ที่ประชุมเห็นชอบแก้ไขระเบียบทรงผมนักเรียน สั้น - ยาว ได้ ห้ามครู กล้อนผมนักเรียน
ที่ประชุมเห็นชอบแก้ไขระเบียบทรงผมนักเรียน สั้น - ยาว ได้ ห้ามครู กล้อนผมนักเรียน

ที่ประชุมเห็นชอบแก้ไขระเบียบทรงผมนักเรียน สั้น – ยาว ได้ ห้ามครู กล้อนผมนักเรียน ที่ประชุมคณะกรรมการพิจารณาข้อร้องเรียนของนักเรียนนักศึกษา ศธ. เห็นชอบแก้ไขระเบียบทรงผมนักเรียน ข้อ 4 และ 7 นักเรียนไว้ผม สั้น – ยาว ได้ ห้ามครู กล้อนผมนักเรียน

ที่ประชุมเห็นชอบแก้ไขระเบียบทรงผมนักเรียน สั้น - ยาว ได้ ห้ามครู กล้อนผมนักเรียน
ที่ประชุมเห็นชอบแก้ไขระเบียบทรงผมนักเรียน สั้น – ยาว ได้ ห้ามครู กล้อนผมนักเรียน

เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2563 กระทรวงศึกษาธิการจัดประชุมคณะกรรมการพิจารณาข้อร้องเรียนของนักเรียน นักศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ครั้งที่ 3 ณ ห้องประชุมจันทรเกษม เห็นชอบแก้ไขระเบียบทรงผมนักเรียน ข้อ 4 และ 7 นักเรียนไว้ผมยาว-สั้นก็ได้ ห้ามลงโทษกล้อนผมเด็ก พร้อมเปิดโอกาสให้แต่งกายตามเพศสภาพ ใส่ชุดอื่นตามข้อตกลงร่วมกัน และตั้งคณะทำงานเพิ่ม 3 ด้าน เพื่อแก้ปัญหาการละเมิด กฎระเบียบล้าหลัง และการแสดงออกทางการเมืองในสถานศึกษา

ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวาณิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศ (TDRI) ในฐานะประธานคณะกรรมการพิจารณาข้อร้องเรียนของนักเรียน นักศึกษา เปิดเผยภายหลังการประชุม ดังนี้

ที่ประชุมเห็นชอบแก้ไขระเบียบทรงผมนักเรียน สั้น - ยาว ได้ ห้ามครู กล้อนผมนักเรียน
ที่ประชุมเห็นชอบแก้ไขระเบียบทรงผมนักเรียน สั้น – ยาว ได้ ห้ามครู กล้อนผมนักเรียน
ที่ประชุมเห็นชอบแก้ไขระเบียบทรงผมนักเรียน สั้น - ยาว ได้ ห้ามครู กล้อนผมนักเรียน
ที่ประชุมเห็นชอบแก้ไขระเบียบทรงผมนักเรียน สั้น – ยาว ได้ ห้ามครู กล้อนผมนักเรียน

เรื่องทรงผมนักเรียน

ที่ประชุมได้พิจารณาร่างระเบียบ ศธ. ว่าการไว้ทรงผมของนักเรียน พ.ศ.2563 โดยมีข้อเสนอแนะแก้ไข 3 ประการ คือ

ประการแรก “บทนำหรือคำปรารภ” แก้ไขเป็น “การปรับแก้ระเบียบฯ การไว้ทรงผมของนักเรียน พ.ศ. 2563 ให้มีความเหมาะสมกับสภาวการณ์ปัจจุบัน และสอดคล้องกับหลักการสิทธิมนุษยชน การคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ การมีส่วนร่วม รวมทั้งการป้องกันให้มีการเลือกปฏิบัติไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ เพราะปัจจุบันสังคมไทยมีการพัฒนาไปมาก และมีความหลากหลายทางเพศมากยิ่งขึ้น”

ประการที่สอง “การแก้ไขระเบียบข้อที่ 4” โดยมีการแยกไว้ว่า การไว้ทรงผมของนักเรียนชายและนักเรียนหญิงมีบทบัญญัติที่แตกต่างกัน ในการแก้ไขครั้งนี้จึงให้มีการไม่เลือกปฏิบัติทางเพศ และสะท้อนถึงความหลากหลายทางเพศสภาพของนักเรียนได้อย่างชัดเจน ไม่ให้มีปัญหาในทางปฏิบัติ ส่วนการดัดผม ย้อมสีผมให้ต่างไปจากเดิม ไว้หนวดหรือไว้เครา ยังคงเป็นข้อห้ามตามเดิม เนื่องเห็นว่าอาจทำให้เสียสมาธิในการเรียน

ทั้งนี้ ระเบียบข้อ 4 จะปรับแก้ไขใหม่ให้เป็นดังนี้

“ข้อ 4 นักเรียนจะไว้ผมสั้นหรือผมยาวก็ได้ กรณีไว้ผมยาว ให้เป็นไปตามความเหมาะสมและรวบให้เรียบร้อย”

ประการที่สาม “การแก้ไขระเบียบข้อที่ 7″ ซึ่งมีจุดอ่อนในเรื่องการออกกฎระเบียบของโรงเรียนโดยไม่ต้องมีการปรึกษาหารือ จึงกำหนดให้มีการเขียนไว้อย่างชัดเจน ดังนี้

“ข้อ 7 ภายใต้บังคับข้อ 4 ให้สถานศึกษาวางระเบียบการไว้ทรงผมของนักเรียนได้เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ โดยต้องได้รับความเห็นชอบร่วมกันจากคณะกรรมการสถานศึกษา หรือคณะกรรมการบริหารโรงเรียนเอกชน แล้วแต่กรณี

ก่อนดำเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้สถานศึกษาดำเนินการจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของนักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา และเครือข่ายผู้ปกครอง รวมทั้งเผยแพร่ผลการรับฟังความคิดเห็นดังกล่าวไว้ในบริเวณสถานศึกษา หรือระบบสารสนเทศของสถานศึกษานั้น”

นอกจากนี้ ที่ประชุมยังมีข้อเสนอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการมีหนังสือทำความเข้าใจไปยังโรงเรียน คือ

  1. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของนักเรียน โดยใช้กลไกของสภานักเรียน เช่น ให้ผู้แทนสภานักเรียน เข้าร่วมสังเกตการณ์ ในการประชุมของคณะกรรมการสถานศึกษา ตามข้อ 7
  2. ยกแนวปฏิบัติของโรงเรียนที่ดำเนินการมีส่วนร่วม เช่น โรงเรียนรัตนาธิเบศร์
  3. กรณีนักเรียนปฏิบัติไม่ถูกต้องตามระเบียบ การลงโทษต้องคำนึงถึงสิทธิของนักเรียน และเป็นไปตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการลงโทษนักเรียนนักศึกษา พ.ศ.2548 และกฎหมายคุ้มครองเด็ก โดย ศธ.ไม่สนับสนุนการกระทำรุนแรงต่อเด็ก ดังนั้นต่อไป “การกล้อนผมเด็ก” จะไม่สามารถกระทำได้

เรื่องเครื่องแบบนักเรียน

ที่ประชุมได้หารือแนวทางแก้ไขปัญหาเครื่องแบบนักเรียน ตามข้อเรียกร้องของนักเรียน คือ การแต่งกายตามเพศสภาพ ยกเลิกการแต่งเครื่องแบบนักเรียน และเครื่องแบบลูกเสือ ยุวกาชาด เนตรนารี ซึ่งกรณีนี้มี พ.ร.บ.เครื่องแบบนักเรียน พ.ศ.2551 และระเบียบ ศธ.ว่าด้วยเครื่องแบบนักเรียน พ.ศ.2551 กำกับอยู่

คณะกรรมการฯ พิจารณาแล้วเห็นว่า ระเบียบที่มีอยู่มีความยืดหยุ่นและสามารถประยุกต์ใช้ได้ตามความเหมาะสม เพียงแต่บางโรงเรียนอาจยังไม่มีความเข้าใจ

ดังนั้น ที่ประชุมจะเสนอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พิจารณาทำหนังสือซักซ้อมความเข้าใจไปยังโรงเรียนต่าง ๆ ขอให้มีความยืดหยุ่น โดยใช้ข้อ 15 และ 16 คือ

ข้อ 15 กำหนดว่า สถานศึกษาใดจะกำหนดให้นักเรียนแต่งครื่องแบบลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาด นักศึกษาวิชาทหาร หรือแต่งชุดพื้นเมือง ชุดไทย ชุดลำลอง ชุดฝึกงาน ชุดกีฬา ชุดนาฏศิลป์ หรือชุดอื่น ๆ แทนเครื่องแบบนักเรียนตามระเบียบนี้ได้ ในวันใด ให้เป็นไปตามที่สถานศึกษากำหนด โดยคำนึงถึงความประหยัดเหมาะสม

ข้อ 16 ที่กำหนดว่าในกรณีมีเหตุจำเห็นหรือมีเหตุพิเศษ ให้สถานศึกษาพิจารณายกเว้น หรือผ่อนผันการแต่งกายเครื่องแบบนักเรียนได้ตามความเหมาะสม และหากจะออกระเบียบใดเพิ่มเติม ให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากคณะกรรมการสถานศึกษา นักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา และเครือข่ายผู้ปกครองก่อน

ตั้งคณะทำงานพิจารณาอีก 3 ด้านตามข้อเรียกร้อง

ที่ประชุมได้พิจารณาร่างคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานพิจารณาเพิ่มเติม 3 คณะ โดยจะเสนอรายชื่อทั้ง 3 คณะให้ รมว.ศึกษาธิการ พิจารณาลงนามภายในสัปดาห์หน้า ได้แก่

  1. คณะทำงานด้านการละเมิด การกระทำความรุนแรง และความปลอดภัยในสถานศึกษา มีนายสรรพสิทธ์ คุมพ์ประพันธ์ ตัวแทนคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เป็นประธาน และมีผู้แทน สพฐ. เป็นเลขานุการ
    โดยมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
    1) ศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลจากการเปิดรับฟังความคิดเห็นของนักเรียน นักศึกษา ในประเด็นที่เกี่ยวกับการละเมิด การกระทําความรุนแรง และความปลอดภัยในสถานศึกษา
    2) จัดทําข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย และพิจารณาแนวทางในการแก้ปัญหาและช่วยเหลือเยียวยานักเรียน นักศึกษาที่ได้รับผลกระทบจากการละเมิด การกระทําความรุนแรง และการประสบปัญหาด้านความปลอดภัยในสถานศึกษา
    3) ประสานและบูรณาการการดําเนินการร่วมกันระหว่างหน่วยงานและเครือข่ายที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน
    4) จัดทํากระบวนการติดตามและประเมินผล สรุปรายงานเสนอคณะกรรมการพิจารณาข้อร้องเรียนของนักเรียน นักศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
    5) ดําเนินการอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย
  2. คณะทำงานด้านกฎระเบียบที่ล้าหลังของสถานศึกษาที่กระทบต่อนักเรียน นักศึกษา มีนายอำนาจ วิชยานุวัติ เลขาธิการ สกศ. เป็นประธาน และมีผู้แทนปลัด ศธ. เป็นเลขานุการ โดยมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
    1) ศึกษา วิเคราะห์ ข้อมูลจากการเปิดรับฟังความคิดเห็นของนักเรียน นักศึกษา ในประเด็นที่เกี่ยวกับ กฏระเบียบที่ล้าหลังของสถานศึกษาที่กระทบต่อนักเรียน นักศึกษา
    2) จัดทําข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย และพิจารณาแนวทางในการแก้ปัญหาและช่วยเหลือเยียวยานักเรียน นักศึกษา ที่ได้รับผลกระทบจากการกฎระเบียบที่ล้าหลังของสถานศึกษาที่กระทบต่อนักเรียน นักศึกษา
    3) ประสานและบูรณาการการดําเนินการร่วมกันระหว่างหน่วยงานและเครือข่ายที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน
    4) จัดทํากระบวนการติดตามและประเมินผล สรุปรายงานเสนอคณะกรรมการพิจารณาข้อร้องเรียนของนักเรียน นักศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
    5) ดําเนินการอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย
  3. คณะทำงานด้านการแสดงออกทางการเมืองของนักเรียนในสถานศึกษา โดยนายวิริยะ ฤาชัยพาณิชย์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เป็นประธาน โดยนายสุเทพ แก่งสันเทียะ เลขาธิการ กอศ. เป็นเลขานุการ โดยมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
    1) ศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลจากการเปิดรับฟังความคิดเห็นของนักเรียน นักศึกษา ในประเด็นที่เกี่ยวกับการแสดงออกทางการเมืองในสถานศึกษา 2) จัดทําข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย และพิจารณาแนวทางในการแก้ปัญหาและช่วยเหลือเยียวยานักเรียนนักศึกษา ที่ได้รับผลกระทบจากการแสดงออกทางการเมืองในสถานศึกษา
    3) ประสานและบูรณาการการดําเนินการร่วมกันระหว่างหน่วยงานและเครือข่ายที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน
    4) จัดทํากระบวนการติดตามและประเมินผล สรุปรายงานเสนอคณะกรรมการพิจารณาข้อร้องเรียนของนักเรียน นักศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
    5) ดําเนินการอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย

นายวีระ แข็งกสิการ รองปลัด ศธ. กล่าวเพิ่มเติมว่า การประชุมในครั้งนี้ มีผู้มีส่วนร่วมจำนวนมาก และมีการถ่ายทอดสดทางเฟซบุ๊ก “ศธ.360 องศา” ซึ่งเป็นการประชุมระบบเปิด ถือเป็นมิติใหม่ของการทำงานโดยการนำของ ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวาณิชย์ เพราะ ศธ.ได้เปิดรับความคิดเห็นที่แตกต่างอย่างสร้างสรรค์ โดยอิงจากมติตัวแทนครู นักเรียน ผู้ปกครอง ผู้บริหารโรงเรียน และผู้ทรงคุณวุฒิ เชื่อว่าจะเป็นผลดีต่อสังคม ตลอดจนสร้างความน่าเชื่อถือให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องต่อไป

ขอบคุณที่มา : เว็บไซต์ ศธ 360 องศา วันที่ 6 พฤศจิกายน 2563

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่