ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ข้อกำหนดสถานการณ์ฉุกเฉิน (ฉบับที่ 20) ห้ามการใช้อาคารสถานที่โรงเรียนเพื่อจัดการเรียนการสอนฯ
ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ข้อกำหนดสถานการณ์ฉุกเฉิน (ฉบับที่ 20) ห้ามการใช้อาคารสถานที่โรงเรียนเพื่อจัดการเรียนการสอนฯ

ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ข้อกำหนดสถานการณ์ฉุกเฉิน (ฉบับที่ 20)ห้ามการใช้อาคารสถานที่โรงเรียนเพื่อจัดการเรียนการสอนฯ

ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ข้อกำหนด ออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 20) ข้อ 1 (1)

ห้ามการใช้อาคารสถานที่ของโรงเรียนและสถาบันการศึกษาทุกประเภทเพื่อจัดการเรียนการสอน การสอบ การฝึกอบรม หรือการทำกิจกรรมใดๆ

ที่มีผู้เข้าร่วมเป็นจำนวนมากเสี่ยงต่อการแพร่โรค เว้นแต่การใช้เป็นเอกเทศตามกฏหมายว่าด้วยโรคติดต่อ หรือการใช้เป็นที่ช่วยเหลืออุปการะ หรือการใช้สถานที่ตามข้อยกเว้นที่กำหนดไว้ในข้อ 1 ของข้อกำหนด (ฉบับที่ 16) ลงวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2564

มีผลบังคับใช้วันที่ 18 เม.ย.64

ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ข้อกำหนดสถานการณ์ฉุกเฉิน (ฉบับที่ 20)ห้ามการใช้อาคารสถานที่โรงเรียนเพื่อจัดการเรียนการสอนฯ
ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ข้อกำหนดสถานการณ์ฉุกเฉิน ห้ามการใช้อาคารสถานที่โรงเรียนเพื่อจัดการเรียนการสอนฯ

เมื่อวันที่ 16 เมษายน 2564 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาประกาศข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (ฉบับที่ 20) เพื่อเพิ่มเติมการบังคับใช้มาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 แบบบูรณาการที่จำเป็นเร่งด่วน รวมทั้งปรับระดับพื้นที่สถานการณ์ในจังหวัดที่ได้ตรวจพบการระบาดเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุด (สีแดง) จำนวน 18 จังหวัด และพื้นที่ควบคุม จำนวน 59 จังหวัด จำนวน 9 ข้อ ดังนี้

ข้อ 1 การห้ามดำเนินการหรือจัดกิจการกิจกรรมหรือที่เสี่ยงต่อการแพร่โรค  (1) ห้ามการใช้อาคารหรือสถานที่ของโรงเรียนและสถาบันการศึกษาทุกประเภทเพื่อจัดการเรียนการสอน การสอบ การฝึกอบรม หรือการกิจกรรมใด ๆ ที่มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมากทำให้เสี่ยงต่อการแพร่โรค เว้นแต่การใช้เป็นที่เอกเทศตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ หรือการใช้เป็นสถานที่เพื่อให้ความช่วยเหลืออุปการระ หรือการใช้สถานที่ตามข้อยกเว้นที่กำหนดไว้ในข้อ 1 ของข้อกำหนด (ฉบับที่ 16) ลงวันที่ 3 มกราคม 2564

(2) ห้ามจัดกิจกรรมซึ่งมีการรวมกลุ่มของบุคคลที่มีจำนวนรวมกันมากกว่า 50 คน เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ หรือ เป็นกิจกรรมที่ดำเนินการโดยพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือ จัดกิจกรรมในพื้นที่ที่กำหนดให้เป็นสถานที่กักกันโรคโดยได้ดำเนินการตามมาตรการป้องกันโรคที่ทางราชการกำหนด ซึ่งผู้ว่าราชการกทม. หรือ ผู้ว่าราชการจังหวัด โดยคำแนะนำของคณะกรรมการโรคติดต่อ แล้วแต่กรณี กำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาอนุญาตของพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่จัดกิจกรรมและสถานการณ์ในแต่ละพื้นที่รับผิดชอบ

ข้อ 2 การปิดสถานบริการหรือสถานที่เสี่ยงต่อกาแพร่โรคทั่วราชอาณาจักร ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดสั่งปิดสถานบริการ สถานประกอบการที่มีลักษณะคล้ายสถานบริการ สถานบันเทิง ผับ บาร์ คาราโอเกะ สถานประกอบกิจการอาบน้ำ สถานประกอบกิจการอาบอบนวด หรือ สถานที่อื่นที่มีลักษณะคล้ายกัน โดยให้สั่งปิดสถานที่ดังกล่าวเป็นการชั่วคราวอย่างน้อย 14 วัน

ข้อ 3 การกำหนดพื้นที่สถานการณ์ กำหนดเขตพื้นที่สถานการณ์เพื่อการบังคับใช้มาตรการควบคุมแบบบูรณาการ จำแนกตามพื้นที่ดังนี้  (1) พื้นที่ควบคุมสูงสุด (สีแดง) 18 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ ชลบุรี สมุทรปราการ ประจวบคีรีขันธ์ สมุทรสาคร ปทุมธานี นครปฐม ภูเก็ต นครราชสีมา นนทบุรี สงขลา ตาก อุดรธานี สุพรรณบุรี สระแก้ว ระยอง และขอนแก่น และระดับที่ 2 พื้นที่ควบคุม (สีส้ม) จำนวน 59 จังหวัดที่เหลือ

ข้อ 4 มาตรการควบคุมแบบบูรณาการจำแนกตามพื้นที่สถานการณ์ กำหนดมาตรการควบคุมที่จำเป็นอย่างเร่งด่วน สำหรับสถานที่ กิจการ หรือ กิจกรรม เพื่อให้สามารถเปิดดำเนินการได้ภายใต้เงื่อนไข เงื่อนเวลา การจัดระบบและระเบียบ รวมทั้งมาตรการป้องกันโรคที่ทางราชการกำหนด เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 14 วัน

(1) พื้นที่ควบคุมสูงสุด ก.ให้บริโภคอาหารและเครื่องดื่มในร้านได้ไม่เกิน 21.00 น. และจำหน่ายได้จนถึง 23.00 น. ในลักษณะของการนำไปบริโภคที่อื่น

ข.ห้ามการบริโภคสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในร้าน

ค.ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอลล์ เปิดได้จนถึง 21.00 น. โดยให้จำกัดผู้ใช้บริการและงดจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย งดให้บริการตู้เกม เครื่องเล่น ร้านเกมและสวนสนุก

ง.ร้านสะดวกซื้อ ซูปเปอร์มาเกต ตลาดนัดกลางคืน ตลาดโต้รุ่ง ถนนคนเดิน เปิดได้ไม่เกิน 23.00 น. สำหรับร้านที่เปิดให้บริการ 24 ชั่วโมง เปิดได้เวลา 04.00 น.

5.สนามกีฬา ออกกำลังกาย ยิม ฟิตเนต เปิดได้ไม่เกิน 21.00 น. จัดการแข่งขันโดยจำกัดผู้ชมในสนาม

(2) พื้นที่ควบคุม

ก.จำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มและบริโภคในร้านได้ ไม่เกิน 23.00 น.

ข.ห้ามบริโภคสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกฮอล์ในร้าน

ค.ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอล เปิดถึง 21.00 น.โดยจำกัดจำนวนผู้ใช้บริการ งดกิจกรรมส่งเสริมการขาย งดบริการตู้เกม เครื่องเล่น ร้านเกมและสวนสนุก

ข้อ 5 ขอความร่วมมือให้ประชาชนงดหรือชะลอการการเดินทางในช่วงเวลานี้โดยไม่จำเป็น โดยเฉพาะการหลักเลี่ยงการเดินทางเข้าไปในเขตพื้นที่ควบคุมสูงสุด 18 จังหวัด 

ข้อ 6 ขอความร่วมมือเลื่อนหรืองดการจัดกิจกรรมสังสรรค์ งานเลี้ยงหรืองานรื่นเริงในช่วงนี้ เว้นแต่เป็นการจัดพิธีการตามประเพณีนิยมและมีมาตรการป้องกันโรคที่เพียงพอเพื่อลดโอกาสเสี่ยงจากการติดเชื้อ

ทั้งนี้ เป็นการเพิ่มเติมให้สามารถจัดงานตามประเพณีนิยมได้ เช่น งานแต่ง งานศพ งานบวช จากเดิมห้ามทั้งหมด

ข้อ 7 ขอความร่วมมือเจ้าของกิจการเอกชนปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้ง สลับวันทำงาน

ข้อ 8 จัดหาสถานที่เพื่อใช้เป็นสถานที่รองรับ ดูแลรักษา และแยกกัก กักกันตัวผู้ติดเชื้อหรือผู้มีเหตุอันควรสงสัยว่าติดเชื่อโดยด่วน โดยขอวามร่วมมือสถานศึกษา มหาวิทยาลัย โรงแรม หอประชุม สถานที่เอกชน

ข้อ 9 ให้ศปก.ศบค.พิจารณาประเมินสถานการณ์ เพื่อปรับเปลี่ยนระดับพื้นที่สถานการณ์และมาตรการควบคุมแบบบูรณาการ รวมทั้งแนวปฏิบัติตามพื้นที่สถานการณ์ได้ตามความเหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์และเสนอต่อนายกรัฐมนตรีเพื่ออนุมัติ

ผู้ว่ากทม.หรือผู้ว่าราชการจังหวัดอาจสั่งปิด จำกัด หรือ ห้ามดำเนินการของพื้นที่ สถานที่ หรือ พาหนะ หรือ สั่งให้งดการทำกิจกรรมซึ่งเสี่ยงจ่อการระบาดของโรคได้

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 18 เมษายน 2564 เป็นต้นไป

ที่มา : http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2564/E/082/T_0025.PDF | สำนักงานยุทธศาสตร์การศึกษา สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่