แนวปฏิบัติในการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญจักรพรรดิมาลาให้แก่ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พนักงานราชการ และลูกจ้างประจำ (หมวดฝีมือ) ประจำปี 2564
แนวปฏิบัติในการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญจักรพรรดิมาลาให้แก่ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พนักงานราชการ และลูกจ้างประจำ (หมวดฝีมือ) ประจำปี 2564

แนวปฏิบัติในการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญจักรพรรดิมาลาให้แก่ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พนักงานราชการ และลูกจ้างประจำ (หมวดฝีมือ) ประจำปี 2564

แนวปฏิบัติในการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญจักรพรรดิมาลา
แนวปฏิบัติ ในการขอพระราชทาน เครื่องราชอิสริยาภรณ์ และ เหรียญจักรพรรดิมาลา

ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ผู้ที่จะเสนอขอพระราชทาน เครื่องราชอิสริยาภรณ์ทุกชั้นตรา จะต้องรับราชการติดต่อกันไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ (นับตั้งแต่วันบรรจุก่อนวันพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาของปีที่เสนอขอพระราชทาน ไม่น้อยกว่า 60 วัน (บรรจุครบ 5 ปี ไม่เกินวันที่ 29 พฤษภาคม 2559)  

1. ชั้นสายสะพาย

      ชั้น ป.ม.      กรณีปกติ      

  1. เป็นข้าราชการระดับ 9 (เดิม) หรือ คศ.4 มีวิทยฐานะเชี่ยวชาญ (ครูเชี่ยวชาญ หรือ ผู้อำนวยการเชี่ยวชาญ) และได้ ท.ช. มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปีบริบูรณ์ (ได้ ท.ช. ก่อนปี พ.ศ.2559)
  2. เป็นบุคลากรทางการศึกษาตามมาตรา 38 ค. (2) ระดับชำนาญการพิเศษ ได้รับเงินเดือนขั้นสูง ขั้น 58,390 บาท  และได้ ท.ช. มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี บริบูรณ์    (ได้ ท.ช. ก่อนปี พ.ศ.2559)

กรณีเกษียณ ขอได้ในปีที่เกษียณอายุราชการเท่านั้น และจะต้องดำรงตำแหน่งบังคับบัญชา(ตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา) ได้รับเงินเดือนเต็มขั้นของอันดับ คศ.3 คือขั้น 58,390 บาท และได้ ท.ช. มาแล้ว  ไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ (ได้ ท.ช. ก่อนปี พ.ศ.2559)

*** ข้าราชการระดับ 9 หรือ คศ.4 วิทยฐานะเชี่ยวชาญ ในปีที่เกษียณอายุราชการให้ขอสูงขึ้นอีก 1 ชั้นตรา แต่ไม่เกิน ป.ช. โดยเสนอขอปีติดกันได้ เว้นกรณีลาออก

      ชั้น ป.ช.      ได้ ป.ม. มาแล้วครบ 3 ปีบริบูรณ์ (ได้ ป.ม. ก่อนปี พ.ศ.2561)

      ชั้น ม.ว.ม.  ได้ ป.ช. มาแล้วครบ 5 ปีบริบูรณ์ (ได้ ป.ช. ก่อนปี พ.ศ.2559)

      ชั้น ม.ป.ช.  ได้ ม.ว.ม. มาแล้วครบ 5 ปีบริบูรณ์ (ได้ ม.ว.ม. ก่อนปี พ.ศ.2559)

เอกสารที่ใช้ประกอบคำขอพระราชทาน เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ชั้นสายสะพาย มีดังนี้

  1. แบบรายงานการเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (แบบ รร.1)              จำนวน  1  ฉบับ
  2. บัญชีแสดงคุณสมบัติของข้าราชการ (แบบ ขร 4) โดยผู้บริหารสถานศึกษา             จำนวน  1  ฉบับ ลงนามรับรองความถูกต้อง
  3. สำเนาทะเบียนบ้าน  ผู้เสนอขอรับรองสำเนาถูกต้อง                                        จำนวน  3  ชุด
  4. สำเนาบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ ผู้เสนอขอรับรองสำเนาถูกต้อง                     จำนวน  3  ฉบับ
  5. สำเนา ก.พ.7 (ลงรายการเป็นปัจจุบัน) รับรองสำเนาโดยเจ้าหน้าที่ สพม. เขต 5        จำนวน 3  ชุด
  6. สำเนาคำสั่งแต่งตั้ง (เลื่อน) ให้ดำรงตำแหน่งที่ได้รับเงินเดือน ในระดับ 9 หรือ คศ.4 วิทยฐานะเชี่ยวชาญ  ในระดับ 8 หรือ คศ.3 วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ เฉพาะการเสนอขอชั้น ป.ม.  ผู้เสนอขอรับรองสำเนาถูกต้อง จำนวน  3  ชุด
  7. สำเนาคำสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือน 1 ต.ค. 2563  ผู้เสนอขอรับรองสำเนาถูกต้อง             จำนวน  3  ชุด
  8. หนังสือรับรองความประพฤติ เจ้าหน้าที่ สพม.เขต 5  เป็นผู้ออกหนังสือรับรอง        จำนวน  3  ชุด
  9. สำเนาประกาศนียบัตรกำกับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (ท.ช., ป.ม. หรือ ป.ช. แล้วแต่กรณี)       จำนวน  3  ชุด

2. ชั้นต่ำกว่าสายสะพาย

ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ผู้ที่จะเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทุกชั้นตรา จะต้องรับราชการติดต่อกันไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ (นับตั้งแต่วันบรรจุ ก่อนวันพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาของปีที่เสนอขอพระราชทาน ไม่น้อยกว่า 60 วัน (ไม่เกินวันที่ 29 พฤษภาคม ของปีที่เสนอขอพระราชทาน)  เข้าหลักเกณฑ์ตามบัญชี 41

–  กรณีที่ข้าราชการถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดอาญาอยู่ระหว่างการสอบสวนของเจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือระหว่างดำเนินคดีทางศาล หรือถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอยู่ระหว่างสืบสวน หรือสอบสวนพิจารณาโทษ ก่อนการเสนอขอพระราชทาน แม้ผู้นั้นยังไม่ได้ชื่อว่าเป็นผู้กระทำผิดจริงตามที่ถูกกล่าวหาทางอาญา หรือวินัย ให้รอการพิจารณาการขอพระราชทานไว้ก่อน

ถ้าเคยขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์  ห้ามขอปีติดกัน

– การเสนอขอพระราชทานเหรียญจักรพรรดิมาลา ให้นับเวลาตั้งแต่เริ่มรับราชการจนครบ 25  ปีบริบูรณ์(กรณีเริ่มรับราชการก่อนอายุครบ  18  ปีบริบูรณ์ ให้เริ่มนับตั้งแต่อายุ 18 ปีบริบูรณ์และไม่นับเวลา ที่เป็นข้าราชการวิสามัญและเวลาที่เป็นครูประชาบาล) กรณีนับเวลาครบ 25 ปีบริบูรณ์ นับถึงวันที่  27 กรกฎาคม  ของปีที่ขอพระราชทาน  ( ปี 2564)

–  สำหรับผู้ที่จะขอเหรียญจักรพรรดิมาลา ในปีนี้ (ปี 2563) ต้องบรรจุเข้ารับราชการปี  พ.ศ. 2539   (นับระยะเวลาตั้งแต่วันบรรจุเข้ารับราชการจนถึงวันที่  27 กรกฎาคม 2564) (ยกเว้น ผู้ที่เกษียณอายุราชการ ในวันที่  1 ตุลาคม 2563 ให้นับระยะเวลารับราชการถึงวันที่ 30 กันยายน 2563 หรือบรรจุก่อนวันที่ 2 ตุลาคม 2538)

เอกสารที่ใช้ประกอบการเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ชั้นต่ำกว่าสายสะพาย มีดังนี้

  1. แบบรายงานการเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (แบบ รร.1)  จำนวน 1  ฉบับ
  2. บัญชีแสดงคุณสมบัติของข้าราชการ (แบบ ขร 4) โดยผู้บริหารสถานศึกษา ลงนามรับรองความถูกต้อง     จำนวน  1  ฉบับ
  3. สำเนา ก.พ.7 (ลงรายการเป็นปัจจุบัน) ผู้เสนอขอรับรองสำเนาถูกต้อง        จำนวน 2  ชุด
  4. สำเนาทะเบียนบ้าน ผู้เสนอขอรับรองสำเนาถูกต้อง                   จำนวน 2 ชุด

หมายเหตุ  

– เอกสารทุกอย่างที่แนบมาต้องแยกในการขอแต่ละชั้นตรา (กรณีขอ ร.จ.พ. ด้วย)

– ตรวจสอบสำเนาหลักฐาน ก.พ. 7 ให้ถูกต้องชัดเจน (ลงรายการเป็นปัจจุบัน)

3.  การขอพระราชทานเหรียญจักรพรรดิมาลา  (ร.จ.พ.)

  1. ให้ตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ที่จะเสนอขอพระราชทานตามพระราชบัญญัติเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา พ.ศ.2484
  2. ต้องเป็นผู้ที่ไม่เคยถูกลงโทษทางวินัย
  3. การนับเวลาราชการให้นับตั้งแต่เริ่มรับราชการจนครบ 25 ปีบริบูรณ์ (กรณีเริ่มรับราชการก่อนอายุครบ 18 ปี บริบูรณ์ ให้เริ่มนับตั้งแต่วันที่อายุครบ 18 ปีบริบูรณ์ ไม่นับเวลาที่เป็น ข้าราชการวิสามัญและเวลาที่เป็นครูประชาบาล)
  4. ผู้ที่จะขอพระราชทานเหรียญจักรพรรดิมาลา ต้องบรรจุเป็นข้าราชการมาแล้วครบ 25 ปีบริบูรณ์ คือบรรจุเข้ารับราชการก่อนวันที่ 28 กรกฎาคม 2539 (ยกเว้นผู้ที่เกษียณอายุราชการ ในวันที่ 1 ตุลาคม 2563  ให้นับระยะเวลาการรับราชการถึงวันที่ 30 กันยายน 2563 หรือบรรจุก่อนวันที่ 2 ตุลาคม 2538)
  5. ผู้ที่จะขอพระราชทานเหรียญจักรพรรดิมาลา (กรณีมีคุณสมบัติสามารถเสนอขอพระราชทาน  เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ชั้น ท.ช. และ ร.จ.พ. ได้ในปีเดียวกัน ก็สามารถเสนอขอพร้อมกันได้) 

เอกสารที่ใช้ประกอบการเสนอขอพระราชทานเหรียญจักรพรรดิมาลา

  1. แบบ รร.1      จำนวน   1    ชุด
  2. แบบ ขร 7     จำนวน 1 ชุด    โดยผู้บริหารสถานศึกษาลงนามรับรองความถูกต้อง
  3. แบบประวัติสำหรับเสนอขอพระราชทานเหรียญจักรพรรดิมาลาประจำปี 2564    จำนวน  3  ชุด  
  4. สำเนา ก.พ.7   ที่เป็นปัจจุบันและรับรองสำเนาโดยเจ้าหน้าที่ สพม.                     จำนวน  1  ชุด
  5. สำเนาทะเบียนบ้าน  (เฉพาะหน้าที่มีรายชื่อผู้ขอพระราชทาน)  ผู้เสนอขอรับรองความถูกต้อง     จำนวน  1  ชุด

โดยผู้ขอพระราชทานเหรียญจักรพรรดิมาลาจะต้องพิมพ์รายการประวัติของตน  ดังนี้

  1. พิมพ์เรียงตามลำดับตั้งแต่เริ่มบรรจุเข้ารับราชการ (ไม่รวมช่วงระยะเวลาที่เป็นข้าราชการวิสามัญ หรือพนักงานเทศบาลวิสามัญ) จนถึงปัจจุบัน คือ วันที่ 1 ตุลาคม 2563 และลงรายการสุดท้าย ในบรรทัดต่อมา ในช่อง วัน/เดือน/ปี ที่รับราชการว่า “จนถึงปัจจุบัน”    
  2. ลงรายการทุกปี  (ห้ามเว้นปีพ.ศ.) หากเว้นหายไปจะไม่ได้รับการพิจารณา  
  3. หากมีกรณีที่ไม่ได้รับการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนในปีงบประมาณใด  หรือมีประวัติการรับราชการไม่ต่อเนื่องในช่วงปี พ.ศ. ใด   ให้ลงรายละเอียดกรณีนั้น ๆ  ไว้ในช่องหมายเหตุให้ชัดเจนด้วย เช่นลาศึกษาต่อ
  4. ลงรายการไม่เกินสองหน้ากระดาษ  ขนาด A4  
  5. ให้เจ้าของประวัติ   ลงลายมือชื่อด้วยปากกาสีน้ำเงิน  ทั้ง  4 ชุด  ห้ามสำเนาหรือถ่ายเอกสารส่ง ในการนี้  ให้โรงเรียนจัดเรียงประวัติตามลำดับรายชื่อให้ตรงกับบัญชีรายชื่อผู้เสนอขอพระราชทาน ร.จ.พ.  ในแบบแสดงคุณสมบัติฯ ขร 7 ตั้งแต่คนแรกจนถึงคนสุดท้าย

คำอธิบายการพิมพ์รายการในประวัติการเสนอขอพระราชทานเหรียญจักรพรรดิมาลา

  1. บรรทัดที่ 1 (ในตาราง) ให้พิมพ์วันเดือนปีที่บรรจุ/ตำแหน่ง สังกัด โรงเรียน อำเภอ จังหวัด
  2. บรรทัดที่ 2 เป็นต้นไปให้ลงรายการโดยใช้วันที่ 1 ต.ค. พ.ศ……. ปีพ.ศ.ถัดจากปีที่บรรจุ (กรณีที่มีปรับตามมติ ค.ร.ม. ให้ใส่ขั้นเงินเดือนที่ปรับตามมติ ค.ร.ม.) 
  3. เมื่อถึงปี พ.ศ.2544 ให้เปลี่ยนจาก 1 ต.ค….. เป็น 1 เม.ย. 44 ตามด้วย 1 ต.ค. 44 เพราะช่วง ปี 2544 เป็นต้นไป จะมีการเลื่อนขั้นเงินเดือนปีละ 2 ครั้ง ห้ามเว้นจนถึง พ.ศ.ปัจจุบัน ตามตัวอย่าง หากเว้นหายไปจะไม่ได้รับการพิจารณา และพยายามลงรายการให้อยู่ในหน้ากระดาษขนาด เอ 4   เดียวกัน ถ้ามีจำนวนปี พ.ศ.มาก อนุโลมให้ลงรายการในสองหน้ากระดาษได้) กรณีมีเลื่อนขั้นเงินเดือนตามมติ ค.ร.ม. ให้ลงขั้นเงินเดือนที่ได้ปรับตามมติ ค.ร.ม.)
  4. หากใน ก.พ.7 มีวันเดือนปีที่ซ้ำกัน เช่น กรณีที่ได้เลื่อนระดับจาก อาจารย์ 1 เป็น อาจารย์ 2  ณ วันที่  1 ต.ค….  ให้ลงรายการครั้งสุดท้ายและเงินเดือนครั้งสุดท้าย
  5.  บรรทัดสุดท้ายใช้คำว่า จนถึงปัจจุบัน

หมายเหตุ  ผู้บริหารหรือเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบกรุณาตรวจสอบรายละเอียดให้ถูกต้อง ตามตัวอย่างที่แนบมาพร้อมนี้ 

4.  แนวปฏิบัติ ในการขอพระราชทาน เครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่ลูกจ้างประจำ

             ลูกจ้างประจำที่จะเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์  จะต้องมีคุณสมบัติ ได้ดังนี้

      (1)  ต้องเป็นลูกจ้างประจำของส่วนราชการตามระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยลูกจ้างประจำของส่วนราชการ  

      (2)  ต้องเป็นลูกจ้างประจำที่มีชื่อและลักษณะงานเป็นลูกจ้างประจำโดยตรงหมวดฝีมือ หรือลูกจ้างประจำที่มีชื่อและลักษณะเป็นข้าราชการ

      (3)  ต้องปฏิบัติงานติดต่อกันมาแล้วไม่น้อยกว่า  8  ปีบริบูรณ์  นับตั้งแต่วันเริ่มบรรจุจนถึงวันก่อนพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาของปีที่ขอไม่น้อยกว่า 60 วัน (บรรจุเข้ารับราชการก่อนวันที่ 29 พฤษภาคม 2559)

      (4)  เป็นผู้ที่มีความประพฤติดีและปฏิบัติราชการหรืองานที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณชน ด้วยความอุตสาหะ  ซื่อสัตย์  และเอาใจใส่อย่างดียิ่ง

      (5)  เป็นผู้ไม่เคยมีพระบรมราชานุญาตให้เรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์  หรือต้องรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก  เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิด  ลหุโทษ

      (6)  ลูกจ้างประจำหมวดแรงงาน หากภายหลังได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในหมวดฝีมือให้นับระยะเวลา การปฏิบัติงานต่อเนื่องกันตั้งแต่วันเริ่มบรรจุจนถึงวันก่อนวันพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาของปีที่ขอไม่น้อยกว่า  60  วัน  (ต้องปฏิบัติงานติดต่อกันมาแล้วไม่น้อยกว่า 8 ปีบริบูรณ์)

เอกสารประกอบการเสนอขอฯ   มีดังนี้

  1. แบบ  รร.1         จำนวน  1  ชุด
  2. แบบ ลจ  3      โดยผู้บริหารสถานศึกษาเป็นผู้รับรองความถูกต้อง           จำนวน   1   ชุด     
  3. สำเนา  ก.พ. 7  ที่เป็นปัจจุบัน  รับรองสำเนาโดยเจ้าหน้าที่ สพม.                 จำนวน  1  ชุด
  4. สำเนาทะเบียนบ้าน  (เฉพาะหน้าที่มีรายชื่อผู้ขอพระราชทาน)   ผู้เสนอขอรับรองความถูกต้อง จำนวน  1  ชุด

5.  แนวปฏิบัติ ในการขอ พระราชทาน เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ห้แก่พนักงานราชการ

                       พนักงานราชการที่จะเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จะต้องมีคุณสมบัติ ได้ดังนี้

      (1)  ต้องเป็นพนักงานราชการตามสัญญาจ้างของส่วนราชการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยพนักงานราชการ พ.ศ.  2547  

     (2)  ต้องเป็นพนักงานราชการที่มีชื่อและลักษณะงานเป็นพนักงานที่เทียบเท่ากับลูกจ้างประจำหมวดฝีมือขึ้นไป ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยลูกจ้างประจำส่วนราชการ

      (3)  ต้องปฏิบัติงานติดต่อกันมาแล้วไม่น้อยกว่า  5  ปีบริบูรณ์  นับตั้งแต่วันเริ่มจ้างจนถึงวันก่อนพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาของปีที่ขอไม่น้อยกว่า 60 วัน  (ก่อนวันที่ 29 พฤษภาคม 2559)

      (4)  เป็นผู้ที่มีความประพฤติดีและปฏิบัติราชการหรืองานที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณชนด้วยความอุตสาหะ  ซื่อสัตย์  และเอาใจใส่อย่างดียิ่ง

      (5)  เป็นผู้ไม่เคยมีพระบรมราชานุญาตให้เรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์  หรือต้องรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษา ถึงที่สุดให้จำคุก  เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ

เอกสารประกอบการเสนอขอฯ มีดังนี้

          1. แบบ รร.1  จำนวน 1 ชุด

          2. แบบ ลจ 3 โดยบริหารสถานศึกษาเป็นผู้รับรองความถูกต้อง จำนวน 1 ชุด

          3. สำเนาทะเบียนบ้าน (เฉพาะหน้าที่มีรายชื่อผู้ขอพระราชทาน) ผู้เสนอขอรับรองความถูกต้อง จำนวน 2 ชุด

          4. สำเนาสัญญาจ้าง โดยจะต้องปฏิบัติงานติดต่อกันมาเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ 

             (ส่งสำเนาสัญญาจ้างตั้งแต่เริ่มปฏิบัติงาน และสัญญาจ้างที่ทำสัญญาถึงวันที่ 30 กันยายน  2563)

             ผู้เสนอขอรับรองสำเนาถูกต้อง  จำนวน 2 ชุด

ดาวน์โหลดไฟล์แนบ

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่