รู้หรือไม่!! 'ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์' มีผลเท่ากับ 'กระดาษ' ใช้ได้ทางกฎหมายมานานแล้ว จะเป็นหนังสือ ลายเซ็น ต้นฉบับ หรือพยานหลักฐานในศาล ก็ทำเป็นอิเล็กทรอนิกส์ได้
รู้หรือไม่!! 'ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์' มีผลเท่ากับ 'กระดาษ' ใช้ได้ทางกฎหมายมานานแล้ว จะเป็นหนังสือ ลายเซ็น ต้นฉบับ หรือพยานหลักฐานในศาล ก็ทำเป็นอิเล็กทรอนิกส์ได้

รู้หรือไม่!! ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ มีผลเท่ากับ กระดาษ ใช้ได้ทางกฎหมาย มานานแล้ว จะเป็นหนังสือ ลายเซ็น ต้นฉบับ หรือพยานหลักฐานในศาล ก็ทำเป็นอิเล็กทรอนิกส์ได้

รู้หรือไม่!! ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ มีผลเท่ากับ กระดาษ ใช้ได้ทางกฎหมาย มานานแล้ว จะเป็นหนังสือ ลายเซ็น ต้นฉบับ หรือพยานหลักฐานในศาล ก็ทำเป็นอิเล็กทรอนิกส์ได้
รู้หรือไม่!! ‘ข้อมูล อิเล็กทรอนิกส์’ มีผลเท่ากับ ‘กระดาษ’ ใช้ได้ทาง กฎหมายมานานแล้ว จะเป็นหนังสือ ลายเซ็น ต้นฉบับ หรือพยานหลักฐานในศาล ก็ทำเป็นอิเล็กทรอนิกส์ได้
ขอบคุณที่มา : เว็บไซต์ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์

กฎหมายธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม) เป็นกฎหมายกลางที่รองรับสถานะทางกฎหมายของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ให้มีผลผูกพันและใช้บังคับได้ตามกฎหมาย

หลักการพื้นฐานของ พ.ร.บ.ธุรกรรมฯ

กฎหมายฉบับนี้มีหลักการ คือ

• หลักความเท่าเทียมกัน (Functional Equivalence) ระหว่าง “กระดาษ” และ “ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์” เพื่อให้การทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ มีผลทางกฎหมายเทียบเท่าการใช้กระดาษ

• หลักความเป็นกลางทางเทคโนโลยี (Technological Neutrality) ที่ไม่ระบุเฉพาะเจาะจงเทคโนโลยีใดเทคโนโลยีหนึ่ง แต่รองรับพัฒนาการของเทคโนโลยีที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และ

• หลักเสรีภาพการแสดงเจตนา (Party Autonomy) ของคู่สัญญา

ทั้งนี้ ภายใต้กฎหมายธุรกรรมฯ ได้มีหลักเกณฑ์รองรับการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ในกระบวนการต่าง ๆ ที่สำคัญ เช่น หากเกิดคดีความฟ้องร้องแล้วมีการขอหลักฐานต้นฉบับ กฎหมายก็จะระบุไว้ว่า ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นต้นฉบับต้องเป็นอย่างไร หรือในกรณีที่บางหน่วยงานมีข้อบังคับเรื่องการจัดเก็บเอกสารบางประเภทเป็นเวลาหลาย ๆ ปี กฎหมายก็จะระบุว่า วิธีการจัดเก็บเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นที่ยอมรับตามกฎหมายเป็นอย่างไร

รู้หรือไม่!! 'ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์' มีผลเท่ากับ 'กระดาษ' ใช้ได้ทางกฎหมายมานานแล้ว จะเป็นหนังสือ ลายเซ็น ต้นฉบับ หรือพยานหลักฐานในศาล ก็ทำเป็นอิเล็กทรอนิกส์ได้ ขอบคุณที่มา : เว็บไซต์ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
รู้หรือไม่!! ‘ข้อมูล อิเล็กทรอนิกส์’ มีผลเท่ากับ ‘กระดาษ’ ใช้ได้ทางกฎหมายมานานแล้ว จะเป็นหนังสือ ลายเซ็น ต้นฉบับ หรือพยานหลักฐานในศาล ก็ทำเป็นอิเล็กทรอนิกส์ได้
ขอบคุณที่มา : เว็บไซต์ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์

ต้นแบบของ พ.ร.บ.ธุรกรรมฯ

กฎหมายฉบับนี้ได้ยกร่างขึ้นตามแนวทางของกฎหมายแม่แบบที่จัดทำโดย UNCITRAL หรือคณะกรรมาธิการการค้าระหว่างประเทศแห่งสหประชาชาติ (United Nations Commission on International Trade Law) ที่เป็นแนวทางซึ่งหลายประเทศยอมรับและนำมาใช้เป็นแนวทางในการยกร่างกฎหมายภายในของตนเช่นกัน เพื่อทำให้กฎหมายของประเทศต่าง ๆ มีความสอดคล้องระหว่างกัน (Legal Harmonization) ไม่ว่าจะเป็น

• กฎหมายแม่แบบว่าด้วยการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Model Law on Electronic Commerce 1996) ที่รองรับสถานะทางกฎหมายของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์

• กฎหมายแม่แบบว่าด้วยลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Model Law on Electronic Signatures 2001) ที่รองรับสถานะทางกฎหมายของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์

• อนุสัญญาว่าด้วยการใช้การติดต่อสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์ในสัญญาระหว่างประเทศ (The United Nations Convention on the Use of Electronic Communications in International Contracts) ที่รองรับการทำสัญญาระหว่างประเทศในรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ช่วยให้การทำสัญญาในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์มีความครบถ้วนยิ่งขึ้น

กฎหมายหลายฉบับ ก็โยงมายัง พ.ร.บ.ธุรกรรมฯ

เมื่อกฎหมายธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ เป็นกฎหมายกลางที่รองรับสถานะทางกฎหมายของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ และเสริมการบังคับใช้กฎหมายอื่น ๆ ทำให้เมื่อมีการปรับปรุงกระบวนการตามกฎหมายต่าง ๆ ให้ทำในแบบอิเล็กทรอนิกส์ได้ กฎหมายฉบับต่าง ๆ จึงได้เชื่อมโยงมายังกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อความสอดคล้องและความชัดเจน เช่น

• พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560 “มาตรา 11 การดำเนินการทางศุลากร ถ้าได้กระทำในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ให้ถือว่ามีผลโดยชอบด้วยกฎหมายเช่นเดียวกันกับการดำเนินการทางศุลกากรโดยเอกสาร ทั้งนี้ การนำข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในการศุลกากรให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์”

• พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 “มาตรา 105 วรรคสอง หลักเกณฑ์ ระยะเวลา การขยายระยะเวลา วิธีการยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน และหลักฐานประกอบตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. กำหนด โดยอาจกำหนดให้ยื่นด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้ การกำหนดดังกล่าวให้คำนึงถึงวิวัฒนาการของเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับรูปแบบและวิธีการใช้อิเล็กทรอนิกส์แทนการใช้เอกสารได้ด้วย รวมทั้งให้สอดคล้องกับกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ระยะเวลาที่กำหนดให้ยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินดังกล่าวต้องไม่น้อยกว่าหกสิบวัน”

• ประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 48) พ.ศ. 2562 “มาตรา 3 โสฬส การยื่นรายการหรือเอกสารเกี่ยวกับภาษีอากรและการจัดทำเอกสารอื่นใดตามที่บัญญัติในประมวลรัษฎากร จะกระทำโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด ซึ่งต้องสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์”

อย่างไรก็ตาม แม้กฎหมายอื่นจะไม่ได้เขียนโยงมายังกฎหมายธุรกรรมฯ เหมือนตัวอย่างกฎหมายข้างต้น แต่เราก็ยังสามารถนำกฎหมายธุรกรรมฯ ไปปรับใช้ได้เช่นกัน ติดตามได้ในตอนต่อไป

ดาวน์โหลด พระราชบัญญัติ
ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม) 

ขอบคุณที่มา : เว็บไซต์ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่