ดาวน์โหลด เอกสารคู่มือทักษะชีวิต กิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต โดยองค์การแพลน อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย)
ดาวน์โหลด เอกสารคู่มือทักษะชีวิต กิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต โดยองค์การแพลน อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย)

ดาวน์โหลด เอกสารคู่มือทักษะชีวิต กิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต โดยองค์การแพลน อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย)

คู่มือเล่มนี้จัดทําขึ้นเพื่อให้ครูหรือผู้ที่ทํางานกับเด็กและเยาวชนได้นําไปเป็นแนวทางในการดําเนิน กิจกรรมเพื่อการพัฒนาทักษะชีวิตให้แก่เด็กและเยาวชน โดยครูหรือผู้สอนดําเนินกิจกรรมจําเป็นต้องมี ประสบการณ์และมีความเข้าใจกับระเบียบการพัฒนาตามแนวทางของ Right to Play เช่น การเปิดบท สนทนาและปิดการสนทนากับเยาวชนอย่างมีประสิทธิภาพ

ดาวน์โหลด เอกสารคู่มือทักษะชีวิต กิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต  โดยองค์การแพลน อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย)
ดาวน์โหลด เอกสารคู่มือทักษะชีวิต กิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต โดยองค์การแพลน อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย)

คู่มือเล่มนี้มีความสําคัญอย่างไร

คู่มือทักษะชีวิตจัดทําขึ้นเพื่อช่วยพัฒนาทักษะชีวิตของเยาวชนให้ดีขึ้น รวมถึงช่วยพัฒนาทักษะการใช้ชีวิต ประจําวันและการประกอบอาชีพในอนาคต และที่สําคัญ คู่มือเล่มนี้จะเป็นเครื่องมือให้ครูหรือผู้ที่ทํางานกับ เยาวชนสามารถพัฒนาทักษะการสื่อสารอารมณ์ของเยาวชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อม ที่เอื้อให้เยาวชนได้เกิดการเรียนรู้ทักษะชีวิตที่มีคุณค่านอกเหนือไปจากหลักสูตรแบบดั้งเดิม นอกจากนี้ ยังช่วยให้ครูหรือผู้ที่ทํางานกับเยาวชนสามารถถ่ายทอดหลักการพัฒนาและดําเนินกิจกรรมและวิธีการเชื่อม โยงบูรณาการความรู้ทางวิชาการเข้ากับทักษะเฉพาะด้านที่จําเป็นต่อความสําเร็จของเยาวชนทั้งในโรงเรียน ครอบครัว ชุมชน สถานที่ทํางาน และการใช้ชีวิตโดยทั่วไป

ดาวน์โหลด เอกสารคู่มือทักษะชีวิต กิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต  โดยองค์การแพลน อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย)
ดาวน์โหลด เอกสารคู่มือทักษะชีวิต กิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต โดยองค์การแพลน อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย)

ทักษะสําคัญในการเรียนรู้ทางวิชาการและการเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคมมีอะไรบ้าง?

1. ทักษะในการรู้จักตนเองและผู้อื่น เช่น มีความสามารถใน

• การบอกความรู้สึก คือการตระหนักและสามารถบ่งบอกความรู้สึกของบุคคล

• การรับผิดชอบ คือ การเข้าใจหน้าที่ของบุคคลที่ปฏิบัติตามหลักจริยธรรม ความปลอดภัย และกฎหมาย

• การตระหนักถึงข้อดี คือ การแยกแยกและเสริมสร้างคุณสมบัติในทางบวกของบุคคล 2. ทักษะในการรับผิดชอบต่อการตัดสินใจ เช่น มีความสามารถที่จะ

• จัดการอารมณ์ความรู้สึก คือ สามารถควบคุมความรู้สึก ซึ่งจะช่วยให้เยาวชนรับมือกับสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ โดยไม่ใช่การป้องกัน

• เข้าใจสถานการณ์ คือ สามารถเข้าใจสถานการณ์ที่แต่ละบุคคลกําลังประสบอยู่ได้อย่างถูกต้อง ตั้งเป้าหมายและวางแผน คือ สามารถตั้งเป้าหมายและทํางานเพื่อให้บรรลุผลสําเร็จได้ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

3. ทักษะการเรียนรู้วิธีการดูแลเอาใจใส่ผู้อื่น เช่น มีความสามารถที่จะ

• แสดงความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น คือ การแยกแยะและเข้าใจความรู้สึกนึกคิดของผู้อื่น

• เคารพผู้อื่น คือ มีความเชื่อว่าคนอื่นสมควรได้รับการปฏิบัติด้วยความเมตตาและความเห็นอกเห็นใจ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมนุษยธรรมร่วมกันเข้าใจความหลากหลาย คือ การเข้าใจว่าผู้ที่มีความแตกต่างนั้นเป็นส่วนเติมเต็มซึ่งกันและกัน

4. ทักษะการเรียนรู้วิธีการแสดงออกต่อผู้อื่นเช่น มีความสามารถที่จะ

• ติดต่อสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ คือ การใช้ทักษะทางด้านการพูดและการสื่อสารโดยไม่ใช้ถ้อยคํา (อวัจนภาษา) และสนับสนุนการสนทนาแลกเปลี่ยนกับผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพ

• สร้างความสัมพันธ์ คือ การสร้างและดํารงไว้ซึ่งการสัมพันธภาพ กับผู้อื่นด้วยดี

• เจรจาต่อรองด้วยความยุติธรรม คือ การแก้ปัญหาความขัดแย้งแบบถ้อยทีถ้อยอาศัยโดยการ บอกถึงความต้องการของทุกคนที่มีส่วนเกี่ยวข้อง

• ปฏิเสธสิ่งยั่วยุทางอารมณ์ คือ การถ่ายทอดและปฏิบัติตามการตัดสินใจของตน โดยไม่ข้อง เกี่ยวกับพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ ไม่ปลอดภัย หรือไม่ถูกต้องตามหลักจริยธรรม

• ขอความช่วยเหลือ คือ การแยกความต้องการ สามารถขอการสนับสนุนและความช่วยเหลือที่ เหมาะสมเพื่อบรรลุความต้องการและเป้าหมาย

• ปฏิบัติตัวตามหลักจริยธรรม คือ การตัดสินใจและปฏิบัติตัวตามหลักเกณฑ์หรือมาตรฐานที่ เป็นที่ยอมรับ ถูกต้องตามกฎหมาย หรือกฎระเบียบในการประกอบอาชีพ หรือหลักศีลธรรม หรือระเบียบการปฏิบัติโดยอาศัยศรัทธา

ดาวน์โหลดคลิกที่นี่

ขอบคุณที่มา : ทักษะชีวิตLIFE SKILLS สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่