การทับศัพท์ และศัพท์บัญญัติของคำว่า
การทับศัพท์ และศัพท์บัญญัติของคำว่า "New Normal" นิวนอร์มัล,ความปกติใหม่, ฐานวิถีชีวิตใหม่

การทับศัพท์ และศัพท์บัญญัติของคำว่า ‘New Normal‘ นิวนอร์มัล,ความปกติใหม่, ฐานวิถีชีวิตใหม่

เมื่อวันศุกร์ที่ 15 พฤษภาคม 2563 ศ.นพ. สุรพล อิสรไกรศีล นายกราชบัณฑิตยสภา โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว เล่าเบื้องถึงการทับศัพท์ และบัญญัติศัพท์ ดังนี้ ราชบัณฑิตบัญญัติศัพท์คำว่า “New normal ” การพิจารณาศัพท์บัญญัติและนิยามของคำว่า New normal และ New norm

ราชบัณฑิตยสภาได้แต่งตั้งคณะกรรมการบัญญัติศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับหลายสาขาวิชาและที่จำเป็นเร่งด่วน คณะกรรมการชุดนี้ มีหน้าที่บัญญัติศัพท์ใหม่ที่อยู่ในกระแสสังคมร่วมสมัย รวมทั้งศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับหลากหลายสาขาวิชาและมีความจำเป็นต้องใช้งาน นอกจากนี้มีหน้าที่เผยแพร่ศัพท์ที่บัญญัติไปสู่สาธารณะชนอีกด้วย

คำว่า New normal ได้มีการนำมาใช้อย่างแพร่หลายในช่วงที่มีการระบาดของโรคโควิด-19 

คำว่า New normal เป็นวลีและเป็นสำนวน ซึ่ง Oxford dictionary ได้ให้คำนิยามว่า

A previously unfamiliar or atypical situation that has become standard,usual, or expected.

หมายถึงสถานการณ์หรือปรากฏการณ์ ที่แต่เดิมเป็นสิ่งที่ไม่ปรกติ ผู้คนไม่คุ้นเคย ไม่ใช่มาตรฐาน ต่อมา มีเหตุหรือเกิดวิกฤติบางอย่าง จึงมีการเปลี่ยนแปลง ทำให้สถานการณ์หรือปรากฏการณ์นั้นกลายเป็นสิ่งที่ปรกติและเป็นมาตรฐาน

กรรมการได้ให้ความเห็นว่าคำจำกัดความของคำว่า New normal เป็นพลวัตและคำนี้มีที่ใช้ในหลายบริบท ไม่ใช่เฉพาะในทางธุรกิจหรือวิถีชีวิตเท่านั้น จึงเป็นการยากที่จะหาคำกลางๆที่จะใช้ได้ในทุกบริบท จึงมีข้อสรุปร่วมกันว่า ควรจะเขียนคำนี้ทับศัพท์ภาษาอังกฤษว่า “นิวนอร์มัล” จะสื่อความหมายได้ดีกว่า

อย่างไรก็ตามคณะกรรมการบัญญัติศัพท์นิเทศศาสตร์ได้บัญญัติคำนี้ไว้แล้วว่า ความปรกติใหม่, ฐานวิถีชีวิตใหม่ คณะกรรมการจึงมีความเห็นว่าสามารถใช้สองคำนี้ได้ด้วย

อีกคำหนึ่งคือ New norm คณะกรรมการให้ใช้คำว่า”บรรทัดฐานใหม่”

สรุป New normal = นิวนอร์มัล, ความปรกติใหม่,ฐานวิถีชีวิตใหม่

New norm. =. บรรทัดฐานใหม่

อ้างอิง: https://www.facebook.com/surapol.issaragrisil/posts/10207392559168907

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่