กรอบ CEFR มาตรฐานภาษาอังกฤษที่ครูทุกคนต้องรู้
กรอบ CEFR มาตรฐานภาษาอังกฤษที่ครูทุกคนต้องรู้

กรอบ CEFR มาตรฐานภาษาอังกฤษที่ครูทุกคนต้องรู้

กรอบอ้างอิงความสามารถทางภาษาอังกฤษที่เป็นสากล CEFR (Common European Framework of Reference for Languages) นับว่าเป็น เกณฑ์สำคัญในนโยบายปฏิรูปการเรียนการสอนภาษาอังกฤษของกระทรวงศึกษาธิการ

กรอบ CEFR มาตรฐานภาษาอังกฤษ คืออะไร

CEFR (Common European Framework of Reference for Languages) เป็นการกำหนดมาตรฐานความสามารถทางภาษาอังกฤษ ของประชากรของประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป เพื่อให้โรงเรียนทุกๆ โรงเรียน ในแต่ละประเทศที่เป็นชาติสมาชิกในสหภาพยุโรป ได้ออกแบบหลักสูตร และอำนวยการเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษ ที่มุ่งเน้นในการพัฒนา “ทักษะการใช้ภาษาอังกฤษ (English Proficiency)” ให้กับประชากรของตนเอง เพื่อให้ประชากรของทุกๆ ประเทศในสหภาพยุโรป สามารถใช้ภาษาอังกฤษ เป็นภาษากลาง ในการสื่อสาร แลกเปลี่ยนวัฒนธรรม และองค์ความรู้ต่างๆ ตลอดจนสามารถประสานงานเพื่อดำเนินธุรกรรม และธุรกิจใดๆ ร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยปัจจุบัน กรอบมาตรฐานความสามารถทางภาษาอังกฤษ CEFR นั้น ถือว่าเป็นมาตรฐานในการพัฒนาหลักสูตรการเรียนภาษาอังกฤษที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลก โดยกรอบมาตรฐาน CEFR ได้แบ่งความสามารถทางภาษาอังกฤษเป็น 6 ระดับ  (อ้างอิง http://www.act-english.com/about/cefr/)

 Proficient User:

  • C1 (Mastery):   สามารถเข้าใจภาษาอังกฤษผ่านการฟัง และการอ่านได้อย่างคล่องแคล่ว ครบถ้วน สามารถสรุปใจความ จากการรับฟัง และการอ่านจากแหล่งข้อมูลหลายๆ แหล่งได้ สามารถนำเสนอความคิดเห็น ข้อโต้แย้ง เหตุผลประกอบต่างๆ ได้อย่างคล่องแคล่ว สามารถแนะนำพูดคุยภาษาอังกฤษในสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง คล่องแคล่วเป็นธรรมชาติ
  • C2 EOP (Efficient Operational Proficiency):  สามารถเข้าใจความหมายที่แท้จริง ในประโยคภาษาอังกฤษที่มีความซับซ้อนได้ สามารถพูดคุยภาษาอังกฤษได้เป็นธรรมชาติ โดยมีการติดขัดให้เห็นได้ไม่บ่อยนัก สามารถใช้ภาษาอังกฤษในสังคม การเรียนหนังสือ และการประกอบอาชีพ ได้อย่างถูกต้อง คล่องแคล่ว สามารถใช้ภาษาอังกฤษที่มีโครงสร้างประโยคที่มีความซับซ้อนในการสื่อสารได้

Independent User:

  • B2 (Vantage):   สามารถเข้าใจใจความสำคัญของภาษาอังกฤษที่ซับซ้อนทั้งในส่วนของข้อเท็จจริง และอารมณ์ความรู้สึกชองภาษาได้ โดยเฉพาะภาษาอังกฤษที่มีความเกี่ยวข้องกับอาชีพ และความสนใจของตนเอง สามารถพูดคุยภาษาอังกฤษได้ค่อนข้างเป็นธรรมชาติ ในระดับที่สามารถสื่อสารกับเจ้าของภาษาได้ โดยไม่ทำให้คู่สนทนาเกิดความเครียด
  • B1 (Threshold):   สามารถเข้าใจใจความสำคัญของภาษาอังกฤษในโครงสร้างพื้นฐาน ในเรื่องที่ตนเองมีความคุ้นเคย เช่น เรื่องในที่ทำงาน โรงเรียน เวลาว่าง ฯลฯ สามารถใช้ภาษาอังกฤษในการเดินทางได้ สามารถสร้างประโยคพื้นฐานในการสื่อสารในเรื่องที่ตนเองสนใจได้ สามารถเล่าเรื่องเกี่ยวกับประสบการณ์ เหตุการณ์ ความมุ่งหวังของตนเองเป็นภาษาอังกฤษได้ สามารถอธิบายเหตุผล และความคิดเห็นของตนเองสั้นๆ ได้

Basic User:

  • A2 (Waystage):   สามารถเข้าใจประโยคภาษาอังกฤษที่มักจะพบเจอบ่อยๆ ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเรื่องส่วนตัว ครอบครัว การซื้อสินค้า การเดินทาง ฯลฯ ได้ สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษที่เกี่ยวข้องกับกิจวัตรประจำวันได้ สามารถอธิบายความต้องการของตนเองโดยใช้ประโยคพื้นฐานได้
  • A1 (Breakthrough):   สามารถเข้าใจประโยคภาษาอังกฤษที่ต้องใช้ในชีวิตประจำวันได้ โดยเฉพาะในส่วนของที่เป็นข้อเท็จจริง และรูปธรรม สามารถแนะนำตนเอง และผู้อื่นได้ สามารถถามตอบคำถามเกี่ยวกับข้อมูลส่วนตัวเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย คนที่รู้จัก สิ่งของที่ตนเองมีได้ สามารถโต้ตอบด้วยภาษาอังกฤษได้ ในกรณีที่คู่สนทนาพยายามช่วยพูดอย่างช้าๆ ชัดๆ

นโยบายการปฏิรูปการเรียนการสอนภาษาอังกฤษตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ มี 6 ข้อ คือ

  • ใช้กรอบมาตรฐานความสามารถทางภาษาอังกฤษที่เป็นสากล ได้แก่ The Common European Framework of Reference for Languages (CEFR) เป็นกรอบความคิดหลักในการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษของประเทศไทย ออกแบบหลักสูตร พัฒนาการเรียนการสอน การทดสอบ วัดผล พัฒนาครู กำหนดเป้าหมายการเรียนรู้
  • ปรับจุดเน้นการเรียนการสอนภาษาอังกฤษให้เป็นไปตามธรรมชาติของการเรียนรู้โดยเน้นการสื่อสาร(Communicative Language Teaching: CLT) ปรับจากการเน้นไวยากรณ์เป็นเน้นการสื่อสารเริ่มจาก ฟัง พูด อ่าน เขียน
  • ส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษที่มีมาตรฐานตามกรอบมาตรฐานหลัก
  • ส่งเสริมการยกระดับความสามารถการใช้ภาษาอังกฤษ คือขยายโครงการพิเศษการจัดการเรียนการสอน EP/ MEP/ IP/EBE พัฒนาห้องเรียนพิเศษภาษาอังกฤษ (Enrichment Class) เพื่อการสื่อสารทางสังคม และด้านวิชาการและการพัฒนาห้องเรียน การสนทนาภาษาอังกฤษเน้นฟังพูดเพื่ออาชีพอย่างน้อย 2 ชั่วโมง (ขยายโอกาส) จัดกิจกรรมและสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมความสามารถภาษาอังกฤษ คือการจัดค่ายวิชาการ 2-4 สัปดาห์ช่วงปิดภาคเรียน เพิ่มชั่วโมงเรียนอย่างต่อเนื่อง ครึ่งวัน ทั้งวัน จัดสภาพแวดล้อมกิจกรรมในโรงเรียน สอนภาษาอังกฤษมีวิชาเลือกให้ผู้เรียน
  • ยกระดับความสามารถการจัดการเรียนการเรียนการสอนของครูให้สอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้ที่เน้นการสื่อสาร (CLT) เป็นไปตามกรอบหลักของ CEFR ประเมินความรู้พื้นฐานของครู ฝึกอบรมครู
  • ส่งเสริมให้มีการใช้สื่อ เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาเป็นเครื่องมือในการพัฒนา
กรอบ CEFR มาตรฐานภาษาอังกฤษที่ครูทุกคนต้องรู้ 4

ครูทุกคนต้องสอบ CEFR

** ครูไม่ได้สอนภาษาอังกฤษ ระดับประถมศึกษาต้องได้ A2 ระดับมัธยมศึกษาต้องได้ A2
** ครูที่สอนภาษาอังกฤษ ระดับประถมศึกษาต้องได้ B1 ระดับมัธยมศึกษาต้องได้ B2

นักเรียนทุกคนต้องสอบ CEFR

กรอบ CEFR มาตรฐานภาษาอังกฤษที่ครูทุกคนต้องรู้ 5

นักเรียนห้องเรียนปกติ
** ระดับชั้น ป.4 – ป.6 ต้องได้ระดับมากกว่า หรือเท่ากับ A1
** ระดับชั้น ม.1 – ม.3 ต้องได้ระดับมากกว่า หรือเท่ากับ A2
** ระดับชั้น ม.4 – ม.6 ต้องได้ระดับมากกว่า หรือเท่ากับ B1

นักเรียนห้องเรียนพิเศษภาษาอังกฤษ
** ระดับชั้น ป.4 – ป.6 ต้องได้ระดับมากกว่า หรือเท่ากับ A2
** ระดับชั้น ม.1 – ม.3 ต้องได้ระดับมากกว่า หรือเท่ากับ B1
** ระดับชั้น ม.4 – ม.6 ต้องได้ระดับมากกว่า หรือเท่ากับ B2

กรอบ CEFR มาตรฐานภาษาอังกฤษที่ครูทุกคนต้องรู้
กรอบ CEFR มาตรฐานภาษาอังกฤษที่ครูทุกคนต้องรู้

ขอบคุณที่มา : ภาษาอังกฤษมาตรฐาน CEFR

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่