แนะนำเว็บไซต์ทางการ การขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย SDGs
แนะนำเว็บไซต์ทางการ การขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย SDGs

แนะนำเว็บไซต์ทางการ การขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย SDGs จัดทำโดย สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

เข้าถึงเว็บไซต์ได้ที่ : http://sdgs.nesdc.go.th/

แนะนำเว็บไซต์ทางการ การขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย SDGs จัดทำโดย สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
แนะนำเว็บไซต์ทางการ การขับเคลื่อน เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ของประเทศไทย SDGs จัดทำโดย สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

ภายในมีการรายงานข่าวสาร กิจกรรม/โครงการที่ภาครัฐจัดขึ้นเพื่อขับเคลื่อน SDGs ในระดับพื้นที่ มีการนำเสนอข้อมูล รายงานการประชุมของคณะทำงาน นอกจากนี้ยังมีข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการายงานตัวชี้วัดตามเป้าหมายหลักเพื่อสะท้อนภาพการดำเนินงานภายในประเทศ ซึ่งแสดงผลออกมาในรูปแผนภูมิ มีไฟล์ excel สำหรับให้ผู้สนใจดาวน์โหลดเพื่อนำไปวิเคราะห์ ใช้ประโยชน์ต่อได้อีกด้วย

แนะนำเว็บไซต์ทางการ การขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย SDGs จัดทำโดย สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
แนะนำเว็บไซต์ทางการ การขับเคลื่อน เป้าหมายการพัฒนา ที่ยั่งยืนของประเทศไทย SDGs จัดทำโดย สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

ในการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยสามัญ ครั้งที่ 70 เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2558 ณ สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ ประเทศไทยและประเทศสมาชิกสหประชาชาติรวม 193 ประเทศ ร่วมลงนามรับรองวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 (2030 Agenda for Sustainable Development) ซึ่งเป็นกรอบการพัฒนาของโลกเพื่อร่วมกันบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ในมิติทางสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม ภายในปี ค.ศ. 2030 โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง

เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 17 เป้าหมาย ประกอบไปด้วย 169 เป้าหมายย่อย (SDG Targets) ซึ่งมีความเชื่อมโยงและเกื้อหนุนกัน โดยสามารถจัดกลุ่มตามปัจจัยที่เชื่อมโยงกันใน 5 มิติ (5P) ได้แก่ (1) การพัฒนาคน (People) ให้ความสำคัญกับการขจัดปัญหาความยากจนและความหิวโหย และลดความเหลื่อมล้ำ ในสังคม (2) สิ่งแวดล้อม (Planet) ให้ความสำคัญกับการปกป้องและรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสภาพภูมิอากาศเพื่อพลเมืองโลกรุ่นต่อไป (3) เศรษฐกิจและความมั่งคั่ง (Prosperity) ส่งเสริมให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีและสอดคล้องกับธรรมชาติ (4) สันติภาพและความยุติธรรม (Peace) ยึดหลักการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ และ (5) ความเป็นหุ้นส่วนการพัฒนา (Partnership) ความร่วมมือของทุกภาคส่วนในการขับเคลื่อนวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน

ขอบคุณที่มา : Facebook SDG Move TH

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่