบันภาษาอังกฤษ สพฐ.
ดาวน์โหลดคู่มือการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษแนวใหม่ ตามกรอบ CEFR โดยสถาบันภาษาอังกฤษ สพฐ.

ดาวน์โหลดคู่มือการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษแนวใหม่ ตามกรอบ CEFR โดยสถาบันภาษาอังกฤษ สพฐ.

คู่มือการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษแนวใหม่ตามกรอบมาตรฐานความสามารถทางภาษาอังกฤษที่เป็นสากล The Common European Framework of Reference for Languages (CEFR) ระดับชั้นประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษา

การเสริมสร้างสมรรณะและความสามารถในการสื่อสารเป็นภาษาอังกฤษของคนไทย จัดเป็นความจำเป็นเร่งด่วนของประเทศไทยในปัจจุบันในสภาวะที่ระดับความสามารถของคนไทยในด้านภาษาอังกฤษยังอยู่ระดับต่ำมาก ขณะที่ต้องเร่งพัฒนาประเทศให้ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของโลกและรองรับภาวะการค้าการลงทุน การเชื่อมโยงระหว่างประเทศ และการเข้าร่วมเป็นสมาชิกของประชาคมอาเชียนที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางหรือภาษาที่ใช้ในการทำงาน การปฏิรูปการเรียนการสอนภาษาอังกฤษจึงเป็นนโยบายสำคัญของกระทรวงศึกษาธิการที่จะต้องเร่งดำเนินการให้เกิดผลสำเร็จโดยเร็ว

คู่มือการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษแนวใหม่ฉบับนี้ สถาบันภาษาอังก์ฤษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจัดทำขึ้นเพื่อเป็นแนวทางให้ครูผู้สอนภาษาอังกฤษและบุคลากรทางการศึกษานำไปใช้ เพื่อให้การจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นไปในทิศทางที่สอดคล้องกับนโยบาย มีเป้าหมายที่ขัดจนและบรรลุผลตามเจตนารมณ์ของการจัดการศึกษา โดยเน้นการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร Communicative Language Teaching (CLT) ตามกรอบอ้งอิงความสามารถทางภาษาของสหภาพ
ยุโรป The Common European Framework of Reference for Languages (CEFR) ซึ่งเป็นนโยบายสำคัญของกระทรวงศึกษาธิการ

สถาบันภาษาอังกฤษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานขอขอบคุณคณะครู ศึกษานิเทศก์ เจ้าหน้าที่ซึ่งเป็นผู้จัดทำคู่มือการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษแนวใหม่ เพื่อช่วยครูผู้สอนให้สามารถนำนโยบายสู่การปฏิบัติ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเอกสารฉบับนี้จะช่วยให้ครูผู้สอนภาษาอังกฤษและบุคลากรทางการศึกษานำไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน
ภาษาอังกฤษเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด อันจะส่งผลต่อความสำเร็จในการพัฒนาสมรรถนะด้านภาษาอังกฤษของผู้เรียนและความพร้อมของประเทศในการก้าวสู่ประชาคมอาเซียนและประชาคมโลกอย่างมั่นใจต่อไป

ดาวน์โหลดคู่มือการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษแนวใหม่ ตามกรอบ CEFR โดยสถาบันภาษาอังกฤษ สพฐ.
ดาวน์โหลดคู่มือการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษแนวใหม่ ตามกรอบ CEFR โดยสถาบันภาษาอังกฤษ สพฐ. 5
ดาวน์โหลดคู่มือการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษแนวใหม่ ตามกรอบ CEFR โดยสถาบันภาษาอังกฤษ สพฐ.
ดาวน์โหลดคู่มือการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษแนวใหม่ ตามกรอบ CEFR โดยสถาบันภาษาอังกฤษ สพฐ.

กรอบแนวคิดของคู่มือการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษแนวใหม่ ตามกรอบอ้างอิงความสามารถทางภาษาของสหภาพยุโรป The Common European Framework of Reference for Languages (CEFR)

ดาวน์โหลดคู่มือการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษแนวใหม่ ตามกรอบ CEFR โดยสถาบันภาษาอังกฤษ สพฐ. 6

นโยบายปฏิรูปการเรียนการสอนภาษาอังกฤษของกระทรวงศึกษาธิการ

ดาวน์โหลดคู่มือการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษแนวใหม่ ตามกรอบ CEFR โดยสถาบันภาษาอังกฤษ สพฐ.

A1 ผู้เรียนสามารถใช้และเข้าใจประโยคง่าย ๆ ในชีวิตประจำวัน สามารถแนะนำตัวเองและผู้อื่นสามารถตั้งคำถามเกี่ยวกับบุคคลอื่น เข่น เขาอยู่ที่ไหน รู้จักใครบ้าง มีอะไรบ้าง และตอบคำถามเหล่านี้ได้ ทั้งยังสามารถเข้าใจบทสนทนาเมื่อคู่สนทนาพูดข้าและชัดเจน

A2 ผู้เรียนสามารถช้และเข้าใจประโยคในชีวิตประจำวัน (ในระดับกลาง) เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับครอบครัวการจับจ่ายใช้สอย สถานที่ ภูมิศาสตร์ การทำงาน และสามารถสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลทั่วไปในการใช้ชีวิตประจำวัน สามารถบรรยายความคิดฝัน ความคาดหวัง ประวัติ สิ่งแวดล้อม และสิ่งอื่น ๆ

B1 ผู้เรียนสามารถพูด เขียน และจับใจความสำตัญของข้อความทั่ว ๆ ไปถ้าเป็นหัวข้อที่คุ้นเคยหรือสนใจ เช่น การทำงาน โรงเรียน เวลาว่าง ฯลฯ สามารถจัดการกับสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างการเดินทางในประทศที่ใช้ภาษอังทฤษได้ สามารถบรรยายประสบการณ์ เหตุการณ์ความคิดฝัน ความหวัง พร้อมให้เหตุผลสั้น ๆ ได้

B2 ผู้เรียนมีความสามารถในการใช้ภาษาในระตับดี สามารถใช้ภาษาพูตและเขียนได้แทบทุกเรื่องอย่างถูกต้องและคล่องแคล่ว รวมทั้งสามารถอ่านและทำความเข้าใจบทความที่มีเนื้อหายากขึ้นได้

C1 ผู้เรียนสามารถเข้าใจข้อความยาว ๆ ที่ซับซ้อนในหัวข้อหลากหลาย และเข้าใจความหมายแฝงได้สามารถแสดงความคิด ความรู้สึกของตนได้อย่างเป็นอรรมชาติ โดยไม่ต้องหยุดคิดหาคำศัพท์สามารถช้ภาษาทั้งในด้านสังคม การทำงาน หรือดัานการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

C2 ผู้เรียนมีความสามารถในการใช้ภาษาได้อย่างตีเยี่ยมใกล้เคียงเจ้าของภาษา สามารถใช้ภาษามาตรฐานได้อย่างสละสลวย ถูกต้องตามจุดประสงค์ที่จะสื่อสารได้ดี สามารถอ่านบทความที่เป็นภาษาตันฉบับ (โดยเฉพาะวรรณกรรม) ได้เข้าใจ สามารถ และเลือกใช้ภาษาสำหรับพูดและเขียนได้อย่างเหมาะสม ผู้เรียนสามารถเข้าใจข้อความยาว ๆ ที่ชับซ้อนในหัวข้อหลากหลาย และเข้าใจความหมายแฝงใต้

ขอบคุณที่มา : กลุ่มส่งเสริมการเรียนการสอนภาษา สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สพฐ.

บทความที่เกี่ยวข้อง

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่