โครงการยกระดับคุณภาพโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัด สพฐ.
โครงการยกระดับคุณภาพโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัด สพฐ.

โครงการยกระดับคุณภาพโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัด สพฐ. โดย ดร.ภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผอ.สนก.

ที่มาและความสำคัญ

เนื่องจากในปัจจุบัน มีอัตราการเกิดลดลงส่งผลให้จำนวนโรงเรียนขนาดเล็กมีจำนวนมาก สพฐ. มีโรงเรียนขนาดเล็กในสังกัด 14,777 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 50.18 ของโรงเรียนในสังกัดทั้งหมด ซึ่งมีจำนวน 29,449 แห่ง ข้อมูล ณ วันที่ 10 มิ.ย. 2565

โครงการยกระดับคุณภาพโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัด สพฐ.
โครงการยกระดับคุณภาพโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัด สพฐ.

การบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กในปัจจุบัน

สพฐ.ได้กำหนดนโยบาย แนวทาง มาตรการการดำเนินงาน และพัฒนาคุณภาพการศึกษา ตลอดจนรูปแบบ การใช้ทรัพยากรร่วมกัน ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดผลการปฏิบัติงานในระดับพื้นที่อย่างจริง จึงยึดหลักการกระจายอำนาจ การจารณาและการตัดสินใจอยู่ในระดับพื้นที่เป็นสำคัญ โดยดำเนินการตามความพร้อมอย่างค่อยเป็นค่อยไป ดังนี้

01 กำหนดรูปแบบบริหารโรงเรียนขนาดเล็ก

02 การส่งเสริมการเรียนรวมของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

03 สนับสนุนการจัดการเรียนการสอนรูปแบบต่างๆ

โครงการยกระดับคุณภาพโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัด สพฐ. 10

กำหนดรูปแบบบริหารโรงเรียนขนาดเล็ก

เป็นการบริหารโรงเรียนที่มีจำนวนนักเรียนต่ำกว่า 120 คน และมีแนวโน้มว่า จำนวนนักเรียนในโรงเรียนขนาดเล็กนี้ จะลดจำนวนลงไปเรื่อยๆ

1.1 โรงเรียนขนาดเล็กที่มีความเหมาะสมในการรวมโรงเรียน คือ โรงเรียนขนาดเล็กที่มีจำนวนนักเรียนลดลงเรื่อย ๆ เนื่องจากอัตราการเกิดลดลง หรืออัตราการเคลื่อน
ย้ายของประชาชนวัยเจริญพันธุ์ จากชนบทสู่ชุมชนเมืองหรือมีเด็กวัยเรียนแต่ผู้ปกครองในท้องถิ่นนิยมส่งบุตรหลานไปเรียนในโรงเรียนอื่น ๆ

1.2 โรงเรียนขนาดเล็กที่ไม่สามารถรวมโรงเรียนได้ คือ โรงเรียนขนาดเล็กที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ห่างไกลไม่มีหน่วยงานอื่นจัดบริการการศึกษาในพื้นที่หรือเป็นสถานศึกษาที่มีวัตถุประสงค์พิเศษตามที่ สพฐ. ประกาศกำหนด

โครงการยกระดับคุณภาพโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัด สพฐ. 11

การส่งเสริมการรวมสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้ส่งเสริมให้โรงเรียนขนาดเล็กจัดการเรียนการสอนแบบเรียนรวม โดยมีรูปแบบ เรียนรวมทุกชั้น และเรียนรวมบางชั้น ซึ่งได้มีการสนับสนุนค่าพาหนะรับ-ส่งนักเรียน ดังนี้

1.จัดสรรให้กับนักเรียนทุกคนที่เดินทางมาเรียนรวมกับโรงเรียนหลัก

จัดสรรงบประมาณค่าพาหนะรับ-ส่ง นักเรียนตามระยะทาง จากโรงเรียนมารวมถึงโรงเรียนหลัก โดยจัดสรร ดังนี้

  • ระยะทางไม่เกิน 3 กิโลเมตร คนละ 10 บาท ต่อวัน
  • ระยะทาง 3-10 กิโลเมตร คนละ 15 บาทต่อวัน
  • ระยะทางมากกว่า 10 กิโลเมตร คนละ 20 บาทต่อวัน

จัดสรรค่าบริหารจัดการรถรับ-ส่งนักเรียน เป็นรถกระบะและรถตู้(12 ที่นั่ง) คันละ 150,000 บาทต่อปีการศึกษา เพื่อเคลื่อนย้ายนักเรียนไปเรียนรวม

2. กรณีนักเรียนมาเรียนรวมบางชั้น ตามแผนการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จัดสรรให้ตามที่เสนอขอ
แต่ไม่เกิน 2 ปีการศึกษา

3. นักเรียนที่เข้าใหม่ในปีการศึกษาต่อ ๆ มาที่มีอายุเข้าเกณฑ์ระดับปฐมวัยและเข้าเกณฑ์การศึกษาภาคบังคับ และมีชื่อในทะเบียนบ้านในเขตบริการของ
โรงเรียนมารวมให้ได้รับค่าพาหนะจนจบการศึกษาขั้นสูงสุดของโรงเรียนหลัก

โครงการยกระดับคุณภาพโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัด สพฐ. 12

สนับสนุนการจัดการเรียนการสอนรูปแบบต่าง ๆ

สพฐ. ได้สนับสนุนงบประมาณสำหรับการจัดการเรียนสอนคละชั้น การจัดสรรสื่อการเรียนการสอนเพื่อสนับสนุนการทำงานของครู่ และการจัดสรร DLTV, DLIT, สื่อ 60 พรรษาสมเด็จพระเทพรัตน ราชสุดาสยามบรมราชกุมารีฯ ให้กับโรงเรี่ยนขนาดเล็ก เพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนของครูให้มีคุณภาพและสามารถพัฒนาตนเองได้อย่างต่อเนื่อง

โครงการยกระดับคุณภาพโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัด สพฐ. 13

ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรร่วมกันกับภาคส่วนต่าง ๆ

สพฐ. ได้ประสานกับหน่วยงานสังกัดอื่น เพื่อประชาสัมพันธ์ให้มาใช้ประโยชน์โรงเรียนขนาดเล็กที่ไม่มีนักเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้ตามความต้องการของชุมชน เช่น กศน. อปท. ฯลฯ

นอกจากนี้ สพฐ. ยังได้พัฒนาฐานข้อมูลที่เป็นปัจจุบันและครบถ้วนรอบด้านของโรงเรียนขนาดเล็กเพื่อใช้เป็นข้อมูลการกำหนดนโยบาย เป้าหมาย การดำเนินการการบริหารจัดการ การแก้ปัญหาและการจัดทรัพยากรสนับสนุนที่เหมาะสม ครอบคลุม และเพียงพอ

โครงการยกระดับคุณภาพโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัด สพฐ. 14

โรงเรียนที่มีการเรียนรวมในปัจจุบัน

โครงการยกระดับคุณภาพโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัด สพฐ. 15

ข้อมูลจำนวนนักเรียนที่รับการจัดสรรค่าพาหนะรับ – ส่งนักเรียน

โครงการยกระดับคุณภาพโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัด สพฐ. 16

ผลจัดสรค่าพาหนะรับ-ส่งนักเรียน ภาคเรียนที่ 2/2564

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
เพื่อสนับสนุนค่าพาหนะรับ – ส่งนักเรียน กรณีรวมและเลิกสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ภาคเรียนที่ 2/2564 ดังนี้

โครงการยกระดับคุณภาพโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัด สพฐ. 17

ขอบคุณที่มา : โดยศูนย์ขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล
สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา | การบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก,โรงเรียนคุณภาพ 4 ภูมิภาค โดย ดร.ภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผอ.สนก. – YouTube

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่