ศ.นพ.ยง เผยต้องปรับตัวอยู่กับโรคโควิด-19 ในอนาคตต้องฉีดวัคซีนป้องกันเด็กตั้งแต่เกิด
ศ.นพ.ยง เผยต้องปรับตัวอยู่กับโรคโควิด-19 ในอนาคตต้องฉีดวัคซีนป้องกันเด็กตั้งแต่เกิด

ศ.นพ.ยง เผยต้องปรับตัวอยู่กับโรคโควิด-19 ในอนาคตต้องฉีดวัคซีนป้องกันเด็กตั้งแต่เกิด

ศ.นพ.ยง เผยต้องปรับตัวอยู่กับโรคโควิด-19 ในอนาคตต้องฉีดวัคซีนป้องกันเด็กตั้งแต่เกิด
ศ.นพ.ยง เผยต้องปรับตัวอยู่กับโรคโควิด-19 ในอนาคตต้องฉีดวัคซีนป้องกันเด็กตั้งแต่เกิด
ขอบคุณที่มา : https://www.hfocus.org/content/2020/08/19975

ที่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวภายหลังแถลงข่าวเปิดบทเรียนออนไลน์ MOOD หลักสูตรโควิด-19 และระบาดวิทยา ว่า เราต้องยอมรับว่า โควิด-19 เป็นโรคที่ติดต่อง่าย ไม่เหมือนซาร์ส เพราะสามารถแพร่กระจายได้ทั้งก่อนมีอาการ หรือผู้ป่วยที่ไม่มีอาการ จึงไม่ต้องแปลกใจ ว่า มีจำนวนผู้ติดเชื้อ 4 วัน ต่อล้านคน มีการระบาดจากเมืองใหญ่ และไปสู่เมืองเล็ก จากผู้ใหญ่ไปสู่เด็ก และจากเด็กสู่เด็ก ทำให้โควิด-19 ระบาดขึ้นไป 12 ล้านคนทั่วโลกแล้ว ดังนั้นทุกคนต้องยอมรับความจริงว่าการระบาดไม่มีทางเป็นศูนย์ ทั้งโลกและโรคนี้ไม่มีทางหมดไป

ศ.นพ.ยง กล่าวอีกว่า เราต้องปรับตัวอยู่กับโรคโควิด-19 ให้ได้ ทำยังไงต้องจบความรุนแรงให้ได้ ต้องปกป้องกลุ่มเสี่ยงให้มากที่สุด และเมื่อเป็นแล้วจะไม่ตาย และสามารถหายามารักษาด้วยวิธีใดก็ได้ หรือไม่เป็นได้ยิ่งดี ซึ่งตนยังไม่เคยเห็น ว่า มีวัคซีนใดที่มีกระบวนการคิดค้นได้เร็วเท่าโควิด-19 มาก่อน ซึ่งใช้เวลาเพียง 8 เดือน ก็เข้าสู่การทดสอบระยะสุดท้ายแล้ว สิ่งที่เราต้องคิดต่อ คือ แม้มีวัคซีนแล้ว โรคก็ไม่หมดไป และ เป็นไปไม่ได้ที่จะฉีดวัคซีนให้คนไทยจำนวน 40 ล้านคนๆ ละ 2 โดส รวม 80 ล้านโดส ดังนั้นจึงต้องมีวัคซีนให้กลุ่มเสี่ยง ผู้มีอาการหนัก ผู้สูงอายุ ด่านหน้าผู้เผชิญโรค

ศ.นพ.ยง กล่าวด้วยว่า ในอนาคตถ้าโรคนี้ยังอยู่กับเราเด็กเกิดมาเด็กจะต้องฉีดวัคซีนป้องกันด้วย อย่างไรก็ตามคิดว่าการตื่นตระหนกตอนนี้ไม่ได้ช่วยอะไรเลย เราต้องช่วยกันไม่ให้โรคระบาดเกินความสามารถของสาธารณสุขรองรับได้ คนไทยที่ยังติดกับตัวเลขศูนย์ จะต้องยอมรับให้ได้ว่าเราจะทำให้จำนวนผู้ติดเชื้อในประเทศเป็นศูนย์เกิน100 วันได้หรือไม่ด้วย ถ้าเกิดการพบผู้ติดเชื้อในประเทศขึ้นมาก็ไม่ต้องตื่นตระหนกเหมือนพบที่ระยองและปิดกรุงเทพฯ เพราะทำให้ผลเสียเยอะมาก ต้องช่วยกันคิดว่าทำอย่างไรไม่ให้มีการแพร่กระจาย และต้องทำให้ควบคุมได้ อย่างญี่ปุ่นระบาดรอบ 2 เป็นหลักพันคนทุกวันก็ยังไม่ล็อกดาวน์ ทั้งนี้ ไทยพยายามดึงไม่ให้เกิดระลอก 2 นานที่สุด หากเกิดก็ต้องช่วยกันควบคุมให้น้อย จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมถึงต้องใส่หน้ากาก ล้างมือ เว้นระยะห่าง ถ้าช่วยกันเมื่อเกิดก็คุมได้เพราะถ้าล็อกดาวน์อีกครั้งก็ไม่รู้จะเอาเงินที่ไหนไปแจก

หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก จุฬาฯ กล่าวถึงกรณีหญิงไทย 2 รายตรวจเจอสารพันธุกรรมของเชื้อโควิด-19 ว่า การตรวจเชื้อไวรัสโควิด-19 ในปัจจุบันมีความไวสูงมาก ซึ่งเป็นการตรวจหาสารพันธุกรรมหรือหา RNA ไวรัสโควิด-19 ซึ่งการตรวจพบไม่ได้บอกว่า ไวรัสนั้นมีหรือไม่มีชีวิต อาจจะมีหรือไม่มีชีวิตก็ได้ การจะรู้ว่ามีชีวิตและแพร่เชื้อได้หรือไม่ ต้องเอาไปเพาะเชื้อว่าเติบโตขึ้นหรือไม่ หากเติบโตก็คือมีชีวิต นอกจากนี้ ยังต้องพิจารณาเรื่องของการสอบสวนโรคบุคคลใกล้ชิดด้วย ซึ่งเมื่อเกิดกรณีอย่างนี้ขึ้น ทางกรมควบคุมโรคก็ลงพื้นที่ไปสอบสวนโรคแล้ว

ศ.นพ.ยง กล่าวว่า ส่วนการยังตรวจเจอสารพันธุกรรมเชื้อโควิด-19 หลังพ้นการกักตัว 14 วันไปแล้วนั้น มีความเป็นไปได้หลายอย่าง คือ

1. เคยติดเชื้อ โดยอาจติดตั้งแต่ต่างประเทศ เมื่อเข้ามาในสเตทควอรันทีน ก็อาจติดแบบไม่มีอาการ ซึ่งอาจตรวจพบหรือไม่พบสารพันธุกรรมก็ได้ หรือผู้ป่วยอาจหายแล้วก็ได้ เพราะไม่มีอาการ แต่เนื่องจากการตรวจมีความไว ชิ้นส่วน RNA อาจยังอยู่ อย่างที่เคยร่วมกับสำนักอนามัยและสำนักการแพทย์ กทม. ตรวจคนไข้หายดีแล้ว 200 กว่าคน ซึ่งหลายคนผลตรวจเป็นลบแล้วก่อนกลับบ้าน แต่เมื่อมาตรวจหลังผ่านไปแล้ว 12-14 สัปดาห์ ก็พบว่า 6% หรือ 12-13 คนก็ยังตรวจเจอสารพันธุกรรมได้อยู่ ซึ่งที่ตรวจพบยาวนานสุด คือ 105 วัน แต่จากการติดตามพี่น้อง ญาติ คนใกล้ชิดไม่มีใครติด ก็แสดงว่าไม่มีการแพร่เชื้อ

2. ระหว่างอยู่ในสเตท ควอรันทีน อาจสัมผัสรับเชื้อจากคนที่กักตัวด้วยกัน แล้วค่อยออกมาแสดงตอนหลัง แต่ประเด็นนี้เป็นไปได้น้อย เพราะเราเข้มมากเรื่องการอยู่แต่ในห้อง ไม่ให้สัมผัสกัน อย่างไรก็ตาม แม้อยู่ในสเตท ควอรันทีน 14 วัน เมื่อออกแล้วก็แนะนำให้ไปควอรันทีนที่บ้าน 14 วัน ก็เป็น 28 วัน โอกาสหลุดออกไปก็น้อย 3.ระยะการฟักตัวเกิน 14 วันเป็นไปได้หรือไม่ ส่วนใหญ่ระยะเวลาฟักตัวอยู่ที่ 2-7 วัน ส่วนน้อยยาวนาน 14 วัน และน้อยมากๆ คือ 21 วัน ดังนั้น จึงเป็นเหตุผลว่า ทำไมเมื่อพ้นการกักตัว 14 วันแล้ว ก็ยังให้ไปเก็บตัวที่บ้าน ถ้าปฏิบัติแบบนี้โอกาสกระจายเชื้อน้อยมาก หรือแม้แต่คนรักษาหายแล้วออกจากโรงพยาบาลก็ให้กลับไปกักตัวต่อ 14 วัน ก็เพื่อเก็บตก

เมื่อถามว่าการตรวจไม่เจอ RNA ของเชื้อ และภายหลังมาตรวจเจอใหม่ ขึ้นกับกำลังขยายในการตรวจหาเชื้อที่ต่างกันหรือไม่ ศ.นพ.ยงกล่าวว่า การตรวจสารพันธุกรรม เราจะขยายสารพันธุกรรม เป็น 2 ยกกำลังขึ้นไปเรื่อยๆ ซึ่งมาตรฐานในการตรวจจะยกกำลังขยายอยู่ที่ ยกกำลัง 38-40 ซึ่งทุกที่ใช้มาตรฐานเท่ากันหมด แต่ก็อาจจะเจอหรือไม่เจอก็ได้ ซึ่งมีปัจจัยหลายอย่าง เช่น เรื่องของคุณภาพการเก็บตัวอย่าง การป้ายคอ เป็นต้น แต่สำคัญคือการตรวจเจอไม่ได้บอกว่าเชื้อมีหรือไม่มีชีวิต

ขอบคุณที่มาและอ่านเพิ่มเติม : Facebook เพจ At HeaR ข่าวจริงเข้าหู

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่