กรรมการปฏิรูปฯ การศึกษา แนะกลุ่มสถาบันผลิตครู ต้องยกเครื่องการผลิตบัณฑิต เน้นการเป็นนักพัฒนามนุษย์ มากกว่าครูผู้สอน รับการจัดการศึกษาในโลกยุคใหม่
กรรมการปฏิรูปฯ การศึกษา แนะกลุ่มสถาบันผลิตครู ต้องยกเครื่องการผลิตบัณฑิต เน้นการเป็นนักพัฒนามนุษย์ มากกว่าครูผู้สอน รับการจัดการศึกษาในโลกยุคใหม่

กรรมการปฏิรูปฯ การศึกษา แนะกลุ่มสถาบันผลิตครู ต้องยกเครื่องการผลิตบัณฑิต เน้นการเป็นนักพัฒนามนุษย์ มากกว่าครูผู้สอน รับการจัดการศึกษาในโลกยุคใหม่

กรรมการปฏิรูปฯ การศึกษา แนะกลุ่มสถาบันผลิตครู ต้องยกเครื่องการผลิตบัณฑิต เน้นการเป็นนักพัฒนามนุษย์ มากกว่าครูผู้สอน รับการจัดการศึกษาในโลกยุคใหม่
กรรมการปฏิรูปฯ การศึกษา แนะกลุ่มสถาบันผลิตครู ต้องยกเครื่องการผลิตบัณฑิต เน้นการเป็นนักพัฒนามนุษย์ มากกว่าครูผู้สอน รับการจัดการศึกษาในโลกยุคใหม่

กรุงเทพฯ 31 มกราคม 2565 –  รศ.ดร.ศิริเดช สุชีวะ กรรมการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา แนะสถาบันการศึกษาด้านครุศาสตร์หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง เร่งปรับบทบาทในการเสริมสร้างสมรรถนะของบัณฑิตครู รองรับการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่21 และการจัดการศึกษาในโลกยุคใหม่ ด้วยการพัฒนาสมรรถนะครูเพิ่มเติมใน 3 ด้าน ได้แก่ 1.ความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง 2.ความสามารถในการจัดกระบวนการเรียนรู้ จนผู้เรียนสามารถสร้างการเรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง และ 3.ความสามารถในการหล่อหลอมความเป็นมนุษย์ให้กับผู้เรียน รวมถึงปรับแนวคิดของสถาบันผลิตครู ให้มุ่งเน้นการผลิตนักพัฒนามนุษย์ (Human Developer) เพื่อเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนากำลังคนของประเทศ ซึ่งสอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับแผนการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา เรื่องการปฏิรูปกลไกและระบบการผลิตและพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพมาตรฐาน หรือ บิ๊กร็อกที่ 3

รศ.ดร.ศิริเดช สุชีวะ กรรมการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา เปิดเผยว่า การเปลี่ยนแปลงของโลกที่เป็นไปอย่างรวดเร็ว ทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีและนวัตกรรม ตลอดจนสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ได้ส่งผลกระทบให้ภาคการศึกษาต้องปรับตัวให้สอดคล้องและรองรับต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะสถาบันผลิตครูที่ต้องปรับบทบาทในการเสริมสร้างทักษะและพัฒนาศักยภาพให้กับครูหรือบุคลากรทางการศึกษา ทั้งในด้านความรู้ความเชี่ยวชาญในวิชาที่สอน การสร้างความรู้ความเข้าใจต่อหลักสูตรที่เปลี่ยนแปลงไป การนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้เข้ากับสื่อการเรียนการสอนเพื่อจูงใจผู้เรียนและส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่หลากหลาย เพราะฉะนั้นการพัฒนาสมรรถนะครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกคน จึงเป็นหนึ่งในเป้าหมายของคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา ภายใต้กิจกรรมการปฏิรูปกลไกและระบบการผลิตและพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพมาตรฐาน หรือ บิ๊กร็อกที่ 3 ที่ต้องเร่งดำเนินการ

รศ.ดร.ศิริเดช กล่าวเสริมว่า เพื่อที่จะพัฒนาทักษะและสมรรถนะครูและบุคลากรทางการศึกษาให้สอดคล้องกับการจัดการศึกษาในโลกยุคใหม่นั้น สถาบันผลิตครูต้องปรับเปลี่ยนวัตถุประสงค์ของหลักสูตรจากเดิมที่เน้นด้านทฤษฎีและการผลิตบัณฑิตครูเพื่อตอบสนองการสอนวิชาเอกหรือความเชี่ยวชาญเฉพาะทางแต่เพียงอย่างเดียว อาทิ ครูวิชาภาษาอังกฤษ ครูวิชาสังคมศึกษา เปลี่ยนสู่การให้ความสำคัญกับการสร้างสมรรถนะในการปฏิบัติหน้าที่ของครูเพิ่มเติม เพื่อให้ครูมีสมรรถนะที่ครบถ้วนในตัวเอง แล้วจึงจะสามารถไปบ่มเพาะให้ผู้เรียนต่อได้ โดยสมรรถนะที่ครูและบุคลากรทางการศึกษาแต่ละบุคคลจำเป็นต้องมีนั้น ประกอบด้วย 1.ความรู้และความเชี่ยวชาญเฉพาะทางในเนื้อหาสาระที่สอน (Subject Matter Expert) 2.ความสามารถในการจัดกระบวนการเรียนรู้ และกระตุ้นให้ผู้เรียนสามารถสร้างการเรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง และ 3.ความสามารถในการหล่อหลอมความเป็นมนุษย์ให้กับผู้เรียน ทั้งด้านค่านิยม ทัศนคติ และความคิดที่ถูกต้อง

สำหรับปัญหาที่พบในปัจจุบันคือบัณฑิตครูจบใหม่ไม่สามารถบริหารการจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และตอบโจทย์ความเปลี่ยนแปลงของบริบทโลกในด้านต่างๆ เนื่องจากครูไม่มีทักษะที่คล่องแคล่วพอที่จะจัดการเรียนการสอนเมื่อเข้าสู่การทำงานจริง รวมถึงความรู้ความเข้าใจต่อหลักสูตร สะท้อนให้เห็นว่าที่ผ่านมายังไม่ได้รับการเสริมสร้างสมรรถนะอย่างเต็มที่ ซึ่งสอดคล้องกับการพิจารณาดัชนีคุณภาพของคณาจารย์ในคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ตามระบบการให้คะแนนในการประเมินคุณภาพภายนอก จากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา ซึ่งระบุว่า คณาจารย์ในคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ของประเทศไทยมีคุณภาพอยู่ในระดับ “ต้องปรับปรุง” และจำเป็นต้องได้รับการแก้ไขโดยเร็ว

“ปลายทางของสถาบันผลิตครูไม่ใช่แค่การมุ่งผลิตบัณฑิตครูเพื่อตอบสนองต่อจำนวนครูในสถานศึกษา เนื่องจากโลกของการศึกษาไม่ได้มีเพียงแค่วิชาชีพข้าราชการครู สถาบันผลิตครูจึงควรเน้นการผลิตครูให้เป็นส่วนหนึ่งของนักพัฒนามนุษย์ (Human Developer) ที่มีสมรรถนะรอบด้านและเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการร่วมพัฒนาทรัพยากรคนของประเทศให้มีคุณภาพ ส่งเสริมการเรียนรู้และทักษะในศตวรรษที่ 21 ให้กับผู้เรียน เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของตลาดและการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ อย่างไรก็ตาม ยิ่งมีจำนวนบัณฑิตครูมากเท่าไร ยิ่งนับเป็นโอกาสของระบบการศึกษาที่จะได้คัดสรรบุคลากรทางการศึกษาที่มีคุณภาพมากที่สุด” รศ.ดร.ศิริเดช กล่าวทิ้งท้าย

ติดตามความเคลื่อนไหวกิจกรรม ของ คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา ได้ใน 4 ช่องทาง ดังนี้ เว็บไซต์ https://www.thaiedreform2022.org เฟซบุ๊กแฟนเพจ https://web.facebook.com/Thaiedreform2022 ยูทูบช่อง ‘thaiedreform2022’ และทวิตเตอร์ https://twitter.com/Thaiedreform22 

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่