มาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาเด็กนักเรียนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์วิกฤติ
มาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาเด็กนักเรียนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์วิกฤติ

สพฐ. ออกมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาเด็กนักเรียนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์วิกฤติ ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษามีนักจิตวิทยาประจำโรงเรียน และสร้างเครือข่ายการคุ้มครองและดูแลช่วยเหลือเด็กนักเรียนในภาวะวิกฤติระดับจังหวัด

วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2563 นายอำนาจ วิชยานุวัติ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) เปิดเผยว่า ปัจจุบันเด็กนักเรียนได้รับผลกระทบทั้งด้านร่างกายและจิตใจ อันเนื่องจากสถานการณ์วิกฤติที่เกิดขึ้นทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษาอย่างต่อเนื่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นายณัฎฐพล ทีปสุวรรณ รมว.ศธ.) จึงได้ให้นโยบายการดูแลช่วยเหลือเด็กนักเรียน โดยกำหนดให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษามีนักจิตวิทยาประจำโรงเรียน และสร้างเครือข่ายการคุ้มครองและดูแลช่วยเหลือเด็กนักเรียนในภาวะวิกฤติระดับจังหวัด สามารถเข้าถึงสถานการณ์และให้คำปรึกษาและเยียวยาได้ทันท่วงที

สพฐ. ออกมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาเด็กนักเรียนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์วิกฤติ 2

ดังนั้น สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จึงได้กำหนดวิธีการป้องกันและแก้ไขปัญหาตามที่ รมว.ศธ. ได้ให้นโยบายไว้ 3 ประการ คือ

1) กำหนดให้มีการจัดตั้ง “ศูนย์เครือข่ายดูแลช่วยเหลือและคุ้มครองเด็กนักเรียนในภาวะวิกฤติจังหวัด” โดยใช้นักจิตวิทยาและนักจิตวิทยาคลินิกเป็นฐาน ขณะนี้อยู่ในระหว่างการประชุมเชิงปฏิบัติการใน 4 จุดภูมิภาค เพื่อการสร้างการรับรู้และเข้าใจบทบาทของการทำงาน โดยคณะกรรมการศูนย์เครือข่ายฯ นอกจากจะมีนักจิตวิทยาและนักจิตวิทยาคลินิกแล้ว ยังมีตัวแทนหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนในจังหวัดนั้นเป็นพลังขับเคลื่อนที่เข้มแข็งในการดูแลช่วยเหลือและคุ้มครองเด็กนักเรียนในภาวะวิกฤติได้อย่างทันท่วงที

2) การพัฒนาครูแนะแนว ครูปกครอง ครูที่ปรึกษาของสถานศึกษาในสังกัด ให้เป็นนักจิตวิทยาประจำโรงเรียนอย่างน้อยสถานศึกษาละ 1 คน ตามหลักสูตรที่ สพฐ. กำหนด จะมีการพัฒนาในช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2563 เมื่อเปิดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จะมีครูที่ผ่านหลักสูตรนักจิตวิทยาประจำโรงเรียน ครบ 100%

3) สพฐ. ได้อนุมัติอัตรากำลัง ตำแหน่ง พนักงานราชการ ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาละ 1 อัตรา รวมจำนวน 225 อัตรา เพื่อให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาได้สรรหานักจิตวิทยาที่สำเร็จการศึกษาด้านจิตวิทยาหรือจิตวิทยาคลินิกไว้ดูแลช่วยเหลือและคุ้มครองเด็กนักเรียนตามความต้องการของสถานศึกษาและในภาวะวิกฤติ ซึ่งขณะนี้อยู่ในระหว่างการดำเนินการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

“ด้วย 3 วิธีการนี้ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานมั่นใจว่าจะเป็นวิธีการป้องกันและแก้ไขปัญหาเพื่อดูแลช่วยเหลือเด็กนักเรียนในสถานศึกษาได้เป็นอย่างดี” เลขาธิการ กพฐ. กล่าว

สพฐ. ออกมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาเด็กนักเรียนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์วิกฤติ ขอบคุณที่มาของข่าว : ประชาสัมพันธ์ สพฐ.

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่