วิทยาการคำนวณ โค้ดดิ้ง Unplugged Coding สำหรับปฐมวัย
วิทยาการคำนวณ โค้ดดิ้ง Unplugged Coding สำหรับปฐมวัย

วิทยาการคำนวณ โค้ดดิ้ง Unplugged Coding สำหรับปฐมวัย

โค้ดดิ้ง Unplugged Coding สำหรับปฐมวัย คือการเรียนวิทยาการคำนวณโดยไม่ใช้คอมพิวเตอร์ เน้นเรียนแบบทำกิจกรรม เกมส์ เป็นต้น เรียนรู้จากการลงมือทำ ดังนั้นจะไม่ใช่แค่วิทยาการคำนวณอย่างเดียวที่ได้จากการทำกิจกรรม Unplugged ยังได้เรียนรู้ในเรื่อง การเขียนโปรแกรม การสร้างอัลกอริทึม การใช้คอมพิวเตอร์วิทยาการแบบพื้นฐาน การแก้ปัญหา และที่สำคัญกิจกรรม Unplugged ยังช่วยให้ผู้สอนและผู้เรียนสนิทกันมากขึ้น เปรียบเสมือนกับการเปิดใจก่อนเรียน และกิจกรรม Unplugged สามารถเรียนได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ตามโจทย์ที่ได้ออกแบบ

วิทยาการคำนวณ โค้ดดิ้ง Unplugged Coding สำหรับปฐมวัย 7

สาระสำคัญ

1.1 การจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาการคอมพิวเตอร์สำหรับเด็กปฐมวัยว่าครูควรจัดประสบการณ์อยู่ในบริบทของเด็กปฐมวัยด้วยการต่อยอดจากกิจวัตรประจำวันในสภาพแวดล้อมปกติของเด็กหรือกิจกรรมที่ครูจัดประสบการณ์ให้กับเด็กอยู่แล้ว การจัดประสบการณ์การเรียนรู้นี้ควรอยู่บนฐานของการเรียนรู้ผ่านการเล่น เน้นการส่งเสริมพัฒนาการด้านสังคมและอารมณ์จิตใจและจัดประสบการณ์การเรียนรู้อย่างเป็นองค์รวม ครูควรมุ่งเน้นการพัฒนาแนวคิดและความสามารถที่เป็นพื้นฐานของการคิดเชิงคำนวณและการเขียนโค้ด ได้แก่ แบบรูป (Patterns) การแก้ปัญหา (Problem solving) การใช้ตัวแทน (Representation) และการเรียงลำดับ (Sequencing) ซึ่งควรจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยบูรณาการกับการเรียนรู้ภาษา วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย

1.2 การจัดการเรียนรู้การคิดเชิงคำนวณและการเขียนโค้ดจัดอยู่ในสาระวิทยาการคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในสาระวิทยาการคำนวณ ในมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

1.3 การส่งเสริมให้เด็กมีลักษณะนิสัยและทักษะพื้นฐานของการเป็นโปรแกรมเมอร์สามารถเริ่มได้ตั้งแต่ในระดับปฐมวัย ครูและผู้ปกครองสามารถส่งเสริมได้ด้วยการเป็นแบบอย่างของการคิดอย่างเป็นระบบ ปลูกฝังให้เด็กคิดและทำสิ่งต่างๆ อย่างมีระบบระเบียบผ่านกิจวัตรและกิจกรรมประจำวันรวมทั้งจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้เด็กได้รับการปูพื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และส่งเสริมการคิดเชิงคำนวณและการเขียนโค้ดอย่างเหมาะสมกับพัฒนาการตามวัย

1.4 การที่เด็กมีความสามารถในการคิดเชิงคำนวณจะส่งเสริมให้เด็กสามารถเขียนโค้ดได้ ขณะเดียวกัน

การฝึกให้เด็กเขียนโค้ดก็จะเป็นการส่งเสริมให้เด็กได้พัฒนาการคิดเชิงคำนวณไปด้วย

เป้าหมายและขอบเขตของการเรียนรู้วิทยาการคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560

2.1 เป้าหมายของการเรียนรู้วิทยาการคอมพิวเตอร์สำหรับเด็กระดับปฐมวัย ที่เป็นพื้นฐานของการเรียนรู้ในระดับประถมศึกษา ได้แก่ 1) แก้ปัญหาอย่างง่ายได้ 2) แสดงลำดับขั้นตอนการทำงานโดยใช้ภาพและ/หรือสัญลักษณ์ 3) เขียนโค้ดอย่างง่ายโดยใช้สื่อแบบไม่ใช้คอมพิวเตอร์ ผ่านการเล่น ซึ่งในระดับอนุบาล โค้ด หมายถึง สัญลักษณ์แทนการดำเนินการ อาจเป็นภาพตัวอักษร ตัวเลข คำ หรืออักขระพิเศษ และการเขียนโค้ด หมายถึง การเขียนสัญลักษณ์แทนคำสั่งอย่างง่ายในการดำเนินการอย่างเป็นลำดับ 2.2 หากเด็กอนุบาลได้เรียนรู้วิทยาการคอมพิวเตอร์ตามเป้าหมาย 3 ประการนี้ จะทำให้เด็กได้รับ

การพัฒนาการให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์และตัวบ่งชี้ของหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 ได้แก่ มาตรฐานที่ 9 ใช้ภาษาสื่อสารได้เหมาะสมกับวัย ตัวบ่งชี้ที่ 9.2 อ่าน เขียนภาพ และสัญลักษณ์ได้ และมาตรฐานที่ 10มีความสามารถในการคิดที่เป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ ตัวบ่งชี้ที่ 10.1 มีความสามารถในการคิดรวบยอด และตัวบ่งชี้ที่ 10.3 มีความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและตัดสินใจ

2.3 ในหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 มีประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญาซึ่งเป็นการปูพื้นฐานของการเรียนรู้วิทยาการคอมพิวเตอร์ในด้านการแก้ปัญหาแบบรูป การเรียงลำดับและการใช้ตัวแทน และเป็นการส่งเสริมการคิดเชิงคำนวณ รวมถึงการเขียนโค้ด ครูผู้สอนสามารถนำไปใช้ในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับเด็ก โดยเลือกประสบการณ์สำคัญที่เป็นหลักในการจัดกิจกรรมอย่างเหมาะสมกับเวลาและกิจกรรม และควรบูรณาการเข้ากับกิจกรรมประจำวัน

วิทยาการคำนวณ โค้ดดิ้ง Unplugged Coding สำหรับปฐมวัย
วิทยาการคำนวณ โค้ดดิ้ง Unplugged Coding สำหรับปฐมวัย

แนวทางการจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาการคอมพิวเตอร์ในระดับอนุบาล

วิทยาการคำนวณ โค้ดดิ้ง Unplugged Coding สำหรับปฐมวัย 8

3.1 การส่งเสริมการเรียนรู้วิทยาการคอมพิวเตอร์ในระดับอนุบาล ควรเริ่มต้นจากการปูพื้นฐานทางด้านสติปัญญาในด้าน ภาษา วิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์โดยทั่วไปให้กับเด็กก่อน โดยจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบบูรณาการผ่านการเล่นร่วมกันในลักษณะต่างๆ จากนั้นจึงพัฒนาแนวคิดและทักษะที่เป็นพื้นฐานของการเรียนรู้วิทยาการคอมพิวเตอร์โดยตรง ได้แก่การแก้ปัญหา แบบรูป การเรียงลำดับ และการใช้ตัวแทน เมื่อเด็กมีพื้นฐานแล้วจึงจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาการคิดเชิงคำนวณและการเขียนโค้ดซึ่งเป็นแนวคิดและทักษะของวิทยาการคอมพิวเตอร์

3.2 การพัฒนาการคิดเชิงคำนวณ สามารถจัดเป็นกิจกรรมที่มุ่งพัฒนาแต่ละองค์ประกอบแยกกัน เช่นกิจกรรมฝึกการสร้างแบบรูป กิจกรรมฝึกการจัดเรียงลำดับสิ่งของหรือเหตุการณ์ หรืออาจจัดเป็นกิจกรรมที่ต้องใช้ทุกองค์ประกอบของการคิดเชิงคำนวณร่วมกัน เช่น กิจกรรมที่ต้องใช้กระบวนการการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ การสืบเสาะหาความรู้ หรือการสร้างชิ้นงาน

ดร.เทพกัญญา พรหมขัติแก้ว นักวิชาการสาขาวิทยาศาสตร์ประถมศึกษา สสวท. กล่าวถึงแนวทางในการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กอนุบาลว่า
“แนวทางของ สสวท.คือต้องการให้คุณครูบูรณาการวิทยาศาสตร์เข้าไปในการเรียนการสอนปกติของ เด็ก ๆ ซึ่งครูและนักการศึกษาปฐมวัยอาจจะมีคำถามว่า
จะต้องแยกวิทยาศาสตร์ออกมาเป็นอีกวิชาหนึ่งไหม จริง ๆ คือไม่ต้อง เพราะการเรียนรู้ในระดับปฐมวัยจะเน้นการเรียนรู้แบบองค์รวม ไม่ต้องแยกเป็นวิชา
เพราะวิทยาศาสตร์คือกระบวนการการเรียนรู้ อยากให้คุณครูมองว่า มันคือการเรียนรู้ธรรมชาติรอบตัวของเด็กๆ”

” สำหรับปัญหาที่พบในขณะนี้ก็คือ บางครั้งเด็กมีคำถาม แล้วครูตอบไม่ได้ เพราะเราก็ต้องเข้าใจครูปฐมวัยด้วยว่า อาจไม่มีพื้นฐานในสายวิทย์มากนัก
ดังนั้นเมื่อครูเกิดตอบคำถามเด็กไม่ได้ก็จะเกิดหลายกรณีตามมา เช่น ครูบอกเด็กว่า เธออย่าถามเลย เด็กก็ถูกปิดกั้นการเรียนรู้ไปเสียอีก กับอีกแบบ
คือ ครูตอบคำถามเด็ก ซึ่งกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ควรจะเป็นการเรียนรู้ไปด้วยกัน ให้เด็กหาคำตอบด้วยตัวเอง ไม่ใช่รอให้ครูหามาป้อน และถ้าครูตอบผิดเด็กก็อาจจำไปผิด ๆ ได้”
นอกจากนี้ ดร.เทพกัญญา ยังได้ให้แนวทางในการ “สืบเสาะความรู้ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็ก”

อันประกอบแนวทางปฏิบัติ 5 ข้อดังนี้

1. ตั้งคำถามที่เด็กสามารถตรวจสอบได้ด้วยตัวเอง เช่น คำถามเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว หรือโลกของเรา
2. ออกไปหาคำตอบด้วยกัน เนื่องจากคำถามในระดับเด็กอนุบาลมักจะเปิดกว้าง ดังนั้นการค้นหาคำตอบอาจมีครูคอยช่วยจัดประสบการณ์ให้เด็กตามที่เขาตั้งขึ้น
3. เมื่อขั้นสองสำเร็จ เด็กจะเอาสิ่งที่เขาค้นพบมาไปตอบคำถามของเขาเอง ในขั้นนี้คุณครูอาจช่วยเสริมในแง่ของความครบถ้วนสมบูรณ์หรือในด้านของเหตุและผล
4. นำเสนอสิ่งที่เขาสำรวจตรวจสอบมาแล้วให้กับเพื่อน ๆ
5. การนำสิ่งที่เด็กค้นพบคำตอบนั้นไปเชื่อมโยงกับคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์

สำหรับข้อ 5 นั้น ดร.เทพกัญญากล่าวว่า ในระดับเด็กอนุบาลอาจยังไม่สามารถก้าวไปถึงจุดนั้นได้ อาจต้องเป็นเด็กชั้นประถมศึกษาขึ้นไปแต่คุณครูก็ไม่ควรละเลย หากมีเด็กอนุบาลบางคนเข้าใจ คุณครูก็อาจช่วยให้เขาสามารถอธิบายได้แบบวิทยาศาสตร์ แต่ถ้าไม่ถึงก็ไม่จำเป็นต้องเคี่ยวเข็ญเด็ก ๆแต่อย่างใดไม่ เพียงแต่คุณครูและโรงเรียนที่จะเป็นผู้ส่งเสริมทักษะด้านวิทยาศาสตร์ให้กับ เด็ก ๆ แต่พ่อและแม่เองนั้นก็มีบทบาทมากเช่นกัน แนวทางดี ๆ ข้างต้นอาจเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยให้เด็ก ๆ และครอบครัวในยุคต่อไปเข้าใจ และรักใน “วิทยาศาสตร์” ได้มากขึ้น

วิทยาการคำนวณ โค้ดดิ้ง Unplugged Coding สำหรับปฐมวัย 9
วิทยาการคำนวณ โค้ดดิ้ง Unplugged Coding สำหรับปฐมวัย 10
วิทยาการคำนวณ โค้ดดิ้ง Unplugged Coding สำหรับปฐมวัย 11

ขอบคุณ : ศน.กัญจนา มีศิริ สพป.เพชรบูรณ์ เขต 3

บทความที่เกี่ยวข้อง

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่