สรุปวิธีการใช้งานสำหรับผู้รับแจ้งเหตุในระบบ MOE Safty Center
สรุปวิธีการใช้งานสำหรับผู้รับแจ้งเหตุในระบบ MOE Safty Center

เลือกหัวข้อที่ต้องการอ่านครับ

สรุปวิธีการใช้งานสำหรับผู้รับแจ้งเหตุในระบบ MOE Safety Center

บทความนี้ ครูอาชีพดอทคอม ขอนำเสนอบทความสรุปวิธี การใช้งาน สำหรับผู้รับแจ้งเหตุในระบบ MOE Safty Center ซึ่งมีรายละเอียดค่อนข้างมาก เพื่อความสะดวกสำหรับคุณครู และเจ้าหน้าที่ที่ดูแลระบบ MOE Safty Center ของสถานศึกษาจึงขออธิบายรายละเอียดการใช้งานในด้านต่างๆ ดังต่อไปนี้

moe safety center คืออะไร

ระบบ MOE Safety Center เป็นระบบมาตรฐานความปลอดภัยในสถานศึกษาโดยใช้หลัก Digital Based Management เป็นรูปแบบ วิธีการ หรือกระบวนการในการดูแลช่วยเหลือนักเรียน นักศึกษา ให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ มีความสุข และได้รับการปกป้อง คุ้มครองความปลอดภัยทั้งด้านร่างกายและจิตใจ รวมถึงการเสริมสร้างทักษะให้ผู้เรียนมีความสามารถในการดูแลตนเองจากภัยอันตรายต่างๆ 

การสร้าง Email สำหรับ SC ส่วนกลาง

การสร้างหน่วยงานในระบบ sc.moesafetycenter.com สำหรับฝ่ายผู้รับแจ้งนั้นจำเป็นจะต้องมีบัญชี Email ส่วนกลางของหน่วยงานในการสร้างหน่วยงาน เพื่อความปลอดภัย และสะดวกในการดำเนินงานรับแจ้งเหตุที่เกี่ยวข้องกับสถานศึกษา และเพื่อการเก็บข้อมูล การตรวจสอบข้อมูลที่สะดวก และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ดังนั้นแต่ละหน่วยงานจึงจำเป็นต้องสร้าง Email เพื่อสร้าง Account ของระบบ MOE Safety Center ไปในทิศทางเดียวกัน จึงมีแนวทางในการสร้าง Email ดังนี้

สรุปวิธีการใช้งานสำหรับผู้รับแจ้งเหตุในระบบ MOE Safety Center
สรุปวิธีการใช้งานสำหรับผู้รับแจ้งเหตุในระบบ MOE Safety Center

การสมัครบัญชีสมาชิกเข้าใช้งานระบบ

ก่อนที่จะเริ่มดำเนินการใด ๆ ในระบบได้ ทุกคนต้องทำการสมัครบัญชีสมาชิกให้เรียบร้อยก่อน เป็นการสร้างตัวตนเพื่อใช้ในการแจ้งเหตุหรือรับเรื่องต่าง ๆ ได้ ทั้งนี้การ สร้างบัญชียังช่วยให้เราสามารถติดตามเคสหรือดำเนินการประสานงานส่งต่อเคสต่าง ๆ ในระบบได้อีกด้วย โดยการสมัครบัญชีสมาชิกสามารถทำได้ง่าย ๆ ดังขั้นตอนต่อไปนี้

สรุปวิธีการใช้งานสำหรับผู้รับแจ้งเหตุในระบบ MOE Safety Center

หากเป็นเจ้าหน้าที่ SC Action หรือ Operator ในการสมัครเเละใช้งานให้ใช้ เว็บไซต์ sc.moesafetycenter.com เเต่ก่อนจะสมัครต้องถูกการเชิญจากหน่วยงานต้นสังกัดก่อนผ่าน E-mail ที่เจ้าหน้าที่ได้มีการให้กับหน่วยงานต้นสังกัด หากมีการเชิญเเล้ว จึงจะสามารถสร้าง บัญชี ผ่านทางเว็บไซต์ได้

การสร้างหน่วยงาน 

การสร้างหน่วยงานเป็นขั้นตอนในการกำหนดตัวตนว่าเราคือหน่วยงานใด สังกัดหน่วยงานไหน เพื่อให้ผู้แจ้งสามารถร้องเรียนเหตุการณ์ต่าง ๆ ได้ตรงเป้าหมายและรวดเร็วที่สุด เรื่องที่แจ้งเข้ามาจะไม่ไปปะปนกับหน่วยงานอื่นที่ไม่เกี่ยวข้อง ทำให้ง่ายต่อการจัดการเคสต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการรับเรื่อง ส่งต่อเคส ตลอดจนถึงการปิดเคสนั้น ๆ ก็สามารถทำได้ง่าย ๆ ในหน่วยงานของตน ซึ่งขั้นตอนในการสร้างหน่วยงานสามารถทำได้ดังนี้

สรุปวิธีการใช้งานสำหรับผู้รับแจ้งเหตุในระบบ MOE Safety Center

อธิบายวิธีการสร้างหน่วยงานโรงเรียนเข้าระบบ MOESC

การเชิญเจ้าหน้าที่ที่อยู่ในหน่วยงานเข้ามารับหน้าที่หรือบทบาท

https://youtu.be/gZmllIU2Gno

หากสถานศึกษา กรอกรหัส 10 หลักแล้วไม่มีข้อมูลทำอย่างไร

ลืม Password เข้าระบบ sc.moesafetycenter.com ทำยังไง?

ให้กดที่ลืมรหัสผ่าน แล้วกรอก Email อีกครั้งทางระบบจะส่ง Password ไปทาง Gmail ของท่าน สามารถตั้ง Password ขึ้นใหม่ได้และเข้าใช้งานระบบ

สรุปวิธีการใช้งานสำหรับผู้รับแจ้งเหตุในระบบ MOE Safety Center 26

หากจำรหัสผ่าน Email ไม่ได้จริงๆต้องยังไง ?

ให้สมัคร Gmail ใหม่แล้วนำ Gmail ไปสร้างบัญชีใหม่ทั้งหมดถึงจะเข้าใช้งานในระบบได้อีกครั้ง

สรุปวิธีการใช้งานสำหรับผู้รับแจ้งเหตุในระบบ MOE Safety Center 27

การอนุมัติหน่วยงาน

การสร้างหน่วยงานในระบบ MOE Safety Center แต่ละหน่วยงานจำเป็นต้องทราบก่อนว่าท่านอยู่ภายใต้หน่วยงานต้นสังกัดใด เพราะจะทำให้การสร้างโครงข่ายระบบการบริหารจัดการในระบบ MOE Safty Center นั้นสามารถส่งต่อข้อมูล และเก็บข้อมูลในระบบ Big Data ได้ โดยที่หน่วยงานนั้นๆจะต้องทราบหน่วยงานต้นสังกัดก่อนทำการสมัคร ซึ่งการสมัครดำเนินการได้ไม่ยากเลยค่ะ เพียงแค่เข้าไปในระบบ sc.moesafetycenter.com  สามารถเข้าไปสร้างหน่วยงานโดยใช้ E-mail ของเจ้าหน้าที่ SC ส่วนกลาง ซึ่งสามารถศึกษาการสร้าง Email ของ SC ส่วนกลางของแต่ละหน่วยงานได้ในหัวข้อ “การสร้าง Email สำหรับ SC ส่วนกลาง” 

เมื่อทำการสมัครเรียบร้อยแล้ว ทางหน่วยงานจะต้องทำการขออนุมัติไปยังหน่วยงานต้นสังกัด เพื่อทำการเชื่อมโยงฐานข้อมูลระหว่างหน่วยงานใต้สังกัด และหน่วยงานต้นสังกัด เพราะหากไม่ทำเช่นนี้แล้ว การแจ้งเรื่องที่เข้ามายังสถานศึกษา หรือหน่วยงานใดก็ตามจะไม่สามารถส่งข้อมูลที่แจ้งเข้าไปยังระบบได้ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องเชื่อมโยงระบบไปยังหน่วยงานต้นสังกัดทุกหน่วยงาน 

เมื่อสร้างบัญชีเรียบร้อยแล้ว อีกหนึ่งขั้นตอนที่สำคัญ คือขั้นตอนการอนุมัติ เพื่อให้กลายเป็นโครงสร้างการดำเนินงานของระบบ MOE Safty Center โดยผู้ที่จะทำการ

อนุมัติเพื่อให้แต่ละหน่วยงานใช้งานในระบบ เพื่อรับเรื่องได้ นั่นก็คือ หน่วยงานต้นสังกัด นั่นเอง โดยจะมี Email แจ้งไปยังหน่วยงานต้นสังกัดว่ามีหน่วยงานใดสมัครเข้ามาเป็นหน่วยงานที่อยู่ภายใต้สังกัดแล้ว เมื่อเห็นว่าหน่วยงานนี้สมัครเข้ามาอย่างถูกต้อง และเป็นหน่วยงานต้นสังกัดจริงๆ ก็สามารถกด Approve เพื่อให้หน่วยงานใต้สังกัดนั้นมีความเชื่อมโยงกับหน่วยงานต้นสังกัด

สรุปวิธีการใช้งานสำหรับผู้รับแจ้งเหตุในระบบ MOE Safety Center 28

เจ้าหน้าที่ Admin ของแต่ละหน่วยงานหรือสถานศึกษาคือใคร ?

ก่อนที่จะทราบว่าเจ้าหน้าที่ admin ของแต่ละหน่วยงานหรือสถานศึกษาเป็นใคร สิ่งที่ต้องทราบก่อนคือเจ้าหน้าที่ admin คือบุคคลที่ทำหน้าที่ดังต่อไปนี้

เป็นคนที่ใช้อีเมล์กลาง ของแต่ละหน่วยงานหรือสถานศึกษานั้น ๆ เพื่อทำการสมัครเปิดหน่วยงานในระบบ MOE SAFETY CENTER

เป็นคนที่จะเชิญบุคคลต่างๆ เข้ามาเป็นสมาชิกเจ้าหน้าที่ในหน่วยงาน หรือสถานศึกษาที่สร้างขึ้นในระบบ ด้วยการ add หรือเพิ่มอีเมล์ ของแต่ละบุคคลเข้าไปในหน่วยงานที่จัดสร้างขึ้น

         ดังนั้นหากแต่ละหน่วยงาน เจ้าหน้าที่ admin คอยทำหน้าที่เพิ่มหรือลด เจ้าหน้าที่ที่จะขอดูแลด้านความปลอดภัยของหน่วยงาน เป็นสถานศึกษานั้นๆ บุคคลที่ทำหน้าที่นี้ก็ควรจะได้รับการเห็นชอบหรือการอนุมัติ ในการทำหน้าที่จากผู้บริหารสูงสุด ของแต่ละหน่วยงานหรือสถานศึกษานั่นเอง

         ส่วนผู้บริหารจะมอบหมายหน้าที่อันสำคัญนี้ให้กับใครคนใดคนหนึ่งเป็นพิเศษ หรือจะมอบหมายให้กับผู้ที่ขึ้นมาดำรงตำแหน่ง ผู้บริหารสูงสุดด้านความปลอดภัยของหน่วยงานหรือสถานศึกษา ก็เป็นไปได้ในทุกกรณี แต่อย่าลืมว่าอาจารย์ทำหน้าที่นี้มีความสำคัญในการควบคุม และดูแล เจ้าหน้าที่ด้านความปลอดภัยของหน่วยงานท่านตั้งแต่วันที่เริ่มสร้างหน่วยงานหรือสถานศึกษาในระบบ MOE SAFETY CENTER เลยค่ะ

สรุปวิธีการใช้งานสำหรับผู้รับแจ้งเหตุในระบบ MOE Safety Center 29

เจ้าหน้าที่ SC และเจ้าหน้าที่ Operator ทำหน้าที่แตกต่างกันยังไง

เพื่อความชัดเจนในการรับเรื่องและประสานงาน เราจึงจำเป็นต้องเข้าใจตรงกันว่าเจ้าหน้าที่ที่จะดำเนินการมีตำแหน่งอะไรบ้าง สถานะแตกต่างกันอย่างไร ดังนั้นในข้อนี้จึงขอกำหนดบทบาทหน้าที่เอาไว้ 2 ตำแหน่ง คือเจ้าหน้าที่ SC และเจ้าหน้าที่ Operator ว่ามีขอบเขตการทำงานอย่างไรบ้าง 

ความแตกต่างระหว่าง เจ้าหน้าที่ SC Action และเจ้าหน้าที่ Operator
ความแตกต่างระหว่าง เจ้าหน้าที่ SC Action และเจ้าหน้าที่ Operator
ความแตกต่างระหว่าง เจ้าหน้าที่ SC Action และเจ้าหน้าที่ Operator
ความแตกต่างระหว่าง เจ้าหน้าที่ SC Action และเจ้าหน้าที่ Operator

เจ้าหน้าที่ SC Action มีหน้าที่อย่างไร ?

หน้าที่หลัก ๆ ของเจ้าหน้าที่ SC Action ก็คือการรับเรื่องที่แจ้งเข้ามา / ตั้งชื่อเหตุการณ์แบบทางการ / สรุปประเด็นเหตุการณ์ / เลือกประเภทของเหตุการณ์ให้ถูกต้อง (1 ใน 24 ประเภท) / และส่งต่อเคสให้เจ้าหน้าที่ Operator ที่เหมาะสมดำเนินการแก้ไขปัญหา และคอยติดตามดูภาพรวมของเคสที่เกิดขึ้นในหน่วยงานหรือสถานศึกษาของตนเอง เพื่อดูว่ามีเคสไหนที่ยังติดปัญหา หรือเคสที่เจ้าหน้าที่ Operator ไม่สามารถแก้ไขได้เพียงลำพัง หรือ เคสที่ล่าช้าแล้วคอยย้ำเตือนเจ้าหน้าที่ Operator ให้รีบแก้ไขปัญหา เพื่อให้ภาพรวมของปัญหาความไม่ปลอดภัยที่แจ้งเข้ามา ได้รับการแก้ไขให้เร็วที่สุดนั่นเอง

เจ้าหน้าที่ Operator มีหน้าที่อย่างไร ?

เมื่อครูหรือบุคคลใดก็ตามได้รับหน้าที่ Operator มาแล้ว จะต้องดำเนินการแก้ปัญหาที่ได้รับมอบหมาย และต้องคอยรายงานการดำเนินการทุกขั้นตอน โดยการรายงานเพื่อให้มีหลักฐานในการดำเนินการ และเพื่อทำให้ผู้แจ้งเหตุและเจ้าหน้าที่ SC หรือผู้บริหารของหน่วยงานหรือสถานศึกษารับรู้  ก็ควรแจ้งเข้าสู่ระบบ MOE Safety Center เพราะจะทำให้ไม่ต้องรายงานซ้ำซ้อน เมื่อผู้บริหารหน่วงานหรือสถานศึกษาต้องการรับทราบ ก็สามารถเข้าสู่ระบบ MOE Safety Center เพื่อติดตามข้อมูลของเหตุการณ์นั้น ๆ อย่างงายดาย  

ซึ่งเจ้าหน้าที่ Operator จะต้องดูแลเคสที่ได้รับมอบหมายนั้น ๆ ไปจนถึงการแจ้งปิดเคสในระบบ ถึงจะถือว่าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายสิ้นสุดลงแล้ว

ใครมีสิทธิ์ตั้งเจ้าหน้าที่ SC Action และ Operator (สำหรับเจ้าหน้าที่)

สำหรับการใช้งาน Platform MOE Safety Center จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสร้างหน่วยงานหรือสถานศึกษาของท่าน เข้าสู่ระบบและเชื่อมโยงกับหน่วยงานต้นสังกัด อย่างที่ได้นำเสนอไปก่อนหน้า  และเมื่อสร้างหน่วยงานต้นสังกัดด้วยอีเมล์ที่เป็นของแต่ละหน่วยงานเป็นที่เรียบร้อยแล้ว  เราก็จะสามารถนำเข้าเจ้าหน้าที่เข้าสู่ระบบ เพื่อทำหน้าที่รับเรื่องที่แจ้งเข้ามา และรายงานการแก้ไขปัญหาให้มีความสะดวกและคล่องตัวมากยิ่งขึ้น  โดยการนำเข้าเจ้าหน้าที่ในแต่ละหน่วยงานหรือสถานศึกษานั้น ทำได้เพียงแค่ให้ admin ของหน่วยงาน (หรือคนที่ใช้ Email ของหน่วยงานนั้น ๆ ) เข้าสู่ระบบผ่านทาง sc.moesafetycenter.com แล้วทำหน้าที่เชิญเจ้าหน้าที่ SC และ เจ้าหน้าที่ Operator เข้าระบบโดยการใช้ Email ของแต่ละคน และให้กำหนดบทบาทและหน้าที่ตามความเหมาะสม โดยมีแนวคิดดังนี้

สรุปวิธีการใช้งานสำหรับผู้รับแจ้งเหตุในระบบ MOE Safety Center 30

เจ้าหน้าที่ SC Action คือใคร

โดยพื้นฐานแล้วเจ้าหน้าที่ SC ก็คือ ผอ. หรือรอง ผอ. ภายในสถานศึกษานั่นเอง เพราะด้วยหน้าที่ของผู้บริหารจึงจำเป็นที่จะต้องรู้และดูแลทุก ๆ เรื่องที่เกิดขึ้นภายในโรงเรียน อีกทั้ง ผอ. ยังสามารถอนุมัติบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถภายในสถานศึกษา หรือเป็นบุคคลากรที่ได้รับการไว้วางใจมาเป็นตัวแทน ผอ. เพื่อที่ทำหน้าที่ SC ได้อีกด้วย ดังนั้นเจ้าหน้าที่ SC จะมีกี่คนก็ได้ แต่ต้องไม่มากจนเกินไป คือจำนวนเจ้าหน้าที่ SC จะต้องสอดคล้องกับจำนวนปัญหาที่เกิดขึ้นนั่นเอง

เจ้าหน้าที่ Operator คือใคร

เจ้าหน้าที่ Operator ได้รับแต่งตั้งโดยการเชิญของ Admin หน่วยงานหรือสถานศึกษา และจะทำหน้าที่เมื่อมีการมอบหมายงานจากเจ้าหน้าที่ SC หรือหน่วยงานสถานศึกษาได้เล็งเห็นแล้วว่าบุคคลนั้น ๆ มีความใกล้ชิดกับนักเรียน เหมาะสมที่จะเป็นเจ้าหน้าที่ Operator เพื่อแก้ไขปัญหานั้น ๆ ก็สามารถแต่งตั้งบุคลากรภายในหน่วยงานให้มาเป็นเจ้าหน้าที่ Operator ได้ ดังนั้นเจ้าหน้าที่ Operator จะมีกี่คนก็ได้ แต่ต้องเพียงพอต่อจำนวนเคสที่เกิดขึ้น

และที่สำคัญ Admin ที่ดูแลระบบ สามารถจะเพิ่มหรือลด หรือเปลี่ยนบทบาทของเจ้าหน้าที่ได้ตลอดเวลา ทั้งการเปลี่ยนจากเจ้าหน้าที่ SC เป็น เจ้าหน้าที่ Operator หรือจากเจ้าหน้าที่ Operator กลับมาเป็น SC ได้  หรืออาจจะลบหรือเพิ่มชื่อของเจ้าหน้าที่ ออกจากการทำหน้าที่ในระบบ MOE Safety Center ได้ตลอดเวลา

หน้าที่สำคัญของ SC Action ประจำศูนย์และโรงเรียน

สรุปวิธีการใช้งานสำหรับผู้รับแจ้งเหตุในระบบ MOE Safety Center 31

แน่นอนว่า การทำหน้าที่รับเรื่องเหตุการณ์ความไม่ปลอดภัยต่าง ๆ ที่มีผู้แจ้งเข้ามา ก็จะเข้าสู่ขั้นตอนการแก้ไขปัญหาต่อไป ซึ่งเจ้าหน้าที่ SC ทั้งของศูนย์ความปลอดภัย กระทรวงศึกษาธิการ จะได้รับแจ้งเตือนในระบบเว็บ www.moesafetycenter.com โดยที่ผู้ทำหน้าที่ SC จะต้องลงทะเบียนเข้าใช้งาน ถึงจะมีสิทธิเห็นเหตุการณ์ที่แจ้งเข้ามา แล้วจากนั้นเจ้าหน้าที่ SC จะมีเวลาดำเนินการรับเคส หรือการส่งต่อไปยังผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบเหตุการณ์นั้น ๆ ภายในเวลา 24 ชม.

และเมื่อกดรับเคสแล้ว เจ้าหน้าที่สามารถใช้หัวข้อเดิมตามที่มีการแจ้งมา หรือจะทำการตั้งหัวข้อใหม่เพื่อง่ายต่อความเข้าใจ การค้นหา หรือให้เป็นภาษาทางราชการก็ได้ เพราะในอนาคต จะสามารถส่งรายงานปัญหาในระบบถึงหน่วยงานต้นสังกัดได้สะดวกรวดเร็วและนอกจากจะปรับคำบอกเล่าถึงเหตุการณ์ให้เข้าใจง่ายและเหมาะสมแล้ว เจ้าหน้าที่ SC ก็ต้องระบุประเด็นของเหตุการณ์ที่แจ้งเข้ามาให้ถูกต้อง ติดต่อประสานงาน หาผู้รับผิดชอบเคสนั้น ๆ ทันที เพราะจะมีเวลา 24 ชม. เพื่อส่งต่อเหตุการณ์ไปถึงผู้รับผิดชอบหรือเจ้าหน้าที่ Action และกดยืนยันการส่งมอบเคส เพื่อดำเนินการแก้ไขเหตุการณ์ความไม่ปลอดภัยนั้น ๆ

หากเจ้าหน้าที่กดรับเคสได้ทันเวลาตามที่กำหนด ระบบการจัดการข้อมูลก็จะแสดง สถานะสีเขียว  แต่หากมีความล่าช้าในการรับเรื่องที่แจ้งมา และเกินเวลา 24 ชม.หลังแจ้งเหตุ สถานะไฟสีเขียวของเคส ก็จะกลายเป็นไฟสีแดง หรือสีส้มแทน ในส่วนนี้ เจ้าหน้าที่ SC ที่รับผิดชอบ ศูนย์ MOE หรือ โรงเรียน ไม่ต้องกังวลใจไป เพราะนี่คือการตั้งระบบใช้งานด้วยมาตรฐานการแจ้งเหตุ และเมื่อดำเนินการไปสักระยะนึง อาจจะมีการปรับเวลาในการรับแจ้งเหตุ หรือกระทั่งเวลาที่ใช้ในการแก้ไขปัญหาจนสำเร็จ เพื่อให้มีความเหมาะสมกับสถานการณ์ของแต่ละเหตุการณ์นั่นเอง

เมื่อมีผู้แจ้งเหตุเข้ามา เจ้าหน้าที่ SC Action ต้องทำอย่างไร 

สรุปวิธีการใช้งานสำหรับผู้รับแจ้งเหตุในระบบ MOE Safety Center 32

เมื่อมีเคสเข้าสู่ระบบ คนแรกที่จะเห็นการแจ้งเหตุเหล่านั้นเข้ามายังหน่วยงานหรือสถานศึกษาคือเจ้าหน้าที่ SC และเจ้าหน้าที่ SC จะต้องมีหน้าที่ดังต่อไปนี้

กดรับเรื่องที่แจ้งเข้ามาภายใน 24 ชั่วโมง

อ่านและสรุปเรื่องที่แจ้งเข้ามา โดยต้องทำการสรุปใน 2 ประเด็นหลัก ๆ คือ 1 การตั้งชื่อเรื่องที่ถูกต้องเหมาะสม และสามารถเข้าใจถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ และถ้าจะดีมากขึ้นหากชื่อเหตุการณ์ที่ตั้งนั้น ง่ายต่อการสืบค้น เพื่อติดตามในอนาคตก็จะยิ่งดี  และ 2 คือการสรุปเหตุการณ์ที่แจ้งเข้ามา เพื่อให้เป็นภาษาทางการหรือกึ่งทางการ เพราะจะเป็นเรื่องที่ทั้งผู้บริหารหรือเจ้าหน้าที่ Operator ที่รับเรื่อง ได้อ่านเพื่อเข้าใจเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้อย่างครบถ้วนและเป็นกลาง 

เลือกหมวดหมู่ของเรื่องที่แจ้งเข้ามา ให้ตรงกับเหตุการณ์ เพื่อประโยชน์ในการสรุปรวบรวมปัญหาที่เกิดขึ้นของแต่ละหน่วยงานหรือสถานศึกษา ในระบบฐานข้อมูล Big Data ซึ่งจะนำไปสู่นโยบายการแก้ปัญหาในอนาคตต่อไป

ติดแท็ก เหตุการณ์ เพื่อง่ายต่อการค้นหา สิ่งนี้เป็นข้อสำคัญที่จะช่วยให้การทำงาน และการสืบค้นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทำได้ง่ายและสะดวกสำหรับเจ้าหน้าที่ ซึ่งเหมือนกับการใช้งานติดแท็กของ Social Media ยอดอิต อย่าง Facebook หรือ Twitter หรือ Tiktok นั่นเอง

หากเป็นเหตุสำคัญ หรือเหตุการณ์ที่มีผู้ได้รับบาดเจ็บรุนแรงหรือเสียชีวิต ควรแจ้งเรื่องไปถึงกระทรวงศึกษาธิการ โดยกดเลือกแจ้งเรื่องถึงกระทรวง

เลือกเจ้าหน้าที่ Operator ที่เหมาะสมที่จะแก้ไขปัญหาหรือเหตุการณ์นั้น ๆ

ติดตามการแก้ไขปัญหาของแต่ละเหตุการณ์ที่แจ้งเข้ามา เพื่อให้ทุกเรื่องได้รับการแก้ไข

กำหนดการตั้งชื่อเหตุการณ์ด้วย 4W1H 

เมื่อมีผู้แจ้งเหตุเข้ามาแล้ว เจ้าหน้าที่ SC จะต้องเป็นผู้สรุปเรื่องเพื่อให้เนื้อหาที่แจ้งเข้ามามีความเป็นทางการมากยิ่งขึ้น เป็นการสรุปเพื่อให้ผู้บริหารที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้เข้ามาอ่านและให้คำแนะนำเพิ่มเติมได้ โดยการตั้งชื่อเรื่องที่จะสรุป มีข้อกำหนดง่าย ๆ ด้วยหลัก 4W1H ดังนี้

กำหนดการตั้งชื่อเหตุการณ์ด้วย 4W1H 

แบบนี้จะทำให้ผู้บริหารทราบเหตุการณ์คร่าว ๆ ตั้งแต่การอ่านชื่อเหตุการณ์ และจะช่วยให้สามารถประเมินความสำคัญ เร่งด่วนในการแก้ไขความไม่ปลอดภัยนั้น ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Who = ใคร

What = ทำอะไร

Where = ที่ไหน

When = เมื่อไหร่

How = อย่างไร

ข้อกำหนด สรุปเนื้อหาโดยเจ้าหน้าที่ SC จำกัด 800 ตัวอักษรเท่านั้น  (สำหรับเจ้าหน้าที่)

ในขั้นตอนการรับแจ้งเหตุ เจ้าหน้าที่ SC มีหน้าที่ในการสรุปเหตุการณ์ตามหลัก 4W1H 

และบันทึกรายละเอียดเหตุการณ์ฉบับย่อเพื่อสรุปให้ผู้บริหารเข้าใจสถานการณ์ ผ่านระบบ MOE Safety Center โดยจะสรุปย่อเหตุการณ์ความยาวได้ไม่เกิน 800 ตัวอักษร  ซึ่งควรเป็นการสรุปที่เข้าใจในเนื้อหาสาระหลักของเหตุการณ์ ที่อ่านแล้วเข้าใจได้ เหมือนการอ่านเหตุการณ์จริงที่แจ้งเข้ามา

และการสรุปข้อความในส่วนนี้ ก็อยู่ในระบบของ MOE Safety Center ลำดับที่ 2 ต่อเนื่องจากหัวข้อชื่อเหตุการณ์นั่นเอง

แต่สำหรับผู้บริหาร ที่ต้องการทราบเนื้อหาจริงที่แจ้งมา สามารถกดดูด้วยตนเองได้ตลอดเวลา เนื่องจากข้อมูลจะไม่ถูกลบออกจากระบบ เพียงแต่จะไม่แสดงในครั้งแรก ที่เข้าไปติดตามเหตุการณ์เท่านั้น

สรุปวิธีการใช้งานสำหรับผู้รับแจ้งเหตุในระบบ MOE Safety Center 33

ขอบข่ายความปลอดภัยของสถานศึกษา 

สรุปวิธีการใช้งานสำหรับผู้รับแจ้งเหตุในระบบ MOE Safety Center 34
สรุปวิธีการใช้งานสำหรับผู้รับแจ้งเหตุในระบบ MOE Safety Center 35
สรุปวิธีการใช้งานสำหรับผู้รับแจ้งเหตุในระบบ MOE Safety Center 36
สรุปวิธีการใช้งานสำหรับผู้รับแจ้งเหตุในระบบ MOE Safety Center 37
สรุปวิธีการใช้งานสำหรับผู้รับแจ้งเหตุในระบบ MOE Safety Center 38

เรื่องสำคัญที่ควรเลือกผู้อำนวยการ หรือ รองผอ ด้านความปลอดภัย ทำหน้าที่ เจ้าหน้าที่ Operator

เมื่อเจ้าหน้าที่ SC เลือก Operator ผิดคน ต้องทำอย่างไร

ในการรับเรื่องที่แจ้งเข้ามาของเจ้าหน้าที่ SC เมื่อดำเนินการสรุปเรื่องและเลือกหมวดหมู่ที่ถูกต้องกับเหตุการณ์เหล่านั้นแล้ว ก็ต้องเลือกเจ้าหน้าที่ Operator ที่จะรับผิดชอบในการแก้ไขปัญหา ซึ่งต้องเป็นคนที่เหมาะสม และเมื่อเลือกแล้วเจ้าหน้าที่ Operator ก็ต้องทำหน้าที่ดูแลแก้ไขปัญหาเคสนั้น ๆ จนสิ้นสุด 

แต่หากเกิดกรณีที่การเลือก เจ้าหน้าที่ Operator ผิดคน หรืออาจจะไม่สามารถแก้ไขปัญหานั้น ๆ ได้แล้วจำเป็นต้องเปลี่ยนคนทำหน้าที่ Operator ก็สามารถทำได้ เพียงแต่ให้เจ้าหน้าที่ Operator ท่านที่เป็นผู้รับผิดชอบ แจ้งส่งเคสกลับไปที่เจ้าหน้าที่ SC โดยให้ระบุเหตุผลเพื่อทำให้ผู้บริหารหรือหน่วยงานต้นสังกัดทราบ จะได้ไม่เกิดการเข้าใจผิดกับหน้าที่การรับผิดชอบ แล้วจากนั้นให้เจ้าหน้าที่ SC เลือกเจ้าหน้าที่ Operator ที่เหมาะสมให้ดูแลเคสนั้น ๆ คนต่อไป 

 แต่เรื่องของเวลาที่นับหลังจากรับเรื่องแล้วเพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหา จะนับต่อเนื่องจากที่ใช้เวลาไปก่อนหน้านี้ ซึ่งอาจจะทำให้การแก้ไขปัญหาเคสนั้น ๆ อาจจะเกิดความล่าช้าไปบ้าง แต่ไม่ต้องกังวล เพราะเนื่องจากทุกการดำเนินการที่เกิดขึ้น จะมีการบันทึกตาม Timeline ของสิ่งที่เกิดขึ้นจริงในระบบ เพื่อความปลอดภัยและเป็นธรรมในการดำเนินการของเจ้าหน้าที่แต่ละคนนั่นเอง

การปิดเคส

เจ้าหน้าที่ Operator  1 คนสามารถรับการแก้ปัญหาได้สูงสุดที่เคส

เมื่อมีผู้แจ้งเหตุเข้ามายัง Platform MOE Safety Center เข้ามายังหน่วยงานหรือสถานศึกษาแล้ว เจ้าหน้าที่ SC ก็จะส่งเรื่องไปให้เจ้าหน้าที่ Operator รับผิดชอบในการดูแลและแก้ไขปัญหาให้ผู้แจ้งเหตุ  และเจ้าหน้าที่ Operator 1 คนก็สามารถรับเรื่องที่ดูแลได้มากกว่า 1 เรื่องในเวลาเดียวกัน เพราะระบบ Platform นี้ถูกออกแบบให้เจ้าหน้าที่ Operator สามารถรับเคสที่เข้ามาเพื่อแก้ไขปัญหาได้อย่างไม่จำกัด เพียงแต่เจ้าหน้าที่ SC ต้องคอยดูตามความเหมาะสม ไม่ให้เจ้าหน้าที่ Operator รับเรื่องมากจนเกินความสามารถในการแก้ไขปัญหา และเจ้าหน้าที่ Operator ก็ควรจะเป็นที่มีความรับผิดชอบ และคอยรายงานการแก้ไขปัญหาของแต่ละเคสผ่าน Platform MOE Safety Center ตลอดเวลา

เรื่องที่ร้องเรียนเข้าระบบ MOE Safety Center ใครมีสิทธิ์เข้าถึงได้บ้าง

เป็นที่รู้กันดีว่าปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นภายในโรงเรียนมีมากมายหลายรูปแบบ เช่น การกลั่นแกล้ง ทะเลาะวิวาท ขโมยของ ล่วงละเมิดทางเพศ ฯลฯ จากตัวอย่างข้างต้นจะสังเกตได้ว่าปัญหาบางเรื่องเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ไม่เหมาะสมที่จะถูกเผยแพร่อย่างอิสระในที่สาธารณะ 

ดังนั้นระบบ MOE Safety Center ได้เล็งเห็นและใส่ใจถึงความปลอดภัยของทั้งผู้ประสบเหตุเองก็ดีหรือผู้แจ้งเหตุเองก็ดี ไม่ให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมาภายหลังได้ ทางระบบจึงกำหนดให้ผู้ที่เห็นเคสทั้งหมดคือเจ้าหน้าที่ SC เท่านั้น เพราะจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องคอยติดตามและดูแลการแก้ปัญหาของเจ้าหน้าที่ Operator และจะคอยให้คำแนะนำหรือให้แนวทางในการแก้ไขปัญหาผ่าน Platform MOE Safety Center ได้ตลอดเวลาทันที (ซึ่งผู้แจ้งเคสนั้น ๆ ก็จะเห็นการดำเนินการของทั้งเจ้าหน้าที่ SC และเจ้าหน้าที่ Operator ที่บันทึกเข้าสู่ระบบด้วย)     โดยเจ้าหน้าที่ Operator จะเห็นรายละเอียดได้เฉพาะเรื่องที่ตนเองได้รับมอบหมายเท่านั้น จึงไม่ต้องห่วงว่าเรื่องที่แจ้งจะไม่เป็นความลับอีกต่อไป

นักเรียนสมัครใช้งานแจ้งเหตุ เข้า ระบบ MOE Safety Center ต้องทำยังไง

สิ่งจำเป็นที่ควรมีในการบันทึกการแจ้งเหตุ

แน่นอนว่าในการแจ้งเหตุแต่ละครั้ง สิ่งที่ต้องระบุในการแจ้ง คือ สถานศึกษา วัน-เวลา ชื่อเหตุการณ์และรายละเอียดของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แต่เพื่อให้การแจ้งเหตุมีหลักฐานยืนยันมากกว่าการบอกเล่าเรื่องราว การมีรูปภาพหรือคลิปของเหตุที่แจ้ง จะทำให้เรื่องที่แจ้งมีความน่าเชื่อถือ ผู้รับแจ้งเหตุ เจ้าหน้าที่ SC และเจ้าหน้าที่ Operator จะเข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้น หรือสิ่งที่อยากบอกเล่าได้ง่ายยิ่งขึ้น ซึ่งมีผลต่อการดำเนินการแจ้งเหตุนั้น ๆ 

เช่น หากมีนักเรียนแจ้งมาว่า เกิดเหตุทะเลาะวิวาทระหว่างกลุ่มนักเรียน เกิดการชำรุดของสิ่งของในสถานศึกษา ไม่ว่าจะอาคาร สิ่งก่อสร้าง อุปกรณ์ต่าง ๆ ถ้าเขียนบรรยายแจ้งมา ผู้รับแจ้งอาจจะไม่รู้ถึงความเร่งด่วนของเรื่องนั้น ๆ แต่หากมีรูปถ่ายหรือคลิปของที่เกิดเหตุส่งมาด้วย ก็จะมีประโยชน์ต่อการแก้ไขได้อย่างรวดเร็วนั่นเอง

โดยหลักฐานรูปภาพหรือคลิปที่ส่งเข้ามานั้น หากเป็นรูปภาพหรือคลิปที่เป็นไฟล์ขนาดใหญ่ อาจจะทำให้การส่งเข้าสู่ระบบเกิดความล่าช้า วิธีแก้ไขปัญหาอีกทางหนึ่ง ก็คือ การนำรูปภาพหรือคลิปไปฝากไว้ในกูเกิ้ลไดร์ฟ แล้วนำลิ้งค์ส่งเข้ามาในระบบก็ได้เช่นเดียวกัน แต่ต้องตรวจสอบให้มั่นใจว่า ลิ้งค์นั้น จะสามารถให้เจ้าหน้าที่เข้าถึงได้ด้วย

เพราะฉะนั้น การบันทึกเหตุการณ์ไว้ จึงเป็นหลักฐานชิ้นสำคัญ ที่จะทำให้เหตุการณ์ที่แจ้งมีการยืนยันว่า เป็นความจริงและชี้ให้เห็นปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างเข้าใจมากขึ้น นำไปสู่การแก้ไขปัญหาเพื่อความปลอดภัยของสถานศึกษานั่นเอง

นักเรียนแจ้งเล่น ๆ เข้าสู่ระบบ เจ้าหน้าที่ SC ควรทำอย่างไร

ในช่วงแรกของการใช้งาน คงจะเป็นเรื่องที่พอจะยอมรับได้ แต่สิ่งสำคัญ ทางสถานศึกษาต้องทำความรู้ ความเข้าใจในการใช้งานให้ชัดเจน ว่าระบบ MOE Safety Center ควรใช้งานเมื่อใด อย่างไร โดยเน้นไปที่การแจ้งเหตุความไม่ปลอดภัยในสถานศึกษา หรือแจ้งเหตุเตือนล่วงหน้าก่อนจะเกิดความไม่ปลอดภัยในสถานศึกษา หรือจะเกิดควมไม่ปลอดภัยกับนักเรียน นักศึกษา ก็สามารถแจ้งเข้าระบบได้ เพื่อให้ผู้รับผิดชอบในสถานศึกษาช่วยกันดูแล 

แต่หากใช้งานไปสักระยะนึง หากเกิดปัญหาการแจ้งเล่น หรือการแจ้งเท็จ ก็จะนำไปสู่ประเด็นเรื่อง การนำข้อมูลเท็จเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งในทางกฎหมายแล้ว ถือว่าเป็นความผิด และสามารถนำไปสู่การลงดทษทางกฎหมายได้ต่อไป

ดังนั้นทางสถานศึกษา จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะประชาสัมพันธ์ให้เกิดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องกับทั้ง ครู เจ้าหน้าที่ทางการศึกษา นักเรียน และพ่อแม่ ผู้ปกครอง ที่สามารถใช้งานระบบ MOE Safety Center ได้นั่นเอง

moe safety center มีกี่ช่องทาง เมื่อเกิดเหตุความไม่ปลอดภัย จะแจ้งช่องทางไหนดี?

การรับเรื่องแจ้งเหตุความไม่ปลอดภัยในสถานศึกษา ทางกระทรวงศึกษาธิการได้ทำให้ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น โดยใช้เทคโนโลยีและ Social Media เข้ามาช่วยดำเนินการ โดยสามารถแจ้งเหตุได้ง่าย ๆ ดังต่อไปนี้

  1. ทางเว็บไซต์ www.MOEsafetycenter.com เพียงลงทะเบียนยืนยันตัวตนในครั้งแรกเท่านั้น ก็สามารถใช้งานเพื่อแจ้งเหตุได้ตลอดเวลา
  2. ทางไลน์ @MOESafetyCenter ก็ง่ายและสะดวก เพียงแค่สแกนคิวอาร์โค้ด กดแอดไลน์เพิ่มเพื่อน เท่านี้ก็สามารถใช้เป็นอีกหนึ่งช่องทางในการแจ้งเหตุที่ง่ายและสะดวก เพราะนี่คือ Social ที่เราใช้เป็นประจำนั่นเอง
  3. ดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่น MOE Safety Center ใน PlayStore สำหรับแอนดรอยด์ได้ตั้งแต่ 1 ธันวาคม หรือในระบบ IOS ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565 ก็ได้เช่นเดียวกัน
  4. สุดท้ายหากไม่ค่อยใช้งานทางออนไลน์ ก็ยังมีเบอร์โทรให้สามารถแจ้งเหตุได้ เพียงแค่โทรผ่าน Call center ศูนย์ MOE Safety Center ที่เบอร์ 02-126-6565 ก็จะมีคนคอยรับเรื่อง แล้วบันทึกเข้าสู่ระบบความปลอดภัยสถานศึกษา ส่งไปยังโรงเรียนหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เช่นกัน

นี่คือทั้ง 4 ช่องทางที่เราสามารถแจ้งเหตุความไม่ปลอดภัยในสถานศึกษาได้ง่าย ๆ ช่วยกันเป็นหูเป็นตา เพื่อให้ทุกคนปลอดภัย แต่ขอความร่วมมืออย่าแจ้งเรื่องเท็จ เพราะระบบจะบันทึกทุกเรื่องที่แจ้งเข้ามาแล้วสามารถตรวจสอบกลับได้ หากพบว่าเท็จ ก็จะมีความผิดตาม พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ ฐานการทำข้อมูลอันเป็นเท็จเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์อีกด้วย เครดิตที่ดีในการช่วยสร้างความปลอดภัย ก็จะมีในฐานข้อมูลของทุกคนที่ใช้งานนั่นเอง….ด้วยรักและห่วงใย MOE Safety Center

แบบมอบหมายงานเจ้าหน้าที่ดูแลระบบ moe safety center

ตัวอย่างคำสั่ง การบันทึกข้อมูลจำเป็นของเจ้าหน้าที่ดูแลระบบ MOE Safety Center เพื่อให้การบริหารจัดการระบบ MOE Safety Center ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษา ในสังกัดให้ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษาดำเนินการจัดทำข้อมูลจำเป็นของเจ้าหน้าที่ ดูแลระบบ MOE Safety Center ดังนี้

สรุปวิธีการใช้งานสำหรับผู้รับแจ้งเหตุในระบบ MOE Safety Center 39
สรุปวิธีการใช้งานสำหรับผู้รับแจ้งเหตุในระบบ MOE Safety Center 40
สรุปวิธีการใช้งานสำหรับผู้รับแจ้งเหตุในระบบ MOE Safety Center 41
สรุปวิธีการใช้งานสำหรับผู้รับแจ้งเหตุในระบบ MOE Safety Center 42

แบบมอบหมายงาน เจ้าหน้าที่ดูแลระบบ MOE Safety Center

สรุปวิธีการใช้งานสำหรับผู้รับแจ้งเหตุในระบบ MOE Safety Center 43
สรุปวิธีการใช้งานสำหรับผู้รับแจ้งเหตุในระบบ MOE Safety Center 44

ขอบคุณที่มา : MOE Safety Center

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่