สพฐ. เดินหน้าขับเคลื่อนโรงเรียนคุณภาพของชุมชน บริหารจัดการโรงเรียนใน 3 รูปแบบ
สพฐ. เดินหน้าขับเคลื่อนโรงเรียนคุณภาพของชุมชน บริหารจัดการโรงเรียนใน 3 รูปแบบ

สพฐ. เดินหน้าขับเคลื่อนโรงเรียนคุณภาพของชุมชน บริหารจัดการโรงเรียนใน 3 รูปแบบ คือ โรงเรียนคุณภาพของชุมชน โรงเรียนมัธยมดีสี่มุมเมือง และโรงเรียน stand alone

สพฐ. เดินหน้าขับเคลื่อนโรงเรียนคุณภาพของชุมชน บริหารจัดการโรงเรียนใน 3 รูปแบบ
สพฐ. เดินหน้าขับเคลื่อนโรงเรียนคุณภาพของชุมชน บริหารจัดการโรงเรียนใน 3 รูปแบบ

วันที่ 25 พฤศจิกายน 2563 นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) เป็นประธานในการประชุมชี้แจงแนวทางการบริหารจัดการโรงเรียนคุณภาพของชุมชน ให้ผู้บริหารระดับสูง ผู้อำนวยการสำนัก ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศ และคณะทำงาน ได้รับฟังผ่านการประชุมวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ โดยออกอากาศสด ณ ห้องประชุม โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย กรุงเทพฯ

นายอัมพร พินะสา เลขาธิการ กพฐ. กล่าวว่า ตามนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รมว.ศธ.) ที่ต้องการยกระดับรายได้ของทุกจังหวัดทั่วประเทศด้วยการยกระดับการศึกษา โดยบริหารจัดการโรงเรียนใน 3 รูปแบบ คือ โรงเรียนคุณภาพของชุมชน โรงเรียนมัธยมดีสี่มุมเมือง และโรงเรียน stand alone นั้น สำหรับความจำเป็นในการสร้างโรงเรียนคุณภาพของชุมชน เนื่องจากสถานการณ์ปัจจุบันมีจำนวนเด็กนักเรียนลดลง แต่มีจำนวนโรงเรียนขนาดเล็กเพิ่มมากขึ้น ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาและเด็กขาดโอกาสทางการศึกษา ส่วนโรงเรียนดีสี่มุมเมือง เนื่องจากอัตราการแข่งขันของโรงเรียนในจังหวัดเพิ่มมากขึ้น มีนักเรียนเกินอัตราต่อห้องเรียน ทำให้มีพื้นที่ไม่เพียงพอต่อการจัดการเรียนรู้ และเกิดความเหลื่อมล้ำทางสังคมชนบท ขณะที่โรงเรียน stand alone ที่มีความยากลำบากในการเดินทาง เช่น บนพื้นที่สูง บนเกาะแก่ง ก็ยังต้องคงให้มีไว้ แต่ต้องพัฒนาให้มีคุณภาพอย่างเต็มที่

สพฐ. เดินหน้าขับเคลื่อนโรงเรียนคุณภาพของชุมชน บริหารจัดการโรงเรียนใน 3 รูปแบบ 3

นายอัมพร กล่าวต่อไปว่า ในเรื่องการสร้างโอกาสทางการศึกษา ที่ผ่านมาเราสามารถทำได้ครอบคลุมพอสมควร แต่ยังขาดในเรื่องของคุณภาพคน โดยปัจจัยที่จะทำให้คนมีคุณภาพได้ก็คือโรงเรียนต้องมีคุณภาพ ทั้งครูที่เก่ง อาคารสถานที่พร้อม หรือเครื่องมืออุปกรณ์การเรียนการสอนที่เพียงพอ ซึ่งในปัจจุบันพบว่าโรงเรียนที่มีขนาดเล็กอยู่แล้วจะยิ่งเล็กลง ขณะที่โรงเรียนขนาดใหญ่ก็จะยิ่งขยายใหญ่ขึ้น ดังนั้นเราต้องสร้างโรงเรียนคุณภาพให้เกิดขึ้นและกระจายไปทุกพื้นที่ทั่วประเทศ ก็จะทำให้เกิดความยั่งยืนได้ ซึ่งแต่ละพื้นที่ก็จะมีบริบทที่แตกต่างกัน ไม่สามารถเหมือนกันทั้งหมดได้ ในส่วนนี้ จังหวัดจะเป็นฐานในการกำหนดเป้าหมาย เพื่อการพัฒนาที่เหมาะสมกับบริบทของตัวเอง

“ขณะนี้อยู่ในช่วงของการจัดทำแผนพัฒนา โดยใช้จังหวัดภูเก็ตและจังหวัดสมุทรสงครามเป็นจังหวัดต้นแบบ เมื่อสำเร็จเรียบร้อยแล้วก็จะนำไปบริหารจัดการยกระดับการศึกษาของจังหวัดอื่นๆ ทั่วประเทศต่อไป” เลขาธิการ กพฐ. กล่าว

ขอบคุณที่มา : Facebook เพจ ประชาสัมพันธ์ สพฐ.

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่