วิจัยเผย 48% ของเด็กไทย เคยถูกบุลลี่ อันดับ 1 คือเรื่อง รูปลักษณ์และเพศ สูงถึง 36.4%
วิจัยเผย 48% ของเด็กไทย เคยถูกบุลลี่ อันดับ 1 คือเรื่อง รูปลักษณ์และเพศ สูงถึง 36.4%

วิจัยเผย 48% ของเด็กไทย เคยถูกบุลลี่ อันดับ 1 คือเรื่อง รูปลักษณ์และเพศ สูงถึง 36.4%

หลายคนคงเคยได้ยินคำว่า Cyber  Bullying ที่แปลว่า การกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์  เป็นการกระทำรูปแบบหนึ่งที่เกิดขึ้นบนแพลตฟอร์มออนไลน์ โดยการใช้อำนาจเพื่อให้ผู้อื่น ตกใจกลัว รู้สึกแย่ รู้สึกไร้ค่า กลายเป็นตัวตลกของสังคม ซึ่งจะเห็นได้ชัดในยุคปัจจุบัน ที่ทุกคนมีสื่อโซเชียลอยู่ในมือ ซึ่งสิ่งนี้เปรียบเสมือนอาวุธที่คอยทิ่มแทงใจคนที่ตกเป็นเป้าหมายของสังคม ตัวอย่างเช่น การรุมด่า การใช้คำพูดสร้าง Hate Speech ซึ่งคนกระทำไม่คิดอะไร ส่วนคนถูกกระทำก็เก็บมาใส่ใจจนกลายเป็นซึมเศร้า

จากงานวิจัยและการศึกษาหลายชิ้นพบว่า สถานศึกษาเป็นแหล่งเกิดของ“วัฒนธรรมการบูลลี่ และเกิดขึ้นตั้งแต่ในระดับอนุบาล เนื่องจาก “ความไม่รู้ของเด็ก” เวลาอยู่รวมกันในสังคมแล้วเจอเพื่อนที่แตกต่าง ทำให้รู้สึกว่า ถ้าเพื่อนคนไหนที่ไม่เหมือนเรา จะเป็นตัวตลก ตัวประหลาด บวกกับว่าพอได้เริ่มล้อเลียนแล้วก็รู้สึกสนุกปาก เหมือนเป็นเรื่องขำๆในกลุ่มเพื่อน อีกทั้งพูดไปก็ไม่มีใครทำโทษอะไร เพราะผู้ใหญ่เห็นว่า “ก็แค่เด็กเล่นกัน” มันจึงถูกปลูกฝัง กลายเป็นพฤติกรรม เป็นปัญหาเชิงโครงสร้างทางสังคม กลายเป็นวงจรการบูลลี่ต่อไป แล้วจะทวีคูณความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆด้วย

วิจัยเผย 48% ของเด็กไทย เคยถูกบุลลี่ อันดับ 1 คือเรื่อง รูปลักษณ์และเพศ สูงถึง 36.4% 3

อีกทั้งปัจจุบัน โลกโซเชียล ถือเป็นพื้นที่อิสระที่ให้อำนาจแก่ปัจเจกบุคคล เวลาโกรธ โมโห อารมณ์ไม่ดี ก็พิมพ์สิ่งที่ตัวเองคิดลงไปได้ จึงทำให้ลามไปเป็นการบูลลี่กลุ่มใหญ่หรือบูลลี่ใครบางคนในที่สาธารณะ และกลายเป็นเรื่องบานปลายใหญ่โต หรือกลายเป็นความรุนแรงที่ไม่สามารถหยุดยั้งได้ เนื่องจากในโลกออนไลน์ไม่มีกติกาหรือตัวกลางในการตัดสิน

วิจัยเผย 48% ของเด็กไทย เคยถูกบุลลี่ อันดับ 1 คือเรื่อง รูปลักษณ์และเพศ สูงถึง 36.4% 4

จากสถิติการถูกรังแกบนโลกออนไลน์ (Cyberbullying) พบว่า 48% ของเด็กไทย เคยเกี่ยวข้องกับการรังแกบนโลกออนไลน์ ในขณะที่ค่าเฉลี่ยของทั่วโลกอยู่ที่ 33% และ 41% ของเด็กไทย เคยถูกรังแกบนโลกออนไลน์ ในขณะที่ค่าเฉลี่ยของทั่วโลกอยู่ที่ 39% โดยเด็กผู้ชาย 56% รู้เห็นหรือเกี่ยวข้องกับการรังแกออนไลน์มากกว่าเด็กผู้หญิง 41% และในกลุ่มของเด็กอายุ 13 ปี ขึ้นไป พบว่าเด็กผู้หญิงที่เคยถูกรังแกบนโลกออนไลน์มีจำนวน 43% ในขณะที่เด็กผู้ชายอยู่ที่ 37%

ในขณะที่แคมเปญบนทวิตเตอร์ เป็นการถามชาวทวิตว่า#คำด่าไหนฝังใจที่สุด ซึ่งได้รับความสนใจและมีคน Retweet มากกว่า 700 เรื่องราวที่โดนบูลลี่ และเราได้พบ insights ที่น่าสนใจสรุปได้ว่า ชาวทวีตเตอร์รู้สึกว่า การด่าว่าของ “พ่อแม่” และ “เพื่อนที่โรงเรียน” สร้างความเจ็บปวดฝังใจที่สุด และมีผลต่อความคิดและบุคลิกภาพในปัจจุบัน

ขอบคุณที่มาและอ่านต่อที่ เว็บไซต์ Droidsans

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่