คุณหญิงกัลยา แนะปรับเปลี่ยนให้ทัน...นำมาสู่แนวทางการปฏิรูปการศึกษาปีที่ 2
คุณหญิงกัลยา แนะปรับเปลี่ยนให้ทัน...นำมาสู่แนวทางการปฏิรูปการศึกษาปีที่ 2 "ทันสมัย เท่าเทียม ยั่งยืน"

คุณหญิงกัลยา แนะปรับเปลี่ยนให้ทัน…นำมาสู่แนวทางการปฏิรูปการศึกษาปีที่ 2 “ทันสมัย เท่าเทียม ยั่งยืน” เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2563 คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช แนะแนวทางการปฏิรูปการศึกษาปีที่ 2 “ทันสมัย เท่าเทียม ยั่งยืน” ผ่านเฟสบุ้ค คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รายละเอียดดังนี้

คุณหญิงกัลยา แนะปรับเปลี่ยนให้ทัน...นำมาสู่แนวทางการปฏิรูปการศึกษาปีที่ 2 "ทันสมัย เท่าเทียม ยั่งยืน"
คุณหญิงกัลยา แนะปรับเปลี่ยนให้ทัน…นำมาสู่แนวทางการปฏิรูปการศึกษาปีที่ 2 “ทันสมัย เท่าเทียม ยั่งยืน”

สวัสดีค่ะ อย่างที่ทุกคนทราบกันดีว่าโลกเรากำลังเผชิญความท้าทายกับการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ จากสถานการณ์โควิด-19 วงการการศึกษาเองก็ต้องปรับเปลี่ยนให้ทัน…นำมาสู่แนวทางการปฏิรูปการศึกษาปีที่ 2 ที่ดิฉันอยากเล่าให้ฟังในวันนี้ค่ะ

ก่อนอื่นต้องเท้าความก่อนว่าการทำงานในวงการการศึกษา คือสิ่งที่ดิฉันตั้งใจมาตั้งแต่เด็กๆ จำได้ว่าสมัยนั้นกว่าดิฉันจะได้เข้าโรงเรียนก็ ป.1 แล้ว ตอนนั้นไม่มีอนุบาล โรงเรียนที่เรียนก็เป็นโรงเรียนวัด หมายถึง นั่งเรียนกันในวัดจริงๆ คนสมัยก่อนไม่ได้ให้ความสำคัญกับการศึกษากันสักเท่าไหร่ โชคดีค่ะที่คุณแม่ให้ความสำคัญกับการศึกษามาก ลูกทั้ง 8 คนต้องได้เรียนหนังสือ พอถึงม.ปลาย ดิฉันสอบเข้าโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาได้ เรียนไปได้ไม่นานก็มาถึงการสอบครั้งแรก จำได้ว่าตอนนั้นสอบได้ 83% เสียใจมาก เพราะคะแนนห่างจากที่ 1 ลิบลิ่ว เพราะตอนเรียนที่บ้านนอกก็ไม่เคยได้เกินกว่าที่ 3 เหตุการณ์นั้นเลยทำให้เรารู้สึกได้ถึงความแตกต่างระหว่างเด็กในเมืองกับเด็กชนบท และนั่นก็คือสิ่งที่จุดประกายให้เราอยากพัฒนาด้านการศึกษา จากนั้นก็ทำงานเกี่ยวข้องกับวงการการศึกษามาตลอด ตั้งแต่เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย จนมาถึงรมช.กระทรวงศึกษาอย่างที่ทุกคนทราบในวันนี้

และเมื่อมีโอกาสได้พัฒนาการศึกษาไทยอย่างเต็มตัว ดิฉันมีเป้าหมายที่ตั้งใจไว้ว่าจะพัฒนาให้การศึกษาไทย ให้มีความพร้อมเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 ให้ได้…จากปีแรกที่พยายามผลักดันนโยบายโค้ดดิ้ง พัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อาชีวะเกษตร และการเรียนประวัติศาสตร์ผ่านสื่อร่วมสมัย มาในปีที่ 2 ท่ามกลางสถานการณ์แบบนี้ เราต้องให้ความสำคัญกับการออกแบบระบบการศึกษาที่มีคุณภาพ เน้นการสร้างพื้นฐานที่มั่นคง ให้พวกเขาสามารถบูรณาการเพื่อเป็นทุนสำหรับการเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต ภายใต้แนวทาง

“ทันสมัย เท่าเทียม ยั่งยืน” คือแนวทางที่จะพาการศึกษาไทยให้พร้อมเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 ค่ะ

“ทันสมัย” เด็กไทยต้องได้เรียนโค้ดดิ้ง เป็นทักษะการเขียนภาษาคอมพิวเตอร์ที่จะช่วยสร้างตรรกะและแก้ปัญหาได้อย่างเป็นขั้นเป็นตอนมากขึ้น โดยมีการออกแบบหลักสูตรร่วมกับสสวท. และจัดอบรมครูออนไลน์ ตอนนี้มีครูที่สนใจลงทะเบียนเข้าร่วมอบรมกว่า 2 แสนคนแล้ว ซึ่งเป็นเรื่องที่น่ายินดีมาก

“เท่าเทียม” คือต้องพัฒนาไปด้วยกัน ต้องไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง เด็กพิการและเด็กด้อยโอกาสต้องได้เรียนรู้อย่างเท่าเทียม พวกเขาต้องได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีกองทุนส่งเสริมและพัฒนา ให้พวกเขาสามารถพึ่งตนเองได้ และอยู่ในสังคมอย่างภาคภูมิใจ

“ยั่งยืน” เป็นการยกระดับวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี ให้เป็นแหล่งเรียนรู้และถ่ายทอดทางเทคโนโลยีนวัตกรรมการเกษตร (Digital Agri College) เพื่อสร้างผู้ประกอบการยุคใหม่ โดยนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม มาใช้ในกระบวนการการเรียนการสอน รวมถึงการเดินหน้าโครงการบริหารจัดการน้ำโดยชุมชน ตามแนวพระราชดำริ สร้างบุคลากรทางการเกษตร ผ่านหลักสูตร “ชลกร” โดยมีเป้าหมายที่สำคัญ คือ การช่วยเหลือเกษตรกรให้มีน้ำกิน น้ำใช้ และแก้ปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืน

ทั้งหมดนี้ ถ้าเราผลักดันได้อย่างต่อเนื่อง ใช้กลไกของสภาการศึกษา (สกศ.) เป็นฟันเฟืองในการขับเคลื่อน ก็สามารถบรรลุตามเป้าหมายได้ไม่ยาก ส่วนดิฉัน…พร้อมเสมอที่จะทุ่มเททำงานด้วยความตั้งใจไปกับทุกภาคส่วน เพื่อพัฒนาการศึกษาไทยให้ก้าวหน้า ลดความเหลื่อมล้ำ และทำให้ทัดเทียมกับนานาชาติ พร้อมที่จะก้าวเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 ไปด้วยกันค่ะ

ขอบคุณที่มา : เฟสบุ้ค คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่