สพฐ.เล็งสอบครูผู้ช่วยปี 2563 เพิ่ม หลังมีผู้สอบได้เพียงร้อยละ 6.86 ของผู้มีสิทธิ์สอบทั้งหมด จำนวน 159,314 คน
สพฐ.เล็งสอบครูผู้ช่วยปี 2563 เพิ่ม หลังมีผู้สอบได้เพียงร้อยละ 6.86 ของผู้มีสิทธิ์สอบทั้งหมด จำนวน 159,314 คน

สพฐ.เล็งสอบครูผู้ช่วยปี 2563 เพิ่ม หลังมีผู้สอบได้เพียงร้อยละ 6.86 ของผู้มีสิทธิ์สอบทั้งหมด จำนวน 159,314 คน

ดร.อำนาจ วิชยานุวัติ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยว่า ตามที่ได้มีการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาตำแหน่งครูผู้ช่วย สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ปี 2563 โดยมีอัตราว่าง 18,987 อัตรา ซึ่งได้มีการจัดสอบเสร็จสิ้นไปแล้วเมื่อวันที่ 31 ส.ค.นั้น ขณะนี้มีผู้สอบผ่านภาค ก และ ข จำนวนทั้งสิ้น 10,375 คน คิดเป็นร้อยละ 6.86 ของผู้มีสิทธิ์สอบทั้งหมด จำนวน 159,314 คน ซึ่งแม้ตัวเลขผู้สอบได้ถือว่ามีจำนวนเพียงพอต่อการบรรจุครูแทนอัตราเกษียณในเดือน ต.ค.นี้ แต่ก็ยังเป็นตัวเลขที่น้อยอยู่ และเรายังเชื่อว่าจะได้ครูทันใช้เปิดภาคเรียนที่ 2 เดือน ธ.ค.นี้อย่างแน่นอนส่วนการสอบ ภาค ค ซึ่งเป็นการสอบภาคปฏิบัติด้วยการสาธิตการสอนนั้น คณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด (กศจ.) จะเป็นผู้กำหนดวันเวลาการสอบเอง

“ตนได้ฝากสำนักพัฒนาระบบบริหารงานบุคคลและนิติการ (สพร.) ของ สพฐ.ให้มีการเตรียมการสอบครูผู้ช่วยครั้งต่อไปแล้ว โดยให้ สพร.ไปสำรวจข้อมูลว่า มีตำแหน่งว่างจังหวัดไหน และขาดสาขาวิชาเอกอะไรบ้าง ซึ่งภายในปีนี้จะมีการสอบครูผู้ช่วยครั้งต่อไปอย่างแน่นอน

เลขาฯ กพฐ. เปิดเผยต่อว่า “อย่างไรก็ตามในการสอบครั้งนี้ถือว่าข้อสอบครูผู้ช่วยมีมาตรฐานตามเกณฑ์การสอบของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ที่มีมหาวิทยาลัยสวนดุสิต เป็นผู้ออกข้อสอบ ซึ่งจะทำให้ผู้สมัครสอบในครั้งต่อไปได้เตรียมตัวได้ว่าทิศทางของข้อสอบ และจะต้องเตรียมความพร้อมในการสอบในอนาคตอย่างไรบ้าง เพราะการสอบทั้งภาค ก และ ข จะเป็นตัวบ่งชี้เรื่องคุณภาพครู การคิดวิเคราะห์ ภาษาอังกฤษเทคนิคความเป็นครู รวมถึงข้อกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง” เลขาธิการ กพฐ. กล่าว

ขอบคุณที่มาของข่าว : Facebook At HeaR ข่าวจริงเข้าหู วันที่ 9 กันยายน 2563

1 ความคิดเห็น

  1. มีโอกาสคุมสอบหลายครั้ง และหลายครั้งที่น้องๆ เข้าสอบแพ้ภัยตัวเอง ..คะแนนไม่ถึงเกณฑ์..ฝ่ายผู้ออกข้อสอบก็บอกว่าข้อสอบได้มาตรฐาน ก็ไม่รู้ว่าวัดตรงไหน มาตรฐานระดับไหน คนถึงทำไม่ได้ แล้วก็ต้องเสียงบประมาณ เสียเวลา เสียโอกาส ออกมาใหม่อีกก็เหมือนเดิม วนไป กรรม..

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่