มาดูกำหนดการ บทบาทหน้าที่การเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยีการศึกษาทางไกล 2 รูปแบบ ระหว่าง 16 พ.ค.-30 มิ.ย.2563
มาดูกำหนดการ บทบาทหน้าที่การเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยีการศึกษาทางไกล 2 รูปแบบ ระหว่าง 16 พ.ค.-30 มิ.ย.2563

มาดูกำหนดการ บทบาทหน้าที่การเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยีการศึกษาทางไกล 2 รูปแบบ ระหว่าง 16 พ.ค.-30 มิ.ย.2563

มาดูกำหนดการ บทบาทหน้าที่การเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยีการศึกษาทางไกล 2 รูปแบบ ระหว่าง 16 พ.ค.-30 มิ.ย.2563
มาดูกำหนดการ บทบาทหน้าที่การเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยีการศึกษาทางไกล 2 รูปแบบ ระหว่าง 16 พ.ค.-30 มิ.ย.2563 2

(10 เมษายน 2563) นายอำนาจ วิชยานุวัติ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เปิดเผยภายหลังการประชุมผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศผ่านระบบ Video Conference เกี่ยวกับแผนการจัดการเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยีการศึกษาทางไกล ให้แก่นักเรียน ผู้ปกครอง ครูผู้สอน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)

เลขาธิการ กพฐ. กล่าวว่า แผนการจัดการเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยีการศึกษาทางไกล ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ระยะที่ 1 ระหว่างวันที่ 16 พฤษภาคม – 30 มิถุนายน 2563 มี 2 รูปแบบ ได้แก่

รูปแบบที่ 1 การเรียนการสอนของนักเรียนระดับชั้นอนุบาล 1 ประถมศึกษา และมัธยมศึกษาปีที่ 3 ด้วยระบบการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV)

โดยเรียน 50 นาทีผ่านช่องทีวีและเว็บไซต์ และ 10 นาทีสื่อสารผู้ปกครองและนักเรียนด้วยระบบโทรศัพท์ Line และอื่น ๆ

  • นักเรียน จะต้องดูตารางสอนออกอากาศล่วงหน้า 1 วัน ศึกษาแฟ้มงานเอกสารประกอบการเรียน เข้าเรียนผ่านโทรทัศน์ และสรุปองค์ความรู้จากบทเรียน เข้าระบบเช็คชื่อออนไลน์ที่ครูออกแบบไว้ สอบถามข้อสงสัยโดยสื่อสารกับครูผ่านกลุ่ม Line หรือ Facebook หรือช่องทางอื่น ๆ
  • ผู้ปกครอง เตรียมความพร้อมด้านอุปกรณ์และสถานที่เรียนที่บ้าน ศึกษาทำความเข้าใจตารางสอนและแผนการเรียน ดูแลช่วยเหลือการเรียนของนักเรียน ติดต่อสื่อสารกับครูผ่านโทรศัพท์ Line หรือ Facebook หรือช่องทางอื่น ๆ และพบปะกับครูกรณีมีข้อจำกัดในการเรียน
  • ครูผู้สอน ดาวน์โหลดและศึกษาตารางสอนออกอากาศ จัดเตรียมเอกสารใบงานแบบฝึกหัดให้นักเรียนและผู้ปกครอง มอบใบงานหรือแบบฝึกหัดให้นักเรียนและผู้ปกครอง สื่อสารกับผู้ปกครองและนักเรียนผ่านโทรศัพท์ หรือ Line หรือ Facebook หรือช่องทางอื่น ๆ รวมทั้งเยี่ยมพบปะนักเรียน พร้อมรับส่งแฟ้มงานของนักเรียนอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง
  • โรงเรียนและเขตพื้นที่การศึกษา สำรวจความพร้อมผู้ปกครองนักเรียน สร้างความเข้าใจกับชุมชนและผู้ปกครอง สนับสนุนช่วยเหลือนักเรียนที่ไม่มีความพร้อม ตั้งหน่วยเคลื่อนที่เร็ว จัดประชุม Video Conference กำกับติดตามนิเทศการเรียนการสอน และรายงานผลการดำเนินงานสัปดาห์ละ 2 ครั้ง

รูปแบบที่ 2 นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 ด้วยระบบการศึกษาทางไกลผ่านออนไลน์ (Online Real-Time Learning OBEC TV) 13 ช่อง

โดยเรียน 30 นาทีผ่านคลิป VTR จากครูต้นแบบ และ 20 นาทีผ่านครูประจำวิชาด้วย Video Conference

  • นักเรียน เข้ากลุ่ม Line/Facebook/ช่องทางอื่น ๆ ศึกษาแฟ้มงานเอกสารประกอบการเรียน/ใบงาน/ใบกิจกรรมล่วงหน้า 1 วัน เข้าระบบเช็คชื่อออนไลน์ที่ครูออกแบบ เข้าเรียนผ่านระบบออนไลน์ และร่วมแลกเปลี่ยนกับครูประจำวิชา ผ่าน Video Conference และสรุปองค์ความรู้จากบทเรียน ส่งผลงานในรูปแบบต่าง ๆ
  • ผู้ปกครอง ศึกษาตารางสอนและแบบเรียนล่วงหน้า สนับสนุนการเตรียมเครื่องมือสัญญาณการเรียนออนไลน์ สนับสนุนนักเรียนสืบค้นงาน จัดทำแฟ้มความรู้ใบงานและแบบทดสอบ ติดต่อสื่อสารครูประจำชั้น/วิชา ผ่านกลุ่ม Line หรือ Facebook หรือช่องทางอื่น ๆ
  • ครูผู้สอน สำรวจความพร้อมนักเรียนรายบุคคล ศึกษาการใช้โปรแกรมออนไลน์ เตรียมและออกแบบกิจกรรมใบงานที่เหมาะสม จัดการเรียนรู้ตามคลิป VTR ดำเนินการสอนและมอบใบงานหรืออื่น ๆ ผ่านระบบ Video Conference ทบทวนเพิ่มเติมบทเรียนผ่านระบบ Video Conference และประสานผู้ปกครองนักเรียนผ่าน Line หรือ Facebook หรือช่องทางอื่น ๆ
  • โรงเรียนและเขตพื้นที่การศึกษา สำรวจความพร้อมผู้ปกครองนักเรียน สร้างความเข้าใจกับชุมชนและผู้ปกครอง สนับสนุนช่วยเหลือนักเรียนที่ไม่มีความพร้อม ตั้งหน่วยเคลื่อนที่เร็ว จัดประชุม Video Conference กำกับติดตามนิเทศการเรียนการสอน และรายงานผลการดำเนินงานสัปดาห์ละ 2 ครั้ง

ที่มา : ศธ 360 องศา

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่