วิทยฐานะเกณฑ์ใหม่ ว21/2560 ดาวน์โหลดเอกสารและรายละเอียดทั้งหมด เตรียมประเมินรายปี
วิทยฐานะเกณฑ์ใหม่ ว21/2560 ดาวน์โหลดเอกสารและรายละเอียดทั้งหมด เตรียมประเมินรายปี

วิทยฐานะเกณฑ์ใหม่ ว21/2560 ดาวน์โหลดเอกสารและรายละเอียดทั้งหมด เตรียมประเมินรายปี

วันนี้ครูอาชีพดอทคอม ขอนำเสนอแนวทางการเตรียมความพร้อมในการเก็บเอกสารเพื่อรับประเมินการประเมิน วิทยฐานะเกณฑ์ใหม่ ตามแนวทางการเลื่อนวิทยฐานะเกณฑ์ใหม่ ว21/2560 พร้อม ดาวน์โหลด เอกสาร และรายละเอียดทั้งหมด เพื่อ เตรียมประเมินรายปี ซึ่งก.ค.ศ.ได้กำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู มีวิทยฐานะ และเลื่อนวิทยฐานะคุณสมบัติ 5 ข้อได้แก่

คุณสมบัติการขอมีหรือเลื่อน วิทยฐานะเกณฑ์ใหม่ ว21/2560

1. ระยะเวลาของการดำรงตำแหน่งครู โดยกำหนดให้แต่ละช่วงเป็นระยะเวลา 5 ปี นับถึงวันที่ยื่นคำขอ
2. ชั่วโมงการปฏิบัติงานในตำแหน่งครู ซึ่งมีการกำหนดภาระงานสอนขั้นต่ำ 12 ชม./สัปดาห์ รวมแล้วปีละ 800 ชม./ปี และในระยะ 5 ปี ต้องได้ 4000 ชม. สำหรับการขอมีวิทยฐานะชำนาญการและชำนาญการพิเศษ และ 900 ชม/ปี รวมระยะเวลา 5 ปี ต้องได้ 4500 ช.ม. สำหรับวิทยฐานะเชี่ยวชาญ โดยต้องมีชม. PLC ไม่น้อยกว่าปีละ 50 ชม.
3. ไม่เคยถูกลงโทษทางวินัย หรือจรรยาบรรณวิชาชีพ
4. ผ่านการพัฒนาตามเกณฑ์และวิธีการตามที่กคศ.กำหนด (คูปองครู) ขั้นต่ำปีละ 12 ชม. แต่ในระยะเวลา 5 ปี ต้องได้ 100 ชม.หากในปีใดมีชมการพัฒนาไม่ครบ 20 ชม.ให้นำชม.ส่วนที่เกินจาก PLC 50ชม.มารวมได้
5. ผ่านการประเมิน ผลการปฏิบัติงานในระยะเวลา 5 ปี ย้อนหลัง ไม่น้อยกว่า 3 ปีการศึกษา

ก.ค.ศ. ว21
ก.ค.ศ. ว21/2562

แบบคำขอมีวิทยาฐานะหรือเลื่อนวิทยาฐานะ (วฐ.1) ต้องการข้อมูล ดังต่อไปนี้

  • ข้อมูลทั่วไป
  • วิชา/สาขา/กลุ่มสาระการเรียนรู้ที่ทำการสอน
  • วิทยฐานะที่ขอมีหรือเลื่อนวิทยฐานะ
  • คุณสมบัติของผู้ขอ ดังนี้
    – การดำรงตำแหน่งปัจจุบัน
    – จำนวนชั่วโมงการปฏิบัติงาน
    – การมีวินัย คุณธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ
    – การพัฒนาตนเอง
    – ผลการประเมินผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งและวิทยฐานะที่ดำรงอยู่ *นับถึงวันที่สิ้นสุดปีการศึกษาก่อนวันที่ยื่นคำขอ

*เอกสารทั้งหมดนี้จัดเก็บ ย้อนหลัง 5 ปี ติดต่อกัน นับถึงวันที่ยื่นคำขอวิทยฐานะ

แนวจัดเก็บเอกสารแนบ วฐ.1 ดังนี้

  • กพ.7 หรือ ก.ค.ศ. 16
  • คำสั่งแต่งตั้งกรรมการประเมิน วิทยฐานะ
  • ตารางสอน
  • คำสั่งมอบหมายงานประจำปี
  • วุฒิการศึกษา
  • วุฒิบัตร อบรมคูปองพัฒนาครู หรือการอบรมที่ได้วุฒิบัตรที่ ก.ค.ศ. รับรอง
  • ผลงานในระดับต่าง ๆ
ภาพการอบรมคูปิงครู OBEC Training
ภาพการอบรมคูปองครู OBEC Training

แนวทางจัดเก็บเอกสารแนบ 3 ด้าน 13 ตัวชี้วัด ตามแบบรายงานผลงาน ที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ ตำแหน่งครู (รายปีการศึกษา) (วฐ.2)

ด้านที่ 1 ด้านการจัดการเรียนการสอน

การจัดการเรียนการสอน มี 8 ตัวชี้วัด ดังนี้
ตัวชี้วัดที่ 1.1 การสร้างและหรือพัฒนาหลักสูตร เช่น
1) หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชาที่สอน
2) หน่วยการเรียนรู้ของรายวิชาที่สอน
3) หลักฐานการประเมินผล การใช้หลักสูตรกลุ่มสาระ การเรียนรู้/รายวิชาที่สอน
4) วุฒิบัตร เกียติบัตร โล่รางวัล คำสั่ง หรืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

ตัวอย่างแนวทางการเตรียมความพร้อมในการเก็บเอกสาร เช่น
– เอกสารหลักสูตรโรงเรียน รวมถึงรายวิชาที่สอน
– เอกสารคำสั่งพัฒนาโรงเรียน และเอกสารการวิเคราะห์หลักสูตร
– เอกสารแบบประเมินหลักสูตร
– เอกสารแผนการสอน
– เอกสารการนิเทศการสอน รวมถึงนิเทศแผนการสอน

ตัวชี้วัดที่1.2 การจัดการเรียนรู้ มี 4 ตัวชี้วัดย่อย ดังนี้

  • ตัวชี้วัดที่ 1.2.1 การออกแบบหน่วยการเรียนรู้
    ตรวจสอบจากเอกสาร หลักฐาน แหล่งข้อมูล ดังนี้
    1) ใบรับรองการผ่านการทดสอบความรู้จากสถาบันทางวิชาการที่ ก.ค.ศ.กำหนด
    2) วุฒิบัตร, เกียรติบัตร, ใบรับรอง, โล่, รางวัล หรือหลักฐานการศึกษาต่อ
    3) หนังสือเชิญ คำสั่ง หนังสือขอบคุณ ฯลฯ
    4) เอกสารทางวิชาการที่ศึกษา
    5) ผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาการ
    6) เอกสาร หลักฐาน อื่น ๆ เพิ่มเติมที่เกี่ยวข้อง
    ตัวอย่างแนวทางการเตรียมความพร้อมในการเก็บเอกสาร เช่น
    ตัวชี้วัดที่1.2 การจัดการเรียนรู้ มี 4 ตัวชี้วัดย่อย ดังนี้
    – เอกสารแบบวิเคราะห์หลักสูตร
    – เอกสารหน่วยการเรียนรู้วิชาที่สอน
    – เอกสารแผนการสอน และบันทึกหลังสอน
    – เอกสารนิเทศการสอน และนิเทศแผน
    – เอกสารแบบบันทึกการให้คำแนะนำ และแนวทางการให้คำปรึกษา
  • ตัวชี้วัดที่ 1.2.2 การจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้/แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP)/แผนการสอนรายบุคคล (IIP)/แผนการจัดประสบการณ์
    จัดทำแผนการสอนรายบุคคล (IIP) คือ การกำหนดแนวทางการจัดการเรียนรู้ หรือการบำบัดฟื้นฟู เป็นการเตรียมการสอนหรือการกำหนดกิจกรรมการเรียนรู้หรือการบำบัดฟื้นฟูไว้ล่วงหน้าอย่าง เป็นระบบ และเป็นลายลักษณ์อักษร ตามแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP)
    จัดทำแผนการจัดประสบการณ์ คือ การกำหนดแนวทางการจัดประสบการณ์ เพื่อส่งเสริม พัฒนาการที่สมดุลทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา ผ่านกิจกรรมการ เล่นที่เหมาะสมกับวัยและความแตกต่างระหว่างบุคคล
    ตรวจสอบจากเอกสาร หลักฐาน แหล่งข้อมูล ดังนี้
    1) หลักฐาน ร่องรอย ที่แสดงถึงการแก้ปัญหา หรือพัฒนาการเรียนรู้ หรือองค์ความรู้ใหม่ โดยใช้ กระบวนการวิจัย หรือการดำเนินการวิจัย
    2) หลักฐาน ร่องรอย ที่แสดงถึงการเป็นผู้นำ หรือการให้คำแนะนำ
    ตัวอย่างแนวทางการเตรียมความพร้อมในการเก็บเอกสาร เช่น
    – เอกสารแบบวิเคราะห์ผู้เรียนรายบุคคล
    – เอกสารแผนการสอน และบันทึกหลังสอน
    – เอกสารการศึกษาเป็นรายกรณี (Case Study)
    – เอกสารแบบบันทึกการให้คำแนะนำ และแนวทางการให้คำปรึกษา
  • ตัวชี้วัดที่ 1.2.3 กลยุทธ์ในการจัดการเรียนรู้
    ตรวจสอบจากเอกสาร หลักฐาน แหล่งข้อมูล ดังนี้
    1) แผนการจัดการเรียนรู้
    2) สื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีการจัดการเรียนรู้ และแหล่งเรียนรู้
    3) หลักฐานหรือร่องรอยการประเมินผลการใช้กลยุทธ์การจัดการเรียนรู้
    4) คำสั่ง และร่องรอยการเป็นพี่เลี้ยง และให้คำแนะนำ
    5) หลักฐานและร่องรอยอื่นๆ เพิ่มเติมที่เกี่ยวข้อง
    ตัวอย่างแนวทางการเตรียมความพร้อมในการเก็บเอกสาร เช่น
    – เอกสารแผนการสอน และบันทึกหลังสอน
    – เอกสารทะเบียนการผลิต หรือการใช้สื่อ
    – เอกสารร่องรอยการใช้สื่อการสอน
    – เอกสารนิเทศการสอน วิธีการสอน
    – เอกสารบันทึกแนะแนวชั้นเรียน หรือการโฮมรูม
    – เอกสารรูปภาพประกอบกิจกรรม
  • ตัวชี้วัดที่ 1.2.4 คุณภาพผู้เรียน
    เตรียมความพร้อมในการเก็บเอกสาร เช่น
    – เอกสาร ปพ.5,6,8 หรือที่เกี่ยวข้อง
    – เอกสารตารางวิเคราะห์ผลการเรียน
  • ตัวชี้วัดที่ 1.3 การสร้างและการพัฒนา สื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีทางการศึกษา และแหล่งเรียนรู้
    ตรวจสอบจากเอกสาร หลักฐาน แหล่งข้อมูล ดังนี้
    1) สื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีทางการศึกษา และแหล่งเรียนรู้
    2) หลักฐาน ร่องรอยการประเมินผล และหรือปรับปรุงสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีทางการศึกษา และ แหล่งเรียนรู้
    3) หลักฐาน ร่องรอยการประเมินผล การนำสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีทางการศึกษา และแหล่ง เรียนรู้ไปประยุกต์ใช้ในสถานศึกษาที่มีบริบทใกล้เคียง
    4) หลักฐานและร่องรอยอื่น ๆ เพิ่มเติมที่เกี่ยวข้อง
    ตัวอย่างแนวทางการเตรียมความพร้อมในการเก็บเอกสาร เช่น
    – เอกสารทะเบียนการผลิต หรือการใช้สื่อ แหล่งเรียนรู้
    – เอกสารเกียรติบัตร
    – เอกสารแบบประเมินสื่อ
    – เอกสารบันทึกเผยแพร่
    – เอกสารแบบบันทึกการให้คำแนะนำ และแนวทางการให้คำปรึกษา

    ตัวชี้วัดที่ 1.4 การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
    ตรวจสอบจากเอกสาร หลักฐาน แหล่งข้อมูล ดังนี้
    1) แผนการจัดการเรียนรู้
    2) หลักฐาน ร่องรอย ที่แสดงถึงการวิเคราะห์ ตัวชี้วัดหรือผลการเรียนรู้ เพื่อวัดและประเมินผลการเรียนรู้
    3) เครื่องมือที่ใช้ในการวัด และประเมินผลการเรียนรู้ และเกณฑ์การให้คะแนน
    4) ภาระงาน ชิ้นงานของผู้เรียน
    5) คำสั่ง และร่องรอยการเป็นพี่เลี้ยง และให้คำแนะนำด้านการวัดและประเมินผล
    ตัวอย่างแนวทางการเตรียมความพร้อมในการเก็บเอกสาร เช่น
    – ข้อสอบ แบบทดสอบ การประเมินสภาพจริง
    – เครื่องมือที่ใช้วัดผลต่าง ๆ เช่น เอกสารแผนการสอน บันทึกหลังสอน เอกสารการประเมินสภาพจริง เอกสารแบบวิเคราะห์ตัวชี้วัด เอกสารแสดงชิ้นงานนักเรียน และเอกสารแสดงแบบวิเคราะห์ข้อสอบ

    ตัวชี้วัดที่ 1.5 การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้
    ตรวจสอบจากเอกสาร หลักฐาน แหล่งข้อมูล ดังนี้
    1) หลักฐาน ร่องรอย ที่แสดงถึงการแก้ปัญหา หรือพัฒนาการเรียนรู้ หรือองค์ความรู้ใหม่ โดยใช้กระบวนการวิจัย หรือการดำเนินการวิจัย
    2) หลักฐาน ร่องรอย ที่แสดงถึงการเป็นผู้นำ หรือการให้คำแนะนำตรวจสอบจากแฟูมเอกสารหลักฐาน การบริหารจัดการชั้นเรียน
    ตัวอย่างแนวทางการเตรียมความพร้อมในการเก็บเอกสาร เช่น
    – เอกสารวิจัยในชั้นเรียน
    – เอกสารวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล
    – เอกสารการสอนเสริม
    – เอกสารการศึกษาเป็นรายกรณี (Case Study)

ด้านที่ 2 ด้านการบริหารจัดการชั้นเรียน มีจำนวน 3 ตัวชี้วัดย่อย ดังนี้

  • ตัวชี้วัดที่ 2.1 การบริหารจัดการชั้นเรีย
    ตัวอย่างแนวทางการเตรียมความพร้อมในการเก็บเอกสาร เช่

    – เอกสารแสดงการจัดบรรยากาศในชั้นเรียน มุมสื่อต่าง ๆ
    – เอกสารทะเบียนสื่อ
    – เอกสารแสดงรูปภาพที่เด็กมีส่วนร่วม
    – เอกสารแสดงผลงาน ชิ้นงานนักเรียน หรือแฟูมสะสมงานนักเรียน
    – สารสนเทศชั้นเรียน เช่น การโฮมรูม, การทำความดี, การจัดบอร์ด, ข้อตกลงในห้องเรียน,บอร์ดผลงานเด็ก
  • ตัวชี้วัดที่ 2.2 การจัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
    ตัวอย่างแนวทางการเตรียมความพร้อมในการเก็บเอกสาร เช่น
    – เอกสารที่เกี่ยวข้องกับประวัตินักเรียน
    – เอกสารการวิเคราะห์ผู้เรียนรายบุคคล
    เอกสารเกี่ยวกับทุนต่างๆ, การเยี่ยมบ้าน, กรณีศึกษา, การคัดกรองนักเรียน,การแนะแนว, การวิจัย, รวมถึงภาพถ่ายกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

    ตัวชี้วัดที่ 2.3 การจัดทำข้อมูลสารสนเทศ และเอกสารประจำชั้นเรียนหรือประจำวิชา
    ตัวอย่างแนวทางการเตรียมความพร้อมในการเก็บเอกสาร เช่น

    – เอกสารชั้นเรียนต่างๆ
    – เอกสารประจำวิชา

ด้านที่ 3 ด้านการพัฒนาตนเองและพัฒนาวิชาชีพ มีจำนวน 2 ตัวชี้วัดย่อย ดังนี้

  • ตัวชี้วัดที่ 3.1 การพัฒนาตนเอ
    ตัวอย่างแนวทางการเตรียมความพร้อมในการเก็บเอกสาร เช่

    – เอกสารแผนพัฒนาตนเอง (Id plan)
    – เอกสารรวบรวมเกียรติบัตร
    – เอกสารบันทึกการศึกษาเอกสารวิชาการ
    – เอกสารบันทึกการค้นคว้า
    – เอกสารการทบทวนหลังปฏิบัติงาน (After Action Review: AAR)
    – เอกสารชุมชนแห่งการเรียนรู้ (Professional Learning Community : PLC)
    – เอกสารการเผยแพร่ผลงาน และหนังสือขอบคุณต่างๆ
  • ตัวชี้วัดที่ 3.2 การพัฒนาวิชาชีพ
    ตัวอย่างแนวทางการเตรียมความพร้อมในการเก็บเอกสาร เช่
    – เอกสารแบบบันทึก PLC
    – เอกสารแบบฝึกต่างๆ หรือใบงาน และอื่น ๆ

สำหรับเอกสารการเตรียมความพร้อมในการเก็บเอกสารเพื่อรับประเมินการประเมิน ตามแนวทางการเลื่อนวิทยฐานะเกณฑ์ใหม่ ว21/2560 ครูอาชีพดอทคอมได้รวบรวม จากเพจศูนย์พัฒนาวิชาชีพครูโรงเรียนบางละมุง ซึ่งต้องขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงดังรายละเอียดการดาวน์โหลด ดังนี้

10 ความคิดเห็น

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่