ราชกิจจาฯเผยแพร่ระเบียบ ศธ.คุมรถโรงเรียน คนขับอายุไม่ต่ำกว่า 25ปี ควบคุมรถโรงเรียนตั้งแต่พนักงานขับรถไปจนถึงสภาพรถต้องเข้าหลักเกณฑ์นี้ 

ราชกิจจาฯเผยแพร่ระเบียบ ศธ.คุมรถโรงเรียน คนขับอายุไม่ต่ำกว่า 25ปี
ราชกิจจาฯเผยแพร่ระเบียบ ศธ.คุมรถโรงเรียน คนขับอายุไม่ต่ำกว่า 25ปี 2

เมื่อวันที่ ๖ ธ.ค. ๒๕๖๒  ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่  ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการควบคุมดูแลการใช้รถโรงเรียน พ.ศ. ๒๕๖๒  

โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการควบคุมดูแลการใช้ รถโรงเรียน พ.ศ. ๒๕๓๖ ให้สอดคล้องกับข้อกำหนดการรักษาความปลอดภัยของรถยนต์ที่ใช้ ในการรับจ้าง รับ – ส่งนักเรียน ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ และกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการจึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการควบคุมดูแลการใช้ รถโรงเรียน พ.ศ. ๒๕๖๒ ”

ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป

ทั้งนี้ ระเบียบการควบคุมดูแลการใช้รถโรงเรียน กำหนดไว้ รถโรงเรียนที่จะนำมารับ – ส่งนักเรียน ต้องมีลักษณะ ดังนี้

(๑) มีเครื่องหมายเป็นแผ่นป้ายพื้นสีส้มสะท้อนแสง ขนาดกว้างอย่างน้อย ๓๕ เซนติเมตร และยาวอย่างน้อย ๘๕ เซนติเมตร มีข้อความว่า “รถโรงเรียน ” เป็นตัวอักษรสีดำความสูงไม่น้อยกว่า ๑๕ เซนติเมตร ติดอยู่ที่ด้านหน้าและด้านท้ายของตัวรถให้สามารถมองเห็นได้ชัดเจนในระยะไม่น้อยกว่า ๕๐ เมตร และมีชื่อโรงเรียนติดอยู่ด้านข้างทั้งสองข้างของตัวรถ พร้อมทั้งหมายเลขโทรศัพท์ (ถ้ามี)

(๒) กระจกรถต้องมีลักษณะโปร่งใสสามารถมองเห็นสภาพภายในรถและสภาพการจราจร ภายนอกรถได้ชัดเจน หากมีการติดฟิล์มกรองแสงเมื่อวัดการผ่านของแสงแล้วแสงต้องผ่านทั้งกระจกกันลม และฟิล์มกรองแสงได้ไม่น้อยกว่าระดับที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด และมิให้นำวัสดุอื่นใดมาติดหรือ บดบังส่วนหนึ่งส่วนใดของกระจก เว้นแต่เป็นการติดเครื่องหมายหรือเอกสารตามที่กฎหมายกำหนด และไม่เป็นเหตุให้บังทัศนวิสัยในการขับขี่

(๓) มีเครื่องมือเครื่องใช้ที่จำเป็นเพื่อช่วยเหลือนักเรียนเมื่อมีอุบัติเหตุหรือมีเหตุฉุกเฉินเกิดขึ้น ดังนี้

(ก) เครื่องดับเพลิง สำหรับรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารที่มีจำนวนที่นั่งไม่เกิน ๒๐ ที่นั่ง ต้องมีเครื่องดับเพลิงไม่น้อยกว่า ๑ เครื่อง รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารที่มีจำนวนที่นั่งเกิน ๒๐ ที่นั่ง ต้องมีเครื่องดับเพลิงไม่น้อยกว่า ๒ เครื่อง เครื่องดับเพลิงต้องมีขนาดพอสมควร และติดตั้งไว้ภายในรถ ในที่ที่เหมาะสมพร้อมที่จะใช้การได้ทุกขณะ

(ข) ค้อนทุบกระจกและเหล็กชะแลง ไม่น้อยกว่า ๑ อัน ต้องเก็บไว้ในที่ปลอดภัย และสามารถนำไปใช้งานได้โดยสะดวก

(ค) มีแผ่นป้ายแสดงข้อความเตือนเรื่องความปลอดภัยในการโดยสาร ตามที่กรมการขนส่งทางบก ประกาศกำหนดหรือตามที่กรมการขนส่งทางบกให้ความเห็นชอบติดไว้ภายในตัวรถในตำแหน่ง ที่สามารถมองเห็นได้ง่าย

(๔) สีของรถต้องใช้สีตามที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด

ข้อ ๖ ผู้ดำเนินกิจการรถโรงเรียนมีหน้าที่ ดังนี้

(๑) ควบคุมดูแลและเอาใจใส่เรื่องความปลอดภัยในการรับ – ส่งนักเรียน

(๒) จัดให้มีผู้ควบคุมดูแลนักเรียนประจำรถ

(๓) จัดให้ผู้ควบคุมดูแลนักเรียนและพนักงานขับรถ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการรับ – ส่ง นักเรียน

(๔) รายงานผลการจัดรถโรงเรียนให้โรงเรียนทราบทุกเดือน

(๕) รายงานให้ทางโรงเรียนทราบโดยทันทีที่เกิดเหตุหรือมีกรณีฉุกเฉินเกิดขึ้น

(๖) แจ้งผลการตรวจสภาพรถประจำปีให้โรงเรียนทราบทุกปี

ข้อ ๗ โรงเรียนมีหน้าที่ ดังนี้

๑) ควบคุมดูแลและเอาใจใส่เรื่องความปลอดภัยในการรับ – ส่งนักเรียน

(๒) จัดให้มีผู้ควบคุมดูแลนักเรียนประจำรถ

(๓) จัดให้ผู้ควบคุมดูแลนักเรียนและพนักงานขับรถ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการรับ – ส่ง นักเรียน

(๔) กำกับดูแลการจัดรถโรงเรียนของผู้ด าเนินกิจการรถโรงเรียนให้เป็นไปตามข้อ ๖

(๕) จัดให้มีทะเบียนรถโรงเรียน ทะเบียนประวัติ ของพนักงานขับรถ และผู้ควบคุมดูแล นักเรียนตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้

(๖) ออกหนังสือรับรองการรับส่งนักเรียนของโรงเรียนหรือสถานศึกษาตามที่กำหนด เพื่อนำไปใช้ยื่นเป็นรถรับ – ส่งนักเรียนต่อกรมการขนส่งทางบก

(๗) เมื่อปรากฏว่ารถโรงเรียนเกิดอุบัติเหตุที่เป็นอันตรายต่อความปลอดภัยในชีวิตและร่างกาย ของผู้โดยสารรถโรงเรียนให้ดำ เนินการรายงานต่อผู้บังคับบัญชาหรือผู้กำกับดูแลระดับเหนือขึ้นไป อีกชั้นหนึ่งให้ทราบโดยเร็วเพื่อให้ความช่วยเหลือเป็นไปด้วยความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ สำหรับรถโรงเรียนที่มิใช่รถที่โรงเรียนใช้รับ – ส่งนักเรียนหรือที่โรงเรียนให้บุคคลภายนอก มารับ – ส่งนักเรียน เมื่อปรากฏว่ามีการขับรถในลักษณะไม่คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้อื่น ประมาท หรือน่าหวาดเสียวอันอาจเกิดอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินให้ผู้อำนวยโรงเรียนรายงานไปยังผู้ดำเนิน กิจการรถโรงเรียนและขนส่งจังหวัด

 (๘) จัดให้มีมาตรการความปลอดภัยในการก ากับดูแลการใช้รถโรงเรียนให้สอดคล้อง กับระเบียบนี้

ข้อ ๘ พนักงานขับรถโรงเรียนต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้

 (๑) มีอายุไม่ต่ำกว่า ๒๕ ปี

 (๒) มีใบอนุญาตขับรถยนต์มาไม่น้อยกว่า ๓ ปี

 (๓) เป็นผู้มีสุขภาพดี แต่งกายสุภาพและมารยาทสุภาพเรียบร้อย

(๔) มีประวัติความประพฤติดี มีความชำนาญ สุขุมรอบคอบ และรู้เส้นทางที่ใช้รับ – ส่ง นักเรียนเป็นอย่างดี

(๕) มีความสามารถตรวจสอบดูแลอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้และสัญญาณต่าง ๆ ภายใน รถโรงเรียนให้อยู่ในสภาพที่ใช้การได้ตลอดเวลา

ข้อ ๙ พนักงานขับรถโรงเรียนมีหน้าที่ ดังนี้

 (๑) ต้องขับรถด้วยความปลอดภัย

(๒) ต้องตรวจสอบสภาพรถและอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้อยู่ในสภาพดี และพร้อมที่จะใช้การ ได้ตลอดเวลา

(๓) ต้องให้นักเรียนขึ้นนั่งประจำที่ให้พร้อมก่อนเคลื่อนรถ

 (๔) ต้องกำกับดูแลให้นักเรียนรัดร่างกายด้วยเข็มขัดนิรภัยไว้กับที่นั่งเพื่อป้องกันอันตราย ในขณะโดยสาร ตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก

 (๕) ต้องดูแลนักเรียนให้ได้รับความปลอดภัยตลอดเวลาที่อยู่ระหว่างการโดยสาร และ ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุจะต้องให้ความช่วยเหลือ

 (๖) ต้องไม่ขับรถในลักษณะประมาทหรือน่าหวาดเสียวอันน่าจะเป็นอันตรายแก่บุคคล หรือ ทรัพย์สิน

(๗) ต้องไม่ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ในขณะขับรถ เว้นแต่การใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่โดยใช้ อุปกรณ์เสริมสำหรับการสนทนาโดยพนักงานขับรถไม่ต้องถือหรือจับโทรศัพท์เคลื่อนที่นั้น

(๘) ไม่ขับรถในขณะที่มีอาการมึนเมาหรือเสพสุราหรือวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ระหว่างการขับรถโรงเรียน

(๙) รายงานให้ทางโรงเรียนทราบทันทีเมื่อเกิดอุบัติเหตุหรือมีกรณีฉุกเฉินเกิดขึ้น

(๑๐) ต้องประพฤติปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ และระเบียบว่าด้วยการนั้นโดยเคร่งครัด

(๑๑) เข้ารับการอบรมตามที่โรงเรียนหรือผู้ดำเนินกิจการรถโรงเรียนกำหนด

ข้อ ๑๐ ผู้ควบคุมดูแลนักเรียนต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้

(๑) มีอายุไม่ต่ำกว่า ๑๘ ปี

 (๒) เป็นผู้มีสุขภาพดี แต่งกายสุภาพ และมารยาทสุภาพเรียบร้อย

ข้อ ๑๑ ผู้ควบคุมดูแลนักเรียนมีหน้าที่ ดังนี้

(๑) ตรวจสอบจำ นวนนักเรียนที่รับ – ส่ง แต่ละเที่ยวให้ถูกต้องครบถ้วนตรงตามบัญชีรายชื่อ นักเรียน พร้อมทั้งจัดท าบัญชีรายชื่อนักเรียนที่ใช้บริการตามแบบที่ก าหนดท้ายระเบียบนี้

(๒) ประจำอยู่กับรถโรงเรียนตลอดเวลาที่รับ – ส่งนักเรียน เพื่อควบคุมดูแล และช่วยเหลือ นักเรียนให้เกิดความปลอดภัยตลอดการเดินทาง

(๓) รายงานให้ทางโรงเรียนทราบทันทีที่เกิดอุบัติเหตุหรือมีกรณีฉุกเฉินเกิดขึ้น

(๔) เข้ารับการอบรมตามที่โรงเรียนหรือผู้ดำเนินกิจการรถโรงเรียนกำหนด

ข้อ ๑๒ การเดินทางไปให้รถโรงเรียนรับนักเรียนจากที่อยู่อาศัยหรือสถานที่ที่นัดหมาย และ ส่งนักเรียนในบริเวณโรงเรียนหรือสถานที่ที่ตกลงกันไว้ การเดินทางกลับให้รถโรงเรียนรับนักเรียนจากโรงเรียนหรือสถานที่นัดหมาย และส่งนักเรียน ถึงที่อยู่อาศัยหรือสถานที่ที่ได้ตกลงกันไว้

ข้อ ๑๓ ให้ผู้ดำเนินกิจการรถโรงเรียนจัดให้มีการประกันการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ตลอดระยะเวลาที่มีการใช้รถโรงเรียนรับ – ส่งนักเรียน

ข้อ ๑๔ จัดให้มีระบบหรือช่องทางที่สามารถติดต่อสื่อสารกับพนักงานขับรถโรงเรียน หรือ ผู้ควบคุมดูแลนักเรียนได้ตลอดเวลาในขณะรับ – ส่งนักเรียน

ข้อ ๑๕ ให้ปลัดกระทรวงศึกษาธิการรักษาการตามระเบียบนี้ และมีอำนาจตีความกับวินิจฉัย ชี้ขาดปัญหา รวมทั้งกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามระเบียบนี้

ประกาศ ณ วันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๒

ณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

รายละเอียดเพิ่มเติม คลิก : http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/300/T_0002.PDF

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่