น่าห่วง !! ผลวิจัยชี้ นร.ในสถานศึกษา ถูกรังแกปีละ 6 แสนคน เล็งผุดหลักสูตรยุติการรังแกภายในโรงเรียนและโซเชียลมีเดีย
น่าห่วง !! ผลวิจัยชี้ นร.ในสถานศึกษา ถูกรังแกปีละ 6 แสนคน เล็งผุดหลักสูตรยุติการรังแกภายในโรงเรียนและโซเชียลมีเดีย

น่าห่วง !! ผลวิจัยชี้ นร.ในสถานศึกษา ถูกรังแกปีละ 6 แสนคน เล็งผุดหลักสูตรยุติการรังแกภายในโรงเรียนและโซเชียลมีเดีย

นายนิสิต เนินเพิ่มพิสุทธิ์ ผู้อำนวยการศูนย์เฉพาะกิจคุ้มครองและช่วยเหลือเด็กนักเรียน (ผอ.ฉก.ชน.) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กล่าวมอบนโยบายการป้องกันการรังแกในโรงเรียน เพื่อร่วมกันส่งเสริมและสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยด้านสังคม ด้วยการยุติการรังแกภายในโรงเรียนและโซเชียลมีเดีย แก่โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา 245 เขตทั่วประเทศ ผ่านระบบห้องประชุมออนไลน์ ZOOM Cloud Meeting ว่า จากข้อมูลของ National Center for Educational Statistics, 2019 ทำการสำรวจ พบว่าประเทศไทยมีเด็กถูกรังแกในสถานศึกษาปีละกว่า 600,000 คน และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งนักเรียนที่อยู่ในวงจรการรังแกอยู่ในระบบการศึกษามากกว่า40% โดยลักษณะการรังแกที่พบมากที่สุดคือ การรังแกทางวาจา มีสูงถึง 40.9% ของผู้เข้าตอบแบบสำรวจ 23,787 คนจาก 1,324 โรงเรียนทั่วประเทศ และส่วนใหญ่ผู้รังแกมักไม่รู้ตัว แต่ส่งผลกระทบกับผู้ถูกรังแก ทั้งร่างกายและจิตใจ อีกทั้งพบว่านักเรียนที่เป็นผู้ถูกรังแกระบุว่า การถูกรังแกมีผลต่อความรู้สึกต่อตนเอง 27% , มีผลต่อความสัมพันธ์กับเพื่อนๆ และครอบครัว 19% , มีผลต่อการเรียน 19% และมีผลต่อสุขภาพร่างกาย 14%

ผอ.ฉกชน. กล่าวอีกว่า ดังนั้น สพฐ. โดย ศก.ชน. และมูลนิธิรักษ์ไทย จึงร่วมกันดำเนินโครงการ“นักเรียนก้าวทันยุติการรังแกในโรงเรียน และโซเชียลมีเดีย” ซึ่งโครงการนี้ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เพื่อให้นักเรียนลดการรังแกทั้งในโรงเรียนและในโลกไซเบอร์ รวมทั้งครูในโรงเรียน ผู้ปกครอง และภาคีเครือข่าย ได้ตระหนักรู้เท่าทัน เข้าใจ รับรู้ว่าการล้อ แกล้ง รังแกกัน เป็นเรื่องที่ยอมรับไม่ได้ และทำให้เด็กและเยาวชนในระบบการศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัด สพฐ. ได้รับการเสริมสร้างคุณค่า การรับรู้ และพฤติกรรม ที่เข้าใจการอยู่ร่วมกันท่ามกลางความหลากหลาย พร้อมทั้งเข้าใจอิทธิพลสื่อที่ไม่ได้สร้างการรังเกียจ การเกลียดชัง และพฤติกรรมรุนแรง และสามารถทดแทนโดยสื่อที่ดี มีความสร้างสรรค์ ที่สำคัญครูมีความเข้าใจทักษะในการแนะนำ ให้คำปรึกษาแก่เด็กที่เป็นผู้รังแก หรือผู้ถูกรังแกได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

“จะมีการเผยแพร่หลักสูตรนี้ให้แก่โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา 245 เขตทั่วประเทศ เพื่อร่วมกันส่งเสริมและสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยด้านสังคม ด้วยการยุติการรังแกภายในโรงเรียนและโซเชียลมีเดีย ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยในโรงเรียนทางด้านสังคม ในประเด็นยุติการรังแก เพื่อให้นักเรียนมีความสุขในการไปโรงเรียน นำไปสู่การเรียนรู้ที่มีคุณภาพ และส่งผลสู่สังคมคุณภาพตามมา” นายนิสิต กล่าว

ขอบคุณที่มา : Facebook At HeaR

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่