ไขข้อข้องใจเกี่ยวกับการพัฒนา (ร่าง) กรอบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ไขข้อข้องใจเกี่ยวกับการพัฒนา (ร่าง) กรอบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ไขข้อข้องใจเกี่ยวกับการพัฒนา (ร่าง) กรอบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน หลักสูตรฐานสมรรถนะ

หลังจากมีการสื่อสารออกไปว่าสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กระทรวงศึกษาธิการกำลังพัฒนา (ร่าง) กรอบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้ นฐาน พุทธศักราช และเผยแพร่ในเว็บเพจ https://cbethailand.com/ ทำให้หลายท่านมีข้อสงสัย จึงขอตอบคำถาม ดังนี้

ศธ.เปิดตัวเว็บไซต์ CBE Thailand ศูนย์รวมข้อมูลหลักสูตรฐานสมรรถนะ
ศธ.เปิดตัวเว็บไซต์ CBE Thailand ศูนย์รวมข้อมูลหลักสูตรฐานสมรรถนะ

๑. เหตุผลการพัฒนาหลักสูตร

แนวคำตอบ

๑) ความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการด้านต่าง ๆ ของโลกในปัจจุบัน โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงความรู้และเทคโนโลยีอย่างก้าวกระโดด ที่นำไปสู่การเป็นสังคมดิจิทัลอย่างรวดเร็ว การเปลี่ยนแปลงทางสังคม วัฒนธรรม และเศรษฐกิจที่กระทบวิถีชีวิตของผู้คนอย่างไม่หยุดยั้ง ซึ่งเห็นได้อย่างชัดเจน จากการเกิดปรากฏการณ์ ภาวะการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาอย่างรุนแรงทั่วโลก

๒) กฎหมายและแผนแม่บท เช่น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติแผนการศึกษาชาติ แผนปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา (ฉบับแรก) กำหนดให้การจัดการศึกษาต้องพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้มีคุณภาพ มีศักยภาพ เพื่อนำพาประเทศให้เจริญก้าวหน้า บนฐานของความเป็นไทย

๓) ผลจากการทดสอบนานาชาติ เป็นส่วนหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา ยังไม่สะท้อนถึงศักยภาพของผู้เรียนที่สามารถออกไปสู่สังคมและโลกของการทำงานในอนาคตได้อย่างชัดเจน

๔) ผลจากการติดตามการใช้หลักสูตรฉบับปัจจุบัน พบว่า ชั้น ป.๑ – ป.๓ เรียนมากเกินไป ควรเป็นช่วงวัยที่ปูพื้นฐานในการสร้างเครื่องมือการเรียนรู้ให้เข้มแข็ง ให้อ่านออก เขียนได้ คิดคำนวณได้ นอกจากนั้น มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดที่มีจำนวนมาก ส่งผลให้การสอนและการวัดและประมินผลเน้นที่เนื้อหา มีเวลาในการฝึกปฏิบัติได้น้อย

๕) หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ ที่ใช้ในปัจจุบัน แม้ว่าจะมีการปรับปรุงมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดของกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และคณิตศาสตร์ในปี พ.ศ. ๒๕๖๐ แต่ในภาพรวมหลักสูตรใช้มา ๑๓ ปีแล้ว

จากเหตุผลดังกล่าว จึงเป็นความสำคัญจำเป็นที่จะต้องทบทวนและปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาของชาติซึ่งเป็นพิมพ์เขียวและกลกสำคัญในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของประเทศ ให้สอดรับกับความก้าวหน้าทางวิทยาการและการเปลี่ยนแปลงทุกด้าน เพื่อสร้างคนไทยให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ มีความสามารถและศักยภาพในการดำรงชีวิต ปรับตนให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง พร้อมที่จะแข่งขันและร่วมมืออย่างสร้างสรรค์ในเวทีโลก

๒. ความหมายของคำว่า “สมรรถนะ”

แนวคำตอบ

สมรรถะ หมายถึง การแสดงพฤติกรรมในการนำความรู้ (Knowledge: K) ทักษะ (Skill: S) และคุณลักษณะ (Attribute: A) ไปใช้อย่างกลมกลืนในการทำงานจนประสบความสำเร็จ ดังนั้น ผู้เรียนจะได้รับการพัฒนาให้มีความรู้ ฝึกทักษะจนชำนาญ บ่มเพาะลักษณะนิสัยและเจตคติที่ดีแล้วเปิดโอกาสให้ได้นำไปใช้ในการทำงาน ที่มีสถานการณ์ใกล้เคียงกับความเป็นจริง เมื่อฝึกทำอย่างสม่ำเสมอจะทำให้มีสมรรถนะติดตัวไป

ทำความรู้จัก สมรรถนะหลัก (Core Competencies) 6 ด้าน ในหลักสูตรฐานสมรรถนะ
ทำความรู้จัก สมรรถนะหลัก (Core Competencies) 6 ด้าน ในหลักสูตรฐานสมรรถนะ – ครูอาชีพดอทคอม (kruachieve.com)

๓. ความแตกต่างของหลักสูตรอิงมาตรฐาน กับ หลักสูตรฐานสมรรถนะ

แนวคำตอบ

หลักสูตรที่ใช้ในปัจจุบันคือ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาชั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ เป็นหลักสูตรที่ออกแบบโดยใช้แนวคิดการศึกษาอิงมาตรฐาน (Standard – based Curriculum) หลักสูตรที่กำลังพัฒนา คือ (ร่าง) กรอบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช…. ออกแบบโดยใช้แนวคิดการศึกษาฐานสมารถนะ (Competency – based Curriculum) แนวคิดการศึกษาทั้ง ๒ ลักษณะ เน้นผลลัพธ์การเรียนรู้เหมือนกัน ต่างกันตรงที่แนคิด หลักสูตรอิงมาตรฐาน มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคนให้รู้และทำได้ อย่างน้อยตามที่มาตรฐานกำหนด ส่วนหลักสูตรฐานสมรรถนะ ต่อยอด โดยมุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคนให้รู้ ทำได้ และนำไปใช้ประโยชน์ได้ อย่างมีมาตรฐาน ผู้เรียนจะได้รับ
การบ่มเพาะ และพัฒน ให้มีสมรรถนะหลักที่สำคัญจำเป็นในการใช้ชีวิต และการทำงาน

๔. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ กับสมรรถนะ ๕ ประการ

แนวคำตอบ

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ มีสมรรถนะ ๕ ประการ ได้แก่

๑. ความสามารถในการสื่อสาร . ความสามารถในการคิด ๓. ความสามารถในการแก้ปัญหา ๔. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต ๕.ความสามารถในการใช้ทคโนโลยี ซึ่งออกแบบให้หลอมรวมอยู่ในตัวชี้วัดของทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ การจัดการเรียนรู้มุ่งให้ผู้เรียนมีความรู้ และฝึกปฏิบัติให้บรรลุตัวชี้วัด

ดังนั้น หลักสูตรฉบับปัจจุบันก็สามารถทำให้ผู้เรียนเกิดสมรรถะได้เช่นกัน หากแต่การออกแบบหลักสูตรไม่ได้มุ่งเน้นที่สมรรถะเป็นสำคัญ ทำให้การสอนตามตัวชี้วัดผู้เรียนจะได้ความรู้ มีทักษะ และคุณลักษณะแต่นำไปใช้ได้ไม่เท่าที่ควร จึงเป็นการเรียนเพื่อสอบ

๕. บทบาทของคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) ในการจัดทำหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน

แนวคำตอบ

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๔๕ กำหนดหน้าที่ของคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ) ไว้ในมาตรา ๒๗ ให้คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้ นฐานกำหนดหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้ นฐานเพื่อความเป็นไทย ความเป็นพลเมืองที่ดีของชาติ การดำรงชีวิต และการประกอบอาชีพ ตลอดจนเพื่อการศึกษาต่อ มาตรา ๓๔ คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีหน้าที่พิจารณาเสนอนโยบาย แผนพัฒนามาตรฐาน และหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และแผนการศึกษาแห่งชาติ การสนับสนุนทรัพยากร การติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานจากแผนปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา ฉบับแรก กพฐ. ดำเนินการ ดังนี้

๑) กพฐ. มีคำสั่งคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ ๕/๒๕๖๒ ลงวันที่ ๒๔ ตุลาคม ๒๕๖๒ เรื่อง แต่งตั้งคณะอนุกรรมการยกร่างแนวทางการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อนำเสนอกรอบแนวคิดและแนวทางการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อเสริมสร้างสมรรถะผู้เรียนให้เหมาะสมกับแต่ละระดับ หรือแต่ละช่วงวัย และสอดคล้องกับแผนปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา ฉบับแรก

๒) เมื่อ กพฐ. เห็นชอบกรอบแนวคิด ตามที่คณะอนุกรรมการฯ นำเสนอแล้ว จึงได้ใช้กลไก สพฐ.ในการดำเนินงาน โดยมอบให้ สฐ. ไปดำเนินการจัดทำหลักสูตตามกรอบแนวคิดและแนวทางที่ได้อนุมัติไว้ตามกระบวนการพัฒนาหลักสูตร และนำเสนอต่อ กพฐ. เพื่อทราบความก้าวหน้าและให้ข้อเสนอแนะเป็นระยะ ๆ ซึ่งมีคณะกรรมการและอนุกรรมการชุดต่าง ๆ ดำเนินการจัดทำหลักสูตร และมีข้าราชการของ สพฐ. ทำหน้าที่เป็น
ฝ่ายเลขานุการ โดยมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการและอนุกรรมการดังนี้

– คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการและอนุกรรมการ ในสมัย นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
– คำสั่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ ๙๖๓/๒๕๖๓ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ชุดที่ ๑ ประกอบด้วย ๑) คณะที่ปรึกษา ๒) คณะกรรมการกำกับทิศ ๓) คณะกรรมการสร้างความสอดคล้องเชิงนโยบาย ๔) คณะกรรมการด้านพัฒนาสมรรถะและขอบข่ายการเรียนรู้ ๕) คณะกรรมการด้านพัฒนระบบการวัดและประเมินผล และ ๖) คณะกรรมการสื่อสารและการมีส่วนร่วม
– คำสั่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ ๕๔๑/๒๕๖๓ เรื่อง แต่งตั้งคณะทำงานยกร่างสาระสำคัญของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
– คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการและอนุกรรมการ ในสมัย นางสาวตรีนุช เทียนทอง เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
-คำสั่งกระทรวงศึกษาธิการ ที่ สพฐ ๗๙๔/๒๕๖๔ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำและพัฒนา (ร่าง) หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช…..หลักสูตรฐานสมรรถนะ)
– คำสั่งกระทรวงศึกษาธิการ ที่ สพฐ ๔๕๖/๒๕๖๔ เรื่อง แต่งตั้งคณะอนุกรรมการจัดทำและพัฒนา (ร่าง) กรอบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน (หลักสูตรฐานสมรรถณะ) ประกอบด้วย ๑) คณะอนุกรรมการที่ปรึกษา ๒) คณะอนุกรรมการพัฒนา (ร่าง) กรอบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ๓) คณะอนุกรรมการสื่อสารและการมีส่วนร่วม และ ๔) คณะอนุกรรมการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา

๖. ความก้าวหน้าในการพัฒนา (ร่าง) กรอบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ….

แนวคำตอบ

การพัฒนาหลักสูตรครั้งนี้ ได้ดำเนินการแล้วเสร็จในระดับประถมศึกษา ตามกระบวนการ ดังนี้
๑. ศึกษาวิจัยการจัดการศึกษาฐานสมรรถนะของนานาชาติ
๒. ได้รับการหนุนเสริมองค์ความรู้การพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะ การพัฒนาครู และการวัดและประเมินผลฐานสมรรถนะ จากองค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (Organisation for Economic Co-operation and Development: OECD) ในโครงการ Developing Teaching and Learning ภายใต้บันทึกความเข้าใจเกี่ยวกับ Country Programme ระหว่างรัฐบาลไทย โดยสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กับ OECD
๓. แต่งตั้งคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการ ที่มาจาก อาจารย์มหาวิทยาลัย นักวิชาการ ผู้บริหารโรงเรียนครูผู้สอน และภาคเอกชน เพื่อดำเนินการยกร่างตามกรอบแนวคิดและแนวทางที่ กพฐ. ได้อนุมัติไว้
๔. รับฟังความคิดเห็นและมุมมอง ในความคาดหวังที่มีต่อหลักสูตรและข้อเสนอแนะในการพัฒนาหลักสูตรโดยการจัดเวทีเสวนากับกลุ่มบุคคลต่าง ๆ ทั้งผู้เรียน ผู้ใช้หลักสูตร ผู้ผลิตครู และผู้รับผลผลิตจากผู้จบหลักสูตร
๕. ยกร่างกรอบหลักสูตรฯ และคู่มือการใช้กรอบหลักสูตรฯ ช่วงชั้นที่ ๑ (ป.๑ – ป.๓ ) และช่วงชั้นที่ ๒ (ป.๔ – ป.๖ )
๖. ทดลองใช้สมรรถนะกับครูจำนวนหนึ่งในระหว่างการพัฒนา แล้วนำมาปรับปรุง
๗. ประชุมวิพากษ์สาระการเรียนรู้ ของ (ร่าง) กรอบหลักสูตรฯ และคู่มือการใช้กรอบหลักสูตรฯ แล้วนำมา
ปรับปรุง แก้ไข ให้มีความสมบูรณ์
๘. มีการตรวจสอบความสอดคล้องตามช่วงวัยและความร้อยรัดของศาสตร์ที่เชื่อมโยงกัน
๙. เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ และสร้างความเข้าใจแนวคิดการศึกษาฐานสมรรถะ และนำเสนอ (ร่าง) กรอบหลักสูตรฯ และคู่มือการใช้กรอบหลักสูตรฯ ใน www.CBEthailand.com เพื่อรับฟังความคิดเห็นอีกช่องทางหนึ่ง

องค์ประกอบของ (ร่าง) กรอบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช …. มีดังนี้

๑. แนวคิดพื้นฐานของการพัฒนาหลักสูตร
๒. วิสัยทัศน์
๓. หลักการของหลักสูตร
๔. จุดหมายของหลักสูตร
๕. คุณลักษณะอันพึงประสงค์
๖. สมรรถนะหลักหรือสมรรถนะทั่วไป (Core competency /Generic competency) (ประกอบด้วย
ความรู้ที่ไม่เฉพาะเจาะจงศาสตร์ใดศาสตร์หนึ่ง ทักษะ คุณลักษณะ และเจตคติ) ๖ ประการ ได้แก่ ๑) การจัดการตนเอง ๒) การคิดขั้นสูง ๓) การสื่อสาร ๔) การรวมพลังทำงานเป็นทีม ๕) การเป็นผลเมืองที่เข้มแข็ง และ ๖) การอยู่ร่วมกับธรรมชาติและวิทยาการอย่างยั่งยืน ซึ่งแต่ละสมรรถะจะมีระดับความสามารถพร้อมทั้งคำอธิบายระดับ และ
พฤติกรรมบ่งชี้ ๑๐ ระดับ
๗. กลุ่มสาระการเรียนรู้ มีองค์ประกอบสำคัญ คือ ผลลัพธ์การเรียนรู้เชิงสมรรถะ ซึ่งได้จากการผสมผสานระหว่างสมรรถนะหลักหรือสมรรถนะทั่ วไป ๖ ประการ กับศาสตร์พื้นฐานของกลุ่มสาระการเรียนรู้ในลักษณะของสมรรถนะเฉพาะ (Specific competency) (ประกอบด้วยความรู้ ทักษะ คุณลักษณะ และเจตคติ เฉพาะศาสตร์) ซึ่งประกอบด้วย สมรรถะเฉพาะ ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถะหลักกับกลุ่มสาระการเรียนรู้
๘. โครงสร้างเวลาเรียน
๙. แนวทางการบริหารจัดการหลักสูตร
๑๐. แนวทางการจัดการเรียนรู้ และการประเมินการเรียนรู้ ขณะนี้ได้ดำเนินการครบทุกองค์ประกอบแล้ว ตามกระบวนการข้างต้น แต่การจะนำไปใช้กับโรงเรียนทั่วประเทศนั้น ยังต้องผ่านกระบวนการทดลองใช้ การประชาพิจารณ์หลักสูตร และผ่านความเห็นชอบของ กพฐ. จึงจะสามารถสนอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการพิจารณาลงนามประกาศใช้ได้

๗. การทดลองใช้ (ร่าง) กรอบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ….

แนวคำตอบ

เนื่องจากมี พ.ร.บ. พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๒ มาตรา ๒๐ (๔) มาตรา ๒๕ ที่เปิดโอกาสให้สถานศึกษามีอิสระในการพัฒนาหลักสูตร เพื่อตอบโจทย์ความท้าทายของโลกในปัจจุบัน ความต้องการของประเทศและความต้องการของชุมชนท้องถิ่น โดยอาจจะใช้หรือไม่ใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นกรอบในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาก็ได้ และมติคณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา เมื่อวันที่ ๒๑ กันยายน ๒๕๖๓ เห็นชอบให้สถานศึกษานำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา สามารถประยุกต์ใช้แนวคิด หลักการของหลักสูตรฐานสมรรถนะ หรือใช้นวัตกรรมหรือแนวคิดใหม่ ๆ ไปทดลองพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาของตนเองได้ในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ตามมาตรา ๒๖ สถานศึกษาหรือคณะกรรมการขับเคลื่อนของจังหวัด ต้องจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากผู้เรียน ผู้ปกครอง ครูและบุคลากรทางการศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้แทนภาคเอกชน และผู้แทนภาคประชาสังคม รวมถึงการผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัด ชีงออกแบบเดยใช้แนวคิดการศึกษาฐาบสบรรถนะ ไปพคองใช้ในโรงเรีบนนำร้องชั้นที่นรัดกรรมบการศึกษา โดยดังนั้น อาศัยความเป็นอิสระข้างต้น จึงจะนำ (ร่าง) กรอบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ความสมัครใจของโรงเรียน และดำเนินการตามขั้นตอนที่ พ.ร.บ. กำหนด เพื่อให้การทดลอง สามารถนำผลมาใช้ในการปรับ (ร่าง) กรอบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช …. และได้แนวทางการบริหารจัดการหลักสูตรที่มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับบริบทที่หลากหลาย โรงเรียนที่สมัครเป็นโรงเรียนทดลอง จะต้องนำ (ร่าง) กรอบหลักสูตรการศึกษาชั้นพื้นฐาน พุทธศักรช….. ทั้งฉบับ และการบริหารจัดการหลักสูตร ไปใช้ในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา โดย สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สพฐ. จะได้หนุนเสริมทั้งการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา การบริหารจัดการหลักสูตร การจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ และการวัดและประเมินผลฐานสมรรถนะ ดาวน์โหลด (ร่าง) กรอบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช …. ร่างหลักสูตรฐานสมรรถนะ ฉบับเต็ม วันที่ 24 ก.พ. 65

๘. การเตรียมความพร้อมให้แก่ครูสำหรับโรงเรียนทั่วไปในการใช้ (ร่าง) กรอบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช…

แนวคำตอบ

กระทรวงศึกษาธิการตระหนักดีว่าการเปลี่ยนแปลงจำเป็นต้องใช้เวลาในการสร้างความเข้าใจต่อทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง และสร้างความพร้อมให้ครูผู้สอน จึงดำเนินการตามแผนปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา ฉบับปรับปรุง โดยการพัฒนาการเรียนรู้ให้ผู้เรียนมีสมรรถนะตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ ดังนี้

๑. นิเทศการสอน สะท้อนคิด หนุนเสริม เพื่อสร้างความมั่นใจให้ครูที่จัดการเรียนรู้แบบ Active Learning อยู่แล้ว สามารถพัฒนาต่อยอดให้ผู้เรียนมีสมรรถนะตามหลักสูตรกำหนด
๒.จัดทำคู่มือแนวทางการจัดการเรียนรู้และการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ ให้ครูได้ศึกษาจากแนวทางและตัวอย่าง แล้วนำไปออกแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยตนเอง
๓. พัฒนาครูผู้สอนให้สามารถจัดการเรียนรู้สู่การพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพจึงได้ดำเนินการพัฒนาครูด้านกระบวนการจัดการเรียนรู้ในรูปแบบ Active Learning เพื่อให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริงเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองและนำไปสู่การพัฒนาสมรรถะผู้เรียนในที่สุด โดยแบ่งกิจกรรมการพัฒนาครูออกเป็น

(๑) การพัฒนากระบวนการ Active Learning ทั้งโรงเรียน ด้วย GPAS 5 Steps
(๒) การพัฒนาครูเพื่อจัดการเรียนการสอน Active Learning แบบเฉพาะศาสตร์
(๓) การพัฒนาครูเพื่อจัดการเรียนการสอน Active Learning แบบพื้นฐาน Fundamental Approach และนอกจากจะพัฒนาครูในด้านกระบวนการจัดการเรียนรู้ในรูปแบบ Active Learning แล้ว ยังได้ ๓ รูปแบบ ได้แก่

ดำเนินการพัฒนาครูด้านกรวัดและประเมินผลการเรียนรู้โดยอิงสมรรถะ เพื่อให้ครูวัดผลและประเมินผลสมรรถนะของผู้เรียนได้ตรงตามเป้าหมายที่กำหนด สำหรับการดำเนินการในระยะต่อไป สพฐ. ได้วางแผนการดำเนินงานขับเคลื่อนการจัดการเรียนการสอน Active Learning แบบบูรณาการแหล่งเรียนรู้ทั่วประเทศ ด้วยเครือข่ายศึกษานิเทศก์ และผู้บริหารสถานศึกษา (ผู้บริหารหนุนเสริม) เพื่อส่งเสริมให้เกิดการใช้ทรัพยากรในการพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

บทความที่เกี่ยวข้อง

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่