สพฐ. แจงแนวทางยกระดับสมรรถนะครู ด้านภาษาและเทคโนโลยีดิจิทัล
สพฐ. แจงแนวทางยกระดับสมรรถนะครู ด้านภาษาและเทคโนโลยีดิจิทัล

สพฐ. แจงแนวทางยกระดับสมรรถนะครู ด้านภาษาและเทคโนโลยีดิจิทัล เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2564 นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) เป็นประธานในการแถลงข่าวชี้แจงแนวทางการยกระดับสมรรถนะครูด้านภาษาและเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อชี้แจงทำความเข้าใจกับครู ผู้บริหารโรงเรียน ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และสาธารณชนได้รับทราบ ณ ห้องประชุม DOC อาคาร สพฐ. 5 ชั้น 9 กระทรวงศึกษาธิการ

สพฐ. แจงแนวทางยกระดับสมรรถนะครู ด้านภาษาและเทคโนโลยีดิจิทัล
สพฐ. แจงแนวทางยกระดับสมรรถนะครู ด้านภาษาและเทคโนโลยีดิจิทัล

นายอัมพร พินะสา เลขาธิการ กพฐ. กล่าวว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้มีการขับเคลื่อนทักษะภาษาอังกฤษสำหรับครูในปีการศึกษา 2564 ตามนโยบายของนายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) ที่ต้องการให้ครูมีสมรรถนะเพิ่มเติมใน 3 เรื่อง ได้แก่ 1. ทักษะการใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารและการนำเสนอ 2. ทักษะการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร และ 3. ทักษะความเข้าใจการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital literacy) ซึ่งเป็นทักษะที่มีความสำคัญและเป็นเครื่องมือสำหรับครูที่จะใช้ในการจัดการเรียนการสอนและสื่อสารกับนักเรียน อย่างเช่นภาษาไทย ถึงแม้ว่าจะเป็นภาษาประจำชาติ แต่หากครูกับนักเรียนสื่อสารกันไม่เข้าใจในประเด็นที่ต้องการพูดคุยสื่อสารและการนำเสนอ ก็อาจส่งผลต่อการเรียนการสอนได้

ด้านภาษาอังกฤษเองก็เป็นเครื่องมือที่จำเป็นในการแสวงหาองค์ความรู้ เพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอนหรือใช้ในการสนทนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งทักษะภาษาอังกฤษและทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล จากความจำเป็นดังกล่าว สพฐ. จึงมีนโยบายให้ครูทำการประเมินตนเอง เพื่อนำไปพัฒนาต่อยอดผ่านกลไกของศูนย์พัฒนาศักยภาพบุคคลเพื่อความเป็นเลิศ (Human Capital Excellence Center : HCEC) ของ สพฐ. ซึ่งเป็นศูนย์ทดสอบและพัฒนาศักยภาพบุคลากรของ สพฐ. ที่มีอยู่ทั่วประเทศ โดยในการประเมินทักษะภาษาอังกฤษจะมีด้วยกัน 6 ระดับ คือ A1 A2 B1 B2 C1 C2 เมื่อครูประเมินแล้วได้ระดับใด ก็ให้พัฒนาตนเองต่อไปในระดับที่สูงขึ้นตามลำดับ

สพฐ. แจงแนวทางยกระดับสมรรถนะครู ด้านภาษาและเทคโนโลยีดิจิทัล 4
สพฐ. แจงแนวทางยกระดับสมรรถนะครู ด้านภาษาและเทคโนโลยีดิจิทัล 5

“สำหรับผลการประเมินดังกล่าวจะไม่มีผลต่อเงินเดือน หรือการเลื่อนวิทยฐานะแต่อย่างใด แต่เป็นการประเมินเพื่อกำหนดจุดเริ่มต้นในการพัฒนาครูแต่ละคน หากครูคนไหนได้ผลการประเมินระดับต่ำกว่ามาตรฐาน ก็ควรเข้าไปรับการพัฒนาเพื่อเพิ่มสมรรถนะในด้านทักษะภาษาอังกฤษเพิ่มเติม และหากใครต้องการขอมีหรือเลื่อนวิทยฐานะ แม้จะประเมินได้ในระดับ A1 ก็สามารถยื่นขอมีหรือเลื่อนวิทยฐานะได้ตามเกณฑ์ที่ ก.ค.ศ. กำหนด ทั้งเกณฑ์เก่าและเกณฑ์ใหม่

เพียงแต่เกณฑ์ของทาง ก.ค.ศ. ได้กำหนดไว้ว่า ครูที่จบวิชาเอกภาษาอังกฤษและสอนภาษาอังกฤษโดยตรง หากประเมินแล้วได้ระดับ B1 สามารถนำผลการประเมินไปขอลดระยะเวลาในการขอมีหรือเลื่อนวิทยฐานะได้ ดังนั้นการมีทักษะภาษาอังกฤษของครูจะเป็นแต้มต่อในการขอมีและเลื่อนวิทยฐานะได้เร็วขึ้นเท่านั้น ไม่ใช่เป็นเกณฑ์หรือคุณสมบัติอย่างที่เข้าใจ” เลขาธิการ กพฐ.กล่าว

ที่มา : Facebook ประชาสัมพันธ์ สพฐ.

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่