แนะนำ 3 วิธีวางแผนจ่ายหนี้ กยศ. ให้หมดไว ไม่เสียประวัติ ไม่โดนค่าปรับ
แนะนำ 3 วิธีวางแผนจ่ายหนี้ กยศ. ให้หมดไว ไม่เสียประวัติ ไม่โดนค่าปรับ

แนะนำ 3 วิธีวางแผนจ่ายหนี้ กยศ. ให้หมดไว ไม่เสียประวัติ ไม่โดนค่าปรับ

วันที่ 5 กรกฎาคม 2564 ที่จะถึงนี้ก็เป็นวันสุดท้ายของการจ่ายเงินกู้กยศ. ของปีนี้ เชื่อว่าหลายคนกำลังเตรียมตัวไปจ่ายกันอยู่เพื่อให้น้อง ๆ รุ่นต่อไปได้กู้เพื่อใช้จ่ายเพื่อการศึกษาต่อไป ไหน ๆ ก็ใกล้วันที่จะชำระแล้ว โดยข้อมูลจากเว็บไซต์ Studentloan  แนะนำ 3 วิธีเตรียมความพร้อมชำระหนี้ กยศ. อย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบด้วยสิ่งที่ต้องทำความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับการชำระหนี้ กยศ. คืน มีดังนี้

1.ทำความเข้าใจเงื่อนไขการชำระหนี้ กยศ.

ลูกหนี้ควรจะทำความเข้าใจกับการคิดดอกเบี้ย เงื่อนไขอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องให้เข้าใจก่อน โดยเฉพาะระยะเวลาในการชำระ ที่สามารถส่งผลกระทบต่อชีวิตในมิติต่าง ๆ หากไม่ทำความเข้าใจ หรือละเลย ขาดการติดต่อสื่อสาร จนนำไปสู่การ “ผิดนัดชำระ” ที่อาจนำไปสู่การถูกฟ้องร้องดำเนินคดี หรือยึดทรัพย์ได้

– กยศ. มีระยะปลอดหนี้ 2 ปี หลังจากจบการศึกษา หมายความว่าระยะ 2 ปีนี้จะไม่ต้องชำระหนี้ใด ๆ คืนเลย

– กยศ. จะแจ้งยอดการชำระหนี้ครั้งแรกในปีที่ 3 โดยมีกำหนดให้ชำระคืนไม่เกินวันที่ 5 ก.ค. ของทุกปี

– กยศ. ไม่ใช่เงินให้เปล่า

 กยศ. จะมีการคิดดอกเบี้ย 1% ต่อปี

– กยศ. มีเบี้ยปรับในกรณีไม่เกิน 1 ปี คิดเบี้ยปรับ 12% ของเงินต้นที่ค้างชำระ หากเกิน 1 ปี คิดเบี้ยปรับ 18% ของเงินต้นที่ค้างชำระ

–  หากมีการฟ้องร้องดำเนินคดีตามกฎหมาย ในกรณีที่มีการผิดนัดชำระ และค้างชำระหนี้เกินกว่า 4 ปี 5 งวด (1,460 วันขึ้นไป) หรือ มีหนี้ค้างชำระ แต่หมดระยะเวลาที่กำหนดแแล้ว หรือกรณีที่ผู้กู้ยืม กยศ. กลุ่มไกล่เกลี่ยก่อนฟ้องคดี (มีหนี้ค้างชำระ)

2.วางแผนสำหรับจ่ายหนี้ กยศ.โดยเฉพาะ

ทั้งนี้สิ่งสำคัญจะทำให้สามารถชำระหนี้ ได้ตรงตามเวลาครบตามจำนวนอย่างไม่ขาด คือการวางแผนการเงินไว้ล่วงหน้า และปฏิบัติอย่างเคร่งครัด โดยเวลาสำคัญที่จะช่วยให้สามารถเก็บเงินเตรียมไว้สำหรับจ่าย กยศ. คือ “ระยะปลอดหนี้” ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่หลายอาจใช้เงินไปกับการใช้รางวัลตัวเอง หรือละเลยการเตรียมจ่ายหนี้จนลืมไปว่ายังมีหนี้รออยู่อีกไม่ไกล

อย่างไรก็ตาม กยศ. แนะนำให้ผู้กู้ให้ความสำคัญกับการเก็บเงินสำรองไว้จ่ายหนี้ กยศ. โดยเฉพาะ ซึ่งสามารถเริ่มต้นง่ายๆ เป็นการเก็บเงินรายวัน ทีละเล็กละน้อย ตามระยะเวลา เช่นตัวอย่างการสะสมเงินเพื่อชำระหนี้ยอด 100,000 บาท ดังนี้ สำหรับคนที่ไม่อยากเก็บเหรียญให้ยุ่งยาก มีอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยแบ่งเบาภาระในการชำระหนี้เป็นก้อนในแต่ละปีได้ คือ การหักเงินจากบัญชีเงินเดือนหรือรายได้ เก็บไว้ทุก ๆ เดือนก่อนที่จะใช้จ่ายในส่วนอื่น โดยมีกฎเหล็กว่าเงินก้อนนี้จะใช้ในการจ่ายหนี้ กยศ. เท่านั้น

โดยการใช้วิธีคำนวณเงินที่ควรเก็บง่ายๆ ด้วยการนำยอดชำระหนี้ในแต่ละปีมาหาร 12 (เดือน) คุณก็จะสามารถวางแผนได้ว่าในแต่ละเดือนจะต้องหักเงินเดือนหรือรายได้ไว้เดือนละเท่าไหร่ ตัวอย่าง ยอดชำระหนี้ 4,584 บาท หาร 12 เดือน ก็เท่ากับว่าในแต่ละเดือนต้องเก็บเงินไว้สำหรับจ่ายชำระหนี้เกือบ 400 บาท

3.หาทางช่วยลดหนี้

สำหรับคนที่เพิ่งเรียนจบ เริ่มทำงานใหม่ๆ ที่เริ่มมีรายได้เป็นของตัวเองจึงสามารถใช้เวลาปลอดหนี้นี้ในการทยอยสะสมเงินสำหรับจ่ายหนี้ กยศ. โดยเฉพาะเมื่อวันครบกำหนดครั้งแรกมาถึง สาเหตุที่ต้องรีบเตรียมเงินไว้ชำระในงวดแรกของหนี้ กยศ.เนื่องจาก งวดแรกจะเป็นการชำระหนี้แบบปลอดดอกเบี้ยคือไม่ต้องเสียดอกเบี้ย หรือประโยชน์อื่นใดเลยในงวดนี้เลย เพราะฉะนั้น เงินที่ถูกจ่ายไปทั้งหมดในงวดนี้จะถูกคิดเป็นเงินต้น และหักออกจากยอดหนี้ทั้งหมด

ซึ่งก็จะหมายความว่า หากผู้กู้สามารถชำระเงินในงวดแรกของการผ่อนชำระได้มากเท่าไร ก็ยิ่งช่วยลดภาระยอดหนี้ทั้งหมดได้มากเท่านั้น การเตรียมการเก็บเงินก้อนให้ได้ในช่วงเวลาปลอดหนี้จึงเป็นโอกาสที่ทำให้ผู้กู้มียอดหนี้ที่ลดลงรวดเร็วกว่าเดิม ส่วนใครที่เตรียมตัวไม่ทันหรือชำระเงินในงวดแรกตามที่ กยศ. คำนวณมาให้ตามปกติก็ยังมีโอกาสที่จะรับสิทธิ์ประโยชน์ “ลดเงินต้นทันที 3%” (ไม่รวมดอกเบี้ย)” ณ วันที่ปิดบัญชีหนี้ทั้งหมด ทั้งนี้ ผู้กู้สามารถชำระหนี้ปิดบัญชีได้ที่หน้าเคาน์เตอร์ธนาคารกรุงไทย /ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย และแอปพลิเคชั่นเป๋าตัง 

ขอบคุณที่มา : เว็บไซต์สปริงนิวส์ วันที่ 19 มิ.ย. 2564

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่